ประสิทธิผลการจัดการปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนโดยทีมสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ธีระวุธ ธรรมกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทิพยรัตน์ ธรรมกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
  • ไพโรจน์ พรหมพันใจ สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค
  • มะลิ โพธิพิมพ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี
  • ดวงเดือน จันทะโชติ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
  • ชุติมา วัชรกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
  • ศรเพชร มหามาตย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการปัญหาสุรา, อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, พรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551, วิจัยประเมินผล, ชุมชนต้นแบบ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลการจัดการปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนของทีมสุขภาพในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชุมชน 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นชุมชนที่มีการจัดการปัญหาฯโดยทีมสุขภาพใน 20 ชุมชน ใน 9 จังหวัด ถูกคัดกรองด้วยแบบคัดกรองตำบลและคัดเลือกชุมชนเข้าร่วมศึกษาได้จำนวน 5 แห่ง กลุ่มที่ 2 เป็นชุมชนที่ไม่มีการจัดการปัญหาฯ โดยทีมสุขภาพ เพื่อมาเปรียบเทียบ 5 แห่ง เก็บข้อมูลเดือน มิถุนายน - กันยายน 2558 ด้วยแบบสัมภาษณ์ที่มสุขภาพและสำรวจข้อมูลทุติยภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ด้วยแบบสำรวจ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ชุมชนที่มีทีมสุขภาพมีการจัดการปัญหาฯ ตั้งแต่ปี 2554-2557 มีแนวโน้มของประสิทธิผลด้านการลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไปได้ดีกว่าชุมชนที่ไม่มีทีมสุขภาพโดยในชุมชนที่มีทีมสุขภาพมีอัตราการดื่มฯปี 2554-2557 ที่ร้อยละ 4.0-14.0 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการดื่มฯ ภาพรวมของประเทศ หากมีการขยายผลอาจส่งผลจัดการปัญหาและลดอัตรานักดื่มๆได้ด้วยชุมชนแบบเบ็ดเสร็จ ดังนั้น จึงควรมีการผลักดันให้พื้นที่ระดับตำบลสร้างและพัฒนาทีมสุขภาพที่ประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และ รพ.สต. ให้มีความสามารถจัดการกับปัญหาได้ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-09

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้