การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันของตำบลจัดการสุขภาพประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ บุญรอดชู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางเหียน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่
  • สุรีย์ จันทรโมลี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ตำบลจัดการสุขภาพ, ภาคีเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ, การมีส่วนร่วมในตำบลจัดการสุขภาพ, ความสัมพันธ์ของคนในตำบลจัดการสุขภาพ, ผลประโยชน์ที่ได้รับจากตำบลจัดการสุขภาพ

บทคัดย่อ

ตำบลจัดการสุขภาพยังมีผลการดำเนินงานที่แตกต่างกันในแต่ละตำบล ซึ่งไม่สามารถอธิบายปัจจัยหรือองค์ประกอบของตำบลจัดการสุขภาพได้อย่างชัดเจน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาองค์ประกอบของตำบลจัดการสุขภาพขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจตัวบ่งชี้องค์ประกอบจากการสำรวจและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของตำบลจัดการสุขภาพประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาคีเครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพที่มีการประเมินตนเองได้ระดับดีขึ้นไป จำนวน 676 คน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสำรวจตำบลจัดการสุขภาพประเทศไทยเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสกัดองค์ประกอบ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบตำบลจัดการสุขภาพประเทศไทย มีจำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้าน เครือข่ายตำบลจัดการสุขภาพ องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมในตำบลจัดการสุขภาพ องค์ประกอบด้านความ สัมพันธ์ของคนในตำบลจัดการสุขภาพ และองค์ประกอบด้านผลประโยชน์ที่จะได้รับจากตำบลจัดการสุขภาพ มี ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) ระหว่าง 0.48 ถึง 0.90 ทั้ง 4 องค์ประกอบอธิบายความแปรปรวนร่วมกัน ได้ร้อยละ 31.64 ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่ามี ค่าสัดส่วนสถิติไคสแควร์ (c2 /df) เท่ากับ 1.34 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดย ประมาณ (root mean square error of approximation: RMSEA) เท่ากับ 0.02 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง กลมกลืนเปรียบเทียบ (comparative fit index: CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (goodness of fit index: GFI) เท่ากับ 0.91 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (adjusted goodness of fit: AGFI) เท่ากับ 0.89 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองเศษเหลือ (standard rood mean square residual: SRMR) เท่ากับ 0.05 แสดงว่าโมเดลตำบลจัดการสุขภาพประเทศไทย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ