การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชนโดยกระบวนการ AIC ในบริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • จงรักษ์ ใจจันทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
  • เสด็จ ทะลือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
  • สุภาวดี จันทร์อินทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
  • ศิริพร กุณา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
  • จันทร์เพ็ญ คำอุ่น องค์การบริหารส่วนตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
  • เอกรินทร์ โนจิต องค์การบริหารส่วนตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยสุขภาพจิต, กระบวนการมีส่วนร่วม AIC

บทคัดย่อ

การดำเนินโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชนโดยกระบวนการ AIC ในบริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ผู้ร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ป่วยสุขภาพจิตและผู้ป่วยซึมเศร้าในชุมชน จำนวน 45 คน ผู้ป่วยสุขภาพจิตที่รับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ขาดยาและมีอาการเรื้อรังมานานกว่า 2 ปีขึ้นไป จำนวน 20 คน ดำเนินโครงการโดยการทำแผนการจัดกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม AIC ประกอบด้วยใบงานและใบกิจกรรม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบบประเมินผลการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชน ทะเบียนติดตามผู้ป่วยจิตเวช ประเมินโครงการโดยใช้แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน แบบวัดความพึงพอใจ การรวบรวมข้อมูล ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม 2558 – กันยายน 2559 เก็บรวบรวมข้อมูลจากการเข้าร่วมกิจกรรมการประเมินความรู้เกี่ยวกับการดูแลก่อนและหลังการดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการถอดบทเรียน ดำเนินโครงการพบว่า การวิเคราะห์สภาพปัญหา ด้านระบบบริการ ขาดฐานข้อมูลที่เป็นระบบและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่เป็นรูปธรรมชัดเจน การติดตามเยี่ยมผู้ป่วยไม่ครอบคลุม ด้านผู้ป่วยและผู้ดูแลในชุมชน ขาดความรู้เรื่องโรคจิตเวช และทักษะการดูแลผู้ป่วยที่ถูกต้อง ไม่มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยชุมชนมีส่วนร่วม ด้านสังคม ขาดหน่วยงาน/องค์กร ช่วยเหลือด้านสวัสดิการ ผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบใหม่ พบว่า ญาติ ผู้ป่วย อสม.มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ร้อยละ 95 แก้ปัญหาผู้ป่วยกินยาไม่ต่อเนื่องจำนวน 10 คน ติดตามดูแลต่อเนื่องจำนวน 8 คนร้อยละ 80.0 พบผู้ป่วยที่ยังมีปัญหาต้องติดตามดูแลต่อเนื่องจำนวน 2 คน มีพี่เลี้ยงดูแลกำกับการกินยาจิตเวช(ระบบ DOTS) ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจต่อระบบการดูแล ร้อยละ 95.0 เกิดกระบวนการดำเนินงานที่มีการประสานงาน การถ่ายทอดข้อมูลอย่างมีส่วนร่วม ลงสู่ครอบครัวและญาติ ผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ นำสู่การเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ใกล้บ้านใกล้ใจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ