ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาแบบใหม่ต่อ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สุวัลญา คงรอด โรงพยาบาลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
  • ชะปา ไชยฤทธิ์ โรงพยาบาลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด, การคลอดก่อนกำหนด, อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนสุขศึกษาแบบใหม่ด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด วิธีการศึกษาเป็นการศึกษากึ่งทดลองโดยใช้กลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่ม one group, pretest-posttest design ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดทุกรายจะได้ รับการให้ความรู้ โดยก่อนให้สุขศึกษามีการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความรู้ จากนั้นให้ศึกษาเป็นรายบุคคลโดย ให้สามีและญาติมีส่วนร่วมในการวางแผนดูแลหญิงตั้งครรภ์ร่วมกัน หลังจากนั้น กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการประเมินซ้ำ ก่อนจำหน่ายโดยใช้แบบสอบถามชุดเดิม รวมทั้งมีการติดตามเยี่ยมอาการ 7 วันหลังจำหน่าย และติดตามการกลับ มารับบริการด้วยภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดซ้ำ ผลการศึกษาวิจับพบว่า รูปแบบการให้สุขศึกษาแบบใหม่และแบบ เก่าในหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) รูปแบบการให้โปรแกรมสุขศึกษา แบบเก่าและแบบใหม่หญิงตั้งครรภ์มีการปฏิบัติตนไม่แตกต่างกัน (p>0.05) รูปแบบการให้โปรแกรมสุขศึกษา แบบเก่าและแบบใหม่ หญิงตั้งครรภ์มีทัศนคติที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลในกลุ่มที่หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และการปฏิบัติตนที่ไม่แตกต่างกัน และพบว่าโปรแกรมสุขศึกษามีเนื้อหามากเกินไป เนื้อหาที่ไม่ ครอบคลุมแบบสอบถาม ใช้คำที่มีศัพท์แพทย์ หญิงตั้งครรภ์ไม่เข้าใจ แบบสอบถามใช้รูปแบบ ระดับคะแนนของ ไลเคิร์ท (5 ระดับ) บางครั้งตัดสินใจได้ยาก เก็บแบบสอบถามโดยการหว่านแบบสอบถาม ซึ่งหญิงตั้งครรภ์อาจอยู่ ในภาวะเครียด ข้อคำถามอาจมีความหมายกำกวมคือผู้ตอบแต่ละคนอาจจะเข้าใจความหมายของข้อความไม่เหมือน กัน และช่วงเวลาตอบคำถาม pre-test และ post-test ห่างกันประมาณ 1 วันทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้ใส่ใจข้อคำถาม มากนัก ระดับการศึกษาและอายุ มีผลต่อระดับความรู้และพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์ ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย ครั้งต่อไป ควรปรับปรุงรูปแบบการสอนสุขศึกษาโดยพิจารณาลดคำศัพท์ทางการแพทย์ลง และอาจใช้ภาษาถิ่นให้ มากขึ้น เพื่อทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีข้อจำกัดด้านความรู้ ได้เข้าใจเนื้อหาสุขศึกษามากขึ้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือการได้โปรแกรมการสอนสุขศึกษาที่มีประสิทธิผลโดยการมีส่วนร่วมของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

อุ่นใจ กอนันตกุล. การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันรักษา สูตินรีแพทย์สัมพันธ์ 2562;28(1):8-15.

หทัยรัตน์ เรืองเดชณรงค์, นพธีระ ทองแสง. Update on preterm labor [อินเทอร์เน็ต]. 2016 [สืบค้นเมื่อ 20 มี.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/ index.php?option=com_content&view=article&id= 1265:update-in-preterm-labor&catid=45&Itemid=561

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์: ธีระ ทองสง. การเจ็บครรภ์และการ คลอดก่อนกำหนด. สูติศาสตร์. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 5. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555: 221-228.

ประนอม บุพศิริ. คลอดก่อนกำหนด (preterm labor [อินเทอร์เน็ต]. 2015 [สืบค้นเมื่อ 20 มี.ค. 2560]. แหล่ง ข้อมูล: http://haamor.com/th/คลอดก่อนกำหนด/

ปิยะพร กองเงิน, วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา, กาญจนา สมบัติศิรินันท์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรี ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและสามี ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย วารสารการพยาบาล 2016; 31(3):67-79.

กันทิมา ขาวเหลือง, ปรีย์กมล รัชนุกุล, เรณู พุกบุญมี. การ พัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายทารกคลอดก่อน กำหนดที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2555;6(1):27-39.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ