การพัฒนารูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไตเรื้อรังในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, โรคไตเรื้อรัง, การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังบทคัดย่อ
โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ รูปแบบการดูแลผู้ป่ วยเรื้อรัง เพื่อพัฒนารูปแบบการป้ องกันและแก้ไขปัญหาโรคไตเรื้อรังในอำเภอบ้านธิ ระหว่างเดือน มกราคม 2558 – มกราคม 2560 กลุ่มเป้ าหมายคือ เจ้าหน้าที่ทีมสหวิชาชีพ แกนนำชุมชนและจิตอาสา 35 คน เลือกแบบเจาะจง และผู้ป่ วยและผู้ดูแล 72 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แนวประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการในการตรวจหาอัตรา การกรองของไต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการดำเนินงาน รูปแบบการวิจัยมี 3 ระยะ คือ (1) การศึกษาสถานการณ์ พบว่า อำเภอบ้านธิมีการดูแลผู้ป่ วยไตเรื้อรังเหมือนผู้ป่ วยเรื้อรังทั่วไปยังไม่มีรูปแบบที่เฉพาะ (2) การวางแผน นำไปใช้ ปรับปรุงตามแนวทางการดูแลผู้- ป่ วยเรื้อรัง พบว่ามีการปรับรูปแบบทั้งเชิงรับและเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และ (3) การประเมินผลลัพธ์ ได้รูปแบบการป้ องกันและแก้ไขปัญหาโรคไตเรื้อรัง คือ ระบบบริการมีนโยบายและผู้รับผิดชอบชัดเจน มีการสนับสนุน การจัดการตนเองตามระยะของโรค มีระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยใช้ CPG มีการออกแบบระบบบริการทั้ง เชิงรุกและเชิงรับ การจัดระบบข้อมูลทางคลินิกทั้งเครือข่าย และการเชื่อมโยงชุมชน ส่งผลให้ทีมสหวิชาชีพมีแนวปฏิบัติทางคลินิก ผู้ป่ วยได้รับการคัดกรองไตมากขึ้นและสามารถชะลอการเสื่อมของไต ด้านชุมชนมีส่วนร่วมในการ ดูแลผู้ป่ วย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทำให้เกิดรูปแบบการป้ องกันและแก้ไขปัญหา โรคไตเรื้อรังที่เหมาะสมกับพื้นที่ จึงควรนำไปประยุกต์ใช้กับโรคเรื้อรังอื่นๆ
Downloads
เอกสารอ้างอิง
American Kidney Fund. Kidney disease statistics. Rockville, MD: American Kidney Fund; 2012.
โรงพยาบาลสถาบันไตภูมิราชนครินทร์. ความรู้เรื่องโรคไต สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์; 2556.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. อัตราการป่ วยโรคไตเรื้อรัง ปี 2556. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
คัทลียา อุคติ, ณัฐนิช จันทจิรโกวิท. ความสามารถในการดูแล ตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รับการรักษาด้วยการขจัดของเสียทางเยื่อบุท้องต่อเนื่อง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2552;25(3):171-7.
สมาคมโรคไตเรื้อรังแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสาหรับดูแล ผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย); 2558.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD ใน ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.
สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาลผู้ป่วย ที่มีภาวะเจ็บป่ วยวิกฤต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
อัมพร ซอฐานานุศักดิ์ . บทบาทของพยาบาลกับผู้ป่ วยไต เรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2551;26(3):33-42.
วุฒิเดช โอภาสเจริญสุข. โรคไตจากเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: เท๊กซ์ แอนเจอร์นิล พับลิเคชั่น; 2550.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์โรง พยาบาลบ้านธิ. รายงานสถิติผู้ป่ วยที่มารับบริการ โรงพยาบาลบ้านธิ จังหวัดลำพูน ปี 2558. ลำพูน: โรงพยาบาล บ้านธิ; 2558.
คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการที่ตอบสนองต่อปัญหา สุขภาพที่สำคัญ กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางพัฒนาระบบ บริการสุขภาพสาขาโรคไต. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
อัมพรพรรณ ธีรานุตร, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ , ปัทมา สุริต, วาสนา รวยสูงเนิน, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, จันทร์โท ศรี- นา, และคณะ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เพื่อชะลอการ ล้างไตในผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรัง. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.
มนัชญา เสรีวิวัฒนา. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่ วยโรค เรื้อรังเพื่อชะลอการเสื่อมของไตโดยใช้แนวติดการดูแลผู้ป่วย โรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยบรมราชชนนี นนทบุรี; 2561.
Tattlesall RL. The expert patient: a new approach to chronic disease management for the twenty-first century. Clin Med 2002;2(3):227-9.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.