มาตรการช่วยเลิกบุหรี่ในสถานที่ทำงาน: การทบทวนวรรณกรรม

ผู้แต่ง

  • ฟอระดี นุชส่งสิน ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การช่วยเลิกบุหรี่, ที่ทำงาน, อัตราการเลิกบุหรี่

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการเลิกบุหรี่เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการช่วยเลิกบุหรี่ในสถานที่ทำงานที่มีความคุ้มค่า ศึกษาโดยค้นหาจากฐานข้อมูลหลักสองฐานข้อมูลคือ Pubmed และ Cochrane โดยใช้ข้อกำหนดตาม PRISMA guideline ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่ใช้ในการบริการช่วยเลิกบุหรี่ในสถานที่ทำงานประกอบด้วย 2 รูปแบบหลักคือ การช่วยเลิกบุหรี่แบบรายบุคคล และการใช้นโยบายบังคับในการห้ามสูบบุหรี่ผลการศึกษาพบว่า การให้ยาช่วยเลิกบุหรี่แบบเข้ารับคำปรึกษาแบบรายบุคคล การให้คำปรึกษาแบบรายกลุ่มสามารถเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ได้สูงกว่าการใช้นโยบายบังคับไม่สูบบุหรี่โดยการใช้รูปแบบผสมโดยเน้นไปที่วิธีการในการ ช่วยเลิกบุหรี่และการให้รางวัลตอบแทนเมื่อเลิกบุหรี่ (incentive) อย่างไรก็ตามการใช้นโยบายบังคับไม่สูบบุหรี่สามารถลดการสูบบุหรี่ของตัวผู้สูบเองและลดการสูดดมควันของผู้ไม่สูบบุหรี่ (secondhand smoker) นอกจากนี้ยังพบว่าบริการช่วยเลิกบุหรี่ในสถานที่ทำงานก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการเนื่องจากสามารถเข้าถึงจำนวนผู้สูบได้เป็นจำนวนมาก และยังช่วยลดการรับควันพิษของบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่มือสอง อย่างไรก็ตามทัศนคติ ความพร้อมในการเลิกบุหรี่ของตัวผู้สูบและความคุ้มค่าคุ้มทุนในการจัดตั้งการบริการถือเป็นปัจจัยหลักในการตัวกำหนดถึงรูปแบบการให้บริการ การเข้าถึงบริการ ขั้นตอนการรับบริการ ลักษณะและประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของผู้ให้บริการ ซึ่งส่งผลสำคัญต่อประสิทธิภาพของรูปแบบการบริการช่วยเลิกบุหรี่ และจำนวนผู้สูบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-02-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ