การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านเครือข่ายโรงพยาบาลตะกั่วป่า

ผู้แต่ง

  • จอมมณี ศฤงคาร์นันต์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลตะกั่วป่า อําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง, เครือข่าย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาตามวงล้อของเดมมิ่ง (PDCA) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ (Appreciation - Influence – Control; AIC) ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 - มีนาคม 2559 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจําหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลตะกั่วป่าที่ผ่านศูนย์การดูแลต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสังเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาพบว่า ระบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ประกอบด้วย (1) ระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยที่มีการส่งต่อเนื่องที่บ้านใช้การเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรม Excel (2) รูปแบบแนวทางการส่งต่อเยี่ยมบ้านมีการกําหนดกลุ่มโรคที่ต้องส่งต่อที่บ้าน การแบ่งประเภทผู้ป่วย แนวทางการส่งต่อ การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยผ่านทางโทรศัพท์/ไลน์ และแบบฟอร์มการส่งต่อ ตอบกลับข้อมูลการเยี่ยมบ้านทางแบบฟอร์มและส่งต่อทางไลน์แก่ทีมงานที่เกี่ยวข้อง (3) ศูนย์เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ที่ให้บริการ ได้แก่ เตียงนอนชนิด 2 ไกร์และฟูก ที่นอนลม ออกซิเจนเครื่องดูดเสมหะ ให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ขาดแคลนสามารถยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปใช้ที่บ้าน มีการกําหนดเกณฑ์การยืมและแบบฟอร์มการยืม ขั้นตอนการเข้าใช้บริการกรณีผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาลผ่านการส่งต่อจากหอผู้ป่วยกรณีในชุมชนผ่านเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน และมีเครือข่ายประสานงานการยืมกรณีไม่เพียงพอ (4) การเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการ มีการกําหนดแผนการออกหน่วยบริการเยี่ยมบ้าน เยี่ยมบ้านแบบสหสาขาวิชาชีพร่วมกับผู้รับผิดชอบในระดับพื้นที่และดําเนินการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยให้เรียบร้อย (5) การประสานเครือข่ายในชุมชนเพื่อการดูแลต่อเนื่องภายใต้ทีมหมอครอบครัว เน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เครือข่ายที่เข้าร่วม ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้นําชุมชน/แกนนําในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านและผู้นําทางศาสนา มีการพัฒนาจิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง การมอบหมายจิตอาสาร่วมกันดูแลผู้ป่วยเหมือนเจ้าของไข้และญาติผู้ป่วยสามารถปรึกษาการดูแลกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงกรณีมีปัญหา มีการกําหนดบทบาทหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ อัตราการตอบกลับการเยี่ยมบ้านเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 58.84 เป็นร้อยละ 99.37 ในปี 2559 ระยะเวลาเฉลี่ยในการติดตามเยี่ยมบ้านหลังจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลจาก 17.89 วันเหลือ 6.78 วัน อัตราการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียงปี 2554 ร้อยละ 10.19 ปี 2559 ร้อยละ 0.95 ระยะเวลาในการเตรียมผู้ป่วยก่อนกลับบ้านปี 2557 ค่าเฉลี่ยจาก 9.75 วัน ปี 2558 4.27 วัน อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในระดับดี ( >80.00%) ร้อยละ 100.00

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ