การพัฒนารูปแบบการควบคุมป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสซิกา จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสชิกาบทคัดย่อ
โรคติดเชื้อไวรัสชิกาเป็นโรคติดต่อนำโดยแมลงมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีผลทำให้ทารกในครรภ์มีภาวะศีรษะเล็ก ส่งผลถึงพัฒนาการเด็กและการมีชีวิตอยู่รอด การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสชิกาจังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยและพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มการร่วมปฏิบัติการและการสังเกตในชุมชนที่คัดเลือกเป็นพื้นที่ศึกษา ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ช่วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำครัวเรือนดำเนินการใน 3 หมู่บ้านในพื้นที่ 3 อำเภอๆ ละ 1 หมู่บ้าน ๆ ละ 30 คนรวม 90 คน ประเมินผลจากแบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสชิกา และแบบประเมินดัชนีลูกน้ำ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 150 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลการประเมินผลรูปแบบใช้สถิติพรรณนา และสถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนารูปแบบการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสชิกาในชุมชนจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ด้าน ได้แก่ (1) การเฝ้าระวังโรค (2) การออกประกาศวาระจังหวัด (3) กลไกการขับเคลื่อน (4) การประชาสัมพันธ์และสื่อสารความเสี่ยง (5) การสนับสนุนจากองค์กรภาคีเครือข่ายและ (6) การสร้างความตระหนักให้ชุมชน การประเมินผลนำรูปแบบไปใช้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสชิกา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ประเมิน ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย ก่อน-หลังการใช้รูปแบบฯ พบว่าหลังการใช้รูปแบบหมู่บ้านมีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำ <ร้อยละ 10.00 จากผลการศึกษาที่พบจุดแข็งในองค์ประกอบของรูปแบบ ด้านการเฝ้าระวังโรค การออกมาตรการการใช้กลไกการขับเคลื่อน ควรนำรูปแบบไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสชิกาในชุมชนอื่น ๆโดยใช้กระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2018 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.