การประเมินคุณภาพภาพถ่ายรังสีออร์โธวิว โดยใช้สุพรรณโมเดล 4.0 ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

ผู้แต่ง

  • คัชชรินทร์ โค้วสมจีน โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ภาพถ่ายรังสีกระดูก, ข้อเข่าเสื่อม, มาตรฐาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย เพื่อประเมินคุณภาพของภาพถ่ายรังสีที่ได้จากการใช้สุพรรณโมเดล 4.0 ช่วยถ่ายภาพรังสีผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช และเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับการถ่ายภาพด้วยเทคนิคอื่น กลุ่มตัวอย่างเป็นภาพถ่ายรังสีที่ได้จากผู้ป่วยที่แพทย์มีคำสั่งให้ถ่ายภาพรังสี Knee A.P standing และ Orthoview เพื่อเตรียมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2560 จำนวน 35 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยเลขคณิต ในการประเมินคุณภาพของภาพถ่ายรังสีที่ได้จากการใช้สุพรรณโมเดล 4.0 โดยศัลยแพทย์กระดูกจำนวน 3 ท่านใน 7 ประเด็นคุณภาพ ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นผลการทดลองใช้อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นก่อนนำไปใช้จริง โดยนายช่างเทคนิค 1 ท่าน และนักรังสีการแพทย์ 2 ท่าน เพื่อทดสอบความแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งานพบว่า คะแนนเฉลี่ย 6 ประเด็นอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.33-4.67) โดยมีคะแนนเฉลี่ยภาพรวม เท่ากับ ค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (4.56±0.577) จากนั้นนำไปทดลองใช้อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นกับโครงกระดูกจริง 6 ภาพโดยศัลยแพทย์กระดูก รวม 3 ท่าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของคุณภาพภาพถ่ายรังสีในภาพรวมอยู่ในระดับดี เท่ากับ 4.51 ± 0.0445 ระยะที่ 2 เป็นทดสอบคุณภาพของภาพถ่ายรังสีในผู้ป่วยที่แพทย์มีคำสั่งให้ถ่ายภาพรังสี Knee A.P standing และ Orthoview เพื่อเตรียมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าจำนวน 35 ราย โดยศัลยแพทย์กระดูกจำนวน 3 ท่านเป็นผู้ประเมินคุณภาพ พบว่า คุณภาพของภาพถ่ายรังสีในภาพรวม มีคุณภาพระดับดี ร้อยละ 88.6 (ค่าเฉลี่ย 8.86 ± 0.665) เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นคุณภาพ 7 ประเด็นพบว่า คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 8.27-9.35 ผลการจัดแบ่งคุณภาพของภาพถ่ายรังสีเป็น 3 ระดับตามเกณฑ์มาตรฐาน พบว่า คุณภาพภาพถ่ายรังสีอยู่ระดับดี ร้อยละ 90.5 รองลงมา ระดับพอใช้ ร้อยละ 9.5 ไม่พบคุณภาพภาพถ่ายรังสีระดับต้องปรับปรุง เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายพบว่า สุพรรณโมเดล 4.0 มีต้นทุนในการสร้าง 9,690 บาท เมื่อเทียบกับการจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ใช้การถ่ายภาพออร์โธวิวในราคา 3,500,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในการถ่ายภาพรังสี 41 บาท ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะให้ประยุกต์และพัฒนาสุพรรณโมเดล 4.0 เพื่อใช้ในการถ่ายภาพรังสีในกลุ่มผู้ป่วยโรคความยาวของขาสองข้างไม่เท่ากันและกระดูกสันหลังคด ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ