ความรู้ ความเชื่อ การปฏิบัติในการเลือกเห็ดเพื่อปรุงอาหารและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อป่วยด้วยโรคเห็ดพิษของเซียนเห็ด อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พรสุดา โสวรรณี โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  • สิรินาถ เทียนคำ โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
  • ณัฐพล ปัญญา โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคเห็ดพิษ, การปฐมพยาบาลเบื้องต้น, เซียนเห็ด, สารชีวพิษ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเชื่อ การปฏิบัติในการเลือกเห็ดเพื่อปรุงอาหาร การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อป่ วยด้วยโรคเห็ดพิษ และรวบรวมความรู้จัดทำคู่มือเห็ดพิษ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีความ ชำนาญในการเก็บเห็ด (เซียนเห็ด) จำนวน 116 คน และผู้ป่ วยจากเห็ดพิษ 8 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการ ศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ถูกต้องในระดับสูง ร้อยละ 77.4 มีความเชื่อถูกต้องระดับปานกลาง ร้อยละ 62.9 แต่การปฏิบัติถูกต้องระดับต่ำ ร้อยละ 79.8 โดยประเด็นที่ต้องสื่อสารให้ถูกต้องได้แก่ ความรู้เรื่องการกินยาห้าม อาเจียนหลังกินเห็ดพิษ ความเชื่อว่าเห็ดที่เคยกินในอดีตจะไม่ทำให้เจ็บป่ วยแม้เกิดในบริเวณที่มีใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืช และการสังเกตเห็ดพิษจากสีข้าวสารที่ใส่ในแกงเห็ด ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบความแตกต่างในชื่อ เห็ด ประเภทของเห็ด ลักษณะเห็ดพิษ/ไม่มีพิษ ปัจจัยที่มีผลต่อการป่ วยและความรุนแรงของโรคเห็ดพิษ ได้แก่ ชนิด เห็ด วิธีปรุง ระยะเวลาที่ปรุง อายุ โรคประจำตัว ปริมาณการกิน และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผลการวิจัยได้นำไปจัด ทำ “คู่มือเห็ดพิษ” เผยแพร่ให้ประชาชนใช้เลือกเก็บเห็ดเพื่อปรุงอาหารได้อย่างปลอดภัย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

พิมพ์กานต์ อร่ามพงษ์พันธ์. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 มี.ค.2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.aopdh02.doae.go.th/wonlop_het.pdf

ยุวศรี ต่ายคำ. เกร็ดความรู้เรื่องเห็ด [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 12 มิ.ย. 2559]. แหล่งข้อมูล: http://biology.ipst. ac.th/?p=933

ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. สารพิษจากเห็ด [อินเทอร์- เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 ก.ค. 2559]. แหล่งข้อมูล: http:// med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/mushroom

กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. สรุปสถานการณ์โรคติดต่อ. การประชุมนักวิชาการสาธารณสุข ประจำเดือนธันวาคม 2558; วันที่ 24 ธันวาคม 2558; ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

พรสุดา โสวรรณี. สรุปสถานการณ์โรคเห็ดพิษ อำเภอ ตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2557-2558. การ อบรมโครงการค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นป้องกันเห็ดพิษ; 23- 25 มิถุนายน 2559; ห้องประชุมพนาภินันท์ โรงพยาบาล ตระการพืชผล, อุบลราชธานี.

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 ก.ค. 2559]. แหล่งข้อมูล: http://www.aopdh02.doae. go.th/wonlop_het.pdf

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. อาหารเป็นพิษจาก เห็ดพิษ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 ม.ค. 2560]. แหล่ง ข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=10

สมสงวน ปัสสาโก, อังสุมา ก้านจักร์, ชมพู่ เหนือศรี, วรรณภา เหลี่ยมสิงขร. ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความหลาก หลายทางชีวภาพของเห็ดในป่ าชุมชนโคกใหญ่เพื่อการใช้ ประโยชน์อย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2557;1(2):95- 109.

พรสุดา โสวรรณี, สุนันทา คำดี, เพ็ญ พึ่มกุล. รายงานการ สอบสวนการเสียชีวิตจากการรับประทานเห็ด บ้านคำผักแว่น ตำบลนาสะไม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี วัน ที่ 9-15 สิงหาคม 2558. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลตระการพืชผล; 2558.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw Hill; 1971.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการ วิจัย 20 กุมภาพันธ์ 2557 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2559]. แหล่งข้อมูล: http://www.rlc.nrct.go.th/ ewt_dl.php?nid=1177

สุมิตร สุวรรณ. การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ [อินเทอร์- เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ย. 2559]. แหล่งข้อมูล: http:// www.priv.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=900

สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผน ไทยและแพทย์ทางเลือก. คู่มือสมุนไพรล้างพิษสำหรับ ประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและ ราชกิจจานุเบกษา; 2554.

ธิติยา บุญประเทือง, รัตเขตร์ เชยกลิ่น, พัชราภรณ์ พรมเคียมอ่อน, พรรณทิพย์ ตียพันธ์. การจัดจำแนกเห็ดพิษใน ประเทศไทย ช่วงปี 2551-2555. ใน: อรุณี จันทรสนิท, ณภัทร สนธิรัตน, อัจฉรา พยัพพานนท์, กรกช จันทร, วราพร ไชยมา, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ , บรรณาธิการ. เห็ดไทย 2555. กรุงเทพมหานคร: สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่ง ประเทศไทย; 2556. หน้า 12.

โสรญา พรมพักตร์, วิไลพร อ่อนแก้ว. ความหลากหลายทาง ชนิดพันธุ์ของเห็ดในสวนวนเกษตรบ้านหล่ายโพธิ์ อำเภอ บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก [รายงานการวิจัยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2557.

พรรณพร กุลมา, มนูศิลป์ ศิริมาตย์, สายสมร ลำยอง. การ เปรียบเทียบลักษณะสัณฐานวิทยาของเห็ดระโงกเพื่อการ จำแนกแยกชนิดที่รับประทานไม่ได้. การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 49 มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์; วันที่ 1-4 กุมภาพันธ์ 2554; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2554.

สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย. เห็ดพิษ. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2543.

วิชาการดอทคอม. ถ่าน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ก.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://www.neutron.rmutphysics. com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task= view&id=8656&Itemid=3

อรุณี จันทรสนิท. เห็ดพิษ ตอนที่ 3: ถามตอบรอบรู้เรื่อง เห็ดพิษ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ย. 2559]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.thaimushroomsoc.com/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ