การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของหน่วยบริการปฐมภูมิ ภายใต้การขับเคลื่อนของระบบสุขภาพอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสุขภาพ, ระบบสุขภาพอำเภอ, ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, หน่วยบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของหน่วยบริการปฐมภูมิ ดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ (1) การวางแผนการปฏิบัติงาน (2) การลงมือปฏิบัติการตามแผน (3) การติดตามสังเกตการณ์ และ (4) การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน ทำการวิจัยในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 แห่ง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหน่วยบริการปฐมภูมิ ภาคีเครือข่าย จำนวน 539 คน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1,091 คนเครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม การบันทึกการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนามี 2 ระดับคือ (1) ระดับหน่วยบริการปรมภูมิมีกิจกรรมที่สำคัญ 13 กิจกรรม และ (2) ระดับอำเภอ มีกิจกรรมที่สำคัญ 10 กิจกรรม ส่งผลให้เกิด รูปแบบจากการพัฒนาเรียกว่า "3M-S-K-H mode!" ประกอบไปด้วย M: man คณะกรรมการดำเนินงาน management การบริหารจัดการคน เงิน สิ่งของ Monitoring การติดตามอย่างต่อเนื่อง S: social network participation การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย K: knowledge การพัฒนาความรู้และทักษะ H: health promotion การส่งเสริมสุขภาพภายหลังการพัฒนาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน มีค่าเฉลี่ยด้านความรู้ การรับรู้เพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าเฉลี่ยลดลงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ประเภทภาคีเครือข่าย พบว่า ค่าเฉลี่ย ด้านบทบาทการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของภาคีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการพัฒนาครั้งนี้คือ DHS-L ประกอบด้วย D: district health system policy คือนโยบายระบบสุขภาพระดับอำเภอที่ชัดเจน H: health volunteer คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีส่วนร่วมเป็นแกนนำด้านสุขภาพในชุมชน S: sharing คือการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน และ L: Learning มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.