ผลของสารสกัดจากใบมะรุมต่อ Interleukin-6 ในเซลล์แมคโครฟาจที่กระตุ้นการอักเสบ ด้วยลิโปโพลีแซคคาไรด์

ผู้แต่ง

  • ภัทธิยากร เทสันตะ หน่วยวิจัยภูมิคุ้มกันระดับเซลล์และโมเลกุล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • จิราพร ละภิล้า หน่วยวิจัยภูมิคุ้มกันระดับเซลล์และโมเลกุล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ฐิติยา ลือตระกูล หน่วยวิจัยภูมิคุ้มกันระดับเซลล์และโมเลกุล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • กาญจนา อู่สุวรรณทิม หน่วยวิจัยภูมิคุ้มกันระดับเซลล์และโมเลกุล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ยอดหทัย ทองศรี หน่วยวิจัยภูมิคุ้มกันระดับเซลล์และโมเลกุล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • พาชื่น โพทัพ หน่วยวิจัยภูมิคุ้มกันระดับเซลล์และโมเลกุล คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ไซโตไคน์, มะรุม, แมคโครฟาจ, ลิโปโพลีแซคคาไรด์, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

บทคัดย่อ

          การอักเสบเป็นผลจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามากระตุ้นร่างกายโดยเกิดจากการ กระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันซึ่งจะทำให้มีการหลั่ง pro-inflammatory cytokine เช่น tumor necrosis factor-α (TNF-α), interleukin (IL)-1β และ IL-6 อาจส่งผลกระทบให้เกิดการอักเสบในร่างกาย โดยการรักษาการอักเสบ ส่วนใหญ่จะใช้ยาประเภท non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) และยาสเตียรอยด์ การใช้ยาเหล่านี้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ใช้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ ของสารสกัดธรรมชาติทีได้จากใบมะรุมต่อการ ่ ต้านการอักเสบในเซลล์เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ที่พัฒนาเป็นแมคโครฟาจและได้รับการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วย สารสกัดลิโปโพลีแซคคาไรด์จากผนังเซลล์ของแบคทีเรีย แกรมลบ โดยศึกษาการหลั่งไซโตไคน์ IL-6 ที่เซลล์หลั่ง ออกมาหลังจากได้รับการกระตุ้นให้อยู่ในภาวะอักเสบด้วยสารลิโปโพลีแซคคาไรด์ จากนั้นเซลล์จะได้รับการรักษา ด้วยสารสกัดจากใบมะรุม ซึ่งตรวจวัดระดับการแสดงออกของยีน IL-6 โดยใช้เทคนิค quantitative reverse transcription-PCR และระดับการหลั่งไซโตไคน์ IL-6 ด้วยเทคนิค enzyme-linked immunosorbent assay เปรียบเทียบ กับกลุ่มเซลล์ในสภาวะควบคุม ผลการวิจัยพบว่าการรักษาด้วยสารสกัดจากใบมะรุมสามารถลดระดับการแสดงออก ของยีน IL-6 และลดระดับไซโตไคน์ IL-6 ในเซลล์แมคโครฟาจหลังจากที่เซลล์ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ด้วยสารลิโปโพลีแซคคาไรด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากผลงานวิจัยนี้ สรุปได้ว่าสารสกัดจากใบมะรุมสามารถลดการสร้างสารไซโตไคน์ชนิด IL-6 ในเซลล์แมคโครฟาจที่ได้รับการกระตุ้น ด้วยสารลิโปโพลีแซคคาไรด์ซึ่งอาจนำความรู้ต่อยอดจากงานวิจัยนี้ไปพัฒนาสารสกัดธรรมชาติที่มาจากใบมะรุมไป เป็นยาลดการอักเสบต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Kokkas B. Tissue injury and inflammation. Ann Gen Psychiatry 2010;9(Suppl 1):S1.

Muangnoi C, Chingsuwanrote P, Praengamthanachoti P, Svasti S, Tuntipopipat S. Moringa oleifera pod inhibits inflammatory mediator production by lipopolysaccharide-stimulated RAW 264.7 murine macrophage cell lines. Inflammation 2012;35(2):445-55.

Hussein SZ, Mohd Yusoff K, Makpol S, Mohd Yusof YA. Gelam honey attenuates carrageenan-induced rat paw inflammation via NF-kappaB pathway. PloS One 2013;8(8):e72365.

Grivennikov SI, Greten FR, Karin M. Immunity, inflammation, and cancer. Cell 2010;140(6):883-99.

Balkwill F, Charles KA, Mantovani A. Smoldering and polarized inflammation in the initiation and promotion of malignant disease. Cancer Cell 2005;7(3):211-7.

Xiao H, Yang CS. Combination regimen with statins and NSAIDs: a promising strategy for cancer chemoprevention. Int J Cancer 2008;123(5):983-90.

Sostres C, Gargallo CJ, Arroyo MT, Lanas A. Adverse effects of non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs, aspirin and coxibs) on upper gastrointestinal tract. Best Pract Res Clin Gastroenterol 2010;24(2):121- 32.

Warrington TP, Bostwick JM. Psychiatric adverse effects of corticosteroids. Mayo Clin Proc 2006;81(10):1361- 7.

Kou X, Li B, Olayanju JB, Drake JM, Chen N. Nutraceutical or pharmacological potential of Moringa oleifera Lam. Nutrients 2018;10(3):343.

Menon V, Thomas R, Ghale AR, Reinhard C, Pruszak J. Flow cytometry protocols for surface and intracellular antigen analyses of neural cell types. J Vis Exp 2014;94:e52241.

Kooltheat N, Sranujit RP, Chumark P, Potup P, Laytragoon-Lewin N, Usuwanthim K. An ethyl acetate fraction of Moringa oleifera Lam. inhibits human macrophage cytokine production induced by cigarette smoke. Nutrients 2014;6(2):697-710.

Vaidya A, Nasarabadi S, Milanovich F. Optimization of RNA purification and analysis for automated, pre-symptomatic disease diagnostics. Livermore, CA: Lawrence Livermore National Lab; 2005.

Rao X, Huang X, Zhou Z, Lin X. An improvement of the 2^(-delta delta CT) method for quantitative real-time polymerase chain reaction data analysis. Biostat Bioinforma Biomath 2013;3(3):71-85.

Khor KZ, Lim V, Moses EJ, Abdul Samad N. The in vitro and in vivo anticancer properties of Moringa oleifera. Evidence-based Complementary and Alternative Medicine 2018;2:1-14.

Abd Rani NZ, Husain K, Kumolosasi E. Moringa genus: a review of phytochemistry and pharmacology. Frontiers in Pharmacology 2018;9(108):1-26.

Mansour M, Mohamed MF, Elhalwagi A, El-Itriby HA, Shawki HH, Abdelhamid IA. Moringa peregrina leaves extracts induce apoptosis and cell cycle arrest of hepatocellular carcinoma. Bio Med Res Int 2019:1-13.

Liu T, Zhang L, Joo D, Sun SC. NF-kappaB signaling in inflammation. Signal Transduction and Targeted Therapy 2017;2:1-9.

Arulselvan P, Tan WS, Gothai S, Muniandy K, Fakurazi S, Esa NM, et al. Anti-inflammatory potential of ethyl acetate fraction of Moringa oleifera in downregulating the NF-kappaB signaling pathway in lipopolysaccharide-stimulated macrophages. Molecules 2016;21(11):1- 11.

Tan WS, Arulselvan P, Karthivashan G, Fakurazi S. Moringa oleifera flower extract suppresses the activation of inflammatory mediators in lipopolysaccharide-stimulated RAW 264.7 macrophages via NF-kappaB pathway. Mediators of Inflammation 2015;2015:1-11.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ