ผลการรับรู้มรรถนะแห่งตนต่อการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงระยะก่อนความดันโลหิตสูง ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วลัยลักษณ์ สิทธิบรรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • สุปรีชา แก้วสวัสดิ์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

สมรรถนะแห่งตน, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, พฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมรรถนะแห่งตนต่อการป้องโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงระยะก่อนความดันโลหิตสูง ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชมีรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มเสี่ยงระยะก่อนความดันโลหิตสูงที่อาศัยในหมู่ที่ 2 ตำบลร่อนพิบูลย์ ที่มีค่าระดับความดันโลหิตระหว่าง 120-139 / 80-89 มม.ปรอท ด้วยวิธีการคำนวณ effect size ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและดำเนินการทดลองจำนวน 3 เดือน และติดตามประเมินค่าระดับความดันโลหิตอีกจำนวน 3 ครั้ง รวมเป็นจำนวน 8 เดือน โดยระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ถึงเมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ paired sample t–test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเสี่ยงก่อนระยะความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะแห่งตนด้านการรับรู้ความสามารถในตน-เอง หลังเข้าร่วมโปรแกรม (Mean=28.80, SD=1.540) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (Mean=22.73, SD=2.840) ส่วนด้านการรับรู้ความคาดหวังในผลลัพธ์หลังเข้าร่วมโปรแกรม (Mean=28.23,SD.=1.612) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (Mean=22.63, SD=4.140) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ทั้ง ด้านการรับรู้ความสามารถในตนเองและการรับรู้ความคาดหวังในผลลัพธ์ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงหลังเข้าร่วมโปรแกรม (Mean=52.67, SD=5.616) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (Mean=42.30,S.D=5.908) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมพบว่า กลุ่มเสี่ยงก่อนระยะความดันโลหิตสูงมีค่าระดับความดันโลหิตระดับ Optimal <120 และ <80 จำนวน 28 คน มีเพียง จำนวน 2 คน ที่มีค่าระดับความดันโลหิตระดับ normal 120-129 และ/หรือ80/84 ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงมีผลให้บุคคลมีความสามารถในการลดพฤติกรรมสี่ยงต่อการเกิดโรคและมีความคาดหวังในการพัฒนาพฤติกรรมที่เหมาะสมแก่ตนเองได้จนนำไปสู่การมีพฤติกรรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้