การพัฒนาองค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ของทักษะการสื่อสารทางเภสัชกรรม สำหรับนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์

ผู้แต่ง

  • เสถียร พูลผล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ขนิษฐา สาลีหมัด สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เฉลิมศรี ภุมมางกูร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • จิตรา ดุษฎีเมธา สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ทักษะการสื่อสารทางเภสัชกรรม, นิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์

บทคัดย่อ

บทบาทของเภสัชกรในฐานะเป็นผู้สื่อสารที่ให้ข้อมูลด้านยาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วย ได้รับการยอมรับว่าเป็นบทบาทสำคัญของวิชาชีพ การศึกษาเภสัชศาสตร์จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับต่อสถานการณ์ โดยการจัดเตรียมนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารที่ดี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนด องค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ของทักษะการสื่อสารทางเภสัชกรรมสำหรับนิสิต/นักศึกษาเภสัชศาสตร์และตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงเอกสาร กระบวนการวิจัยมี 4 ขั้นตอนประกอบด้วย (1) ศึกษาสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับทักษะการสื่อสารทางวิชาชีพเภสัชกรรม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 10 ท่าน (2) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสารและการวิเคราะห์เนื้อหา (3) ตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน และ (4) วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบวัดโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค ผลการศึกษาพบว่า (1) องค์ประกอบของทักษะการสื่อสารทาง เภสัชกรรมมี 2 องค์ประกอบได้แก่ ทักษะการสื่อสารเพื่อการดูแลแบบเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และทักษะการสื่อสารแบบอวัจน-ภาษา โดยมีพฤติกรรมบ่งชี้ของทักษะการสื่อสารจำนวน 12 ข้อ (2) ผลการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา พบว่า ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย 0.98 และ (3) ผลตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์ของครอนบัคเท่ากับ 0.96 แบบประเมินที่พัฒนาขึ้นนี้สถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ สามารถนำไปใช้ในการประเมินทักษะการสื่อสารของนักศึกษาในการเรียนการสอนและการฝึกงานต่อไปได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ