การประเมินกระบวนการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ท้าวลา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

คำสำคัญ:

ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, ยาปฎิชีวนะ, แผลผ่าตัด, การติดเชื้อแผลผ่าตัด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ปัจจุบันการได้รับยาปฎิชีวนะในการป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเป็นสิ่งที่มีการปฎิบัติอย่างกว้างขวาง สำหรับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูกและข้อเป็นจำนวนมากแต่ยังไม่มีแนวทางการปฎิบัติอย่างชัดเจนในการดำเนินการในกระบวนการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยดังกล่าว
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความสอดคล้อง รวมถึงการค้นหาความคลาดเคลื่อนทางยาจากกระบวนการใช้ยาปฎิชีวนะในผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ
วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังโดยเก็บรวมรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในช่วง 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 207 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแบบเชิงพรรณนา เป็นความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัย: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 207 คนประกอบด้วยเพศชาย 148 คน (71.51%) เพศหญิง 60 คน (28.50%) มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว 168 คน (81.16%) ลักษณะแผลเป็นแผลสกปรกร้อยละ 48.31 (100 คน) มีการใส่วัสดุทางการการแพทย์ร้อยละ 47.34 (98 คน) ในกระบวนการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะทันทีก่อนการผ่าตัดจำนวน 70 รายการยา มีความเหมาะสม 69 รายการ คิดเป็นร้อยละ 98.57 กระบวนการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะระหว่างการผ่าตัด ผู้ป่วย 206 คน มีผู้ป่วยต้องการยาระหว่างผ่าตัดจำนวน 5 คน พบว่ามีความไม่เหมาะสม ร้อยละ 20.00 (1 คน) สำหรับกระบวนการสั่งใช้ยาปฎิชีวนะหลังการผ่าตัด จำนวน 231 รายการ เหมาะสมร้อยละ 98.70 (228 รายการยา) การสั่งหยุดใช้ยาปฎิชีวนะภายใน 24 ชั่วโมง ในผู้ป่วย 205 คน พบว่ามีความเหมาะสมในการประเมินตามเกณฑ์ ร้อยละ 84.31 (172 คน) และไม่เหมาะสม ร้อยละ 11.28 (23 คน) การบริหารยาปฎิชีวนะทันทีก่อนผ่าตัด จำนวน 70 รายการยา มีความไม่เหมาะสม ร้อยละ 47.14 (33 รายการยา) โดยทั้งหมดเป็นการให้ยาทันทีใกล้เวลาผ่าตัดเกินไป ส่วนความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบมากที่สุดคือ การบริหารยาผิดเวลาหลังการผ่าตัดคิดเป็นร้อยละ 8.97 ( 40 รายการยา)
สรุปผล: ความเหมาะสมในการบริหารยาปฎิชีวนะทันทีก่อนผ่าตัดและการไม่สั่งหยุดใช้ยาปฎิชีวนะภายใน 24 ชั่วโมง เป็นขั้นตอนที่พบความไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการประเมินมากที่สุดตามลำดับ ดังนั้นการหาแนวทางปฎิบัติ หรือข้อกำหนดที่ชัดเจนในขั้นตอนดังกล่าวในกระบวนการผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ประวัติผู้แต่ง

อัจฉรา ท้าวลา, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ภ.บ. วท.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)

เอกสารอ้างอิง

วัชระ วิไลรัตน์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดกระดูกและข้อ. [เข้าถึงเมื่อ 3 ก.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก http://ortho.md.chula.ac.th/student/SHEET/protect.html

Asia Pacific Society of Infection Control. The APSIC guidelines for prevention of surgical site infection. March 2018. [cited 2020 Sep 5]. Available at http://apsic-apac.org/wp-content/uploads/2018/05/APSIC-SSI-Prevention-guideline-March-2018.pdf

Mismatch SM, Ba’ba H, Owais A. Adherence to guidelines of antibiotic prophylactic use in surgery: A prospective cohort study in Northwest Bank, Palestine. BMC Surg. 2014;14:69.

National Institute for Health and Clinical Excellence. Surgical site infection: prevention and treatment NICE guideline [NG 125] Last updated 19 August 2020. [cited 2020 Sep 8]. Available from: https://www.nice.org.uk/guidedance/ng125

Bratzler DW, Dellinger EP, Olsen KM, Perl TM, Auwaerter PG, Bolon MK, et al. Clinical practice guidelines for antimicrobial prophylaxis in surgery. Am J Heal Pharm. 2013;70(3):195–283.

ภิเษก บุญธรรม. Antibiotic prophylaxis in surgery. เวชสารแพทย์ทหารบก 2552;3:149-52.

Joseph A. Bosco, Jared Bookman, James SLover, Emmanuel Edusei, Brett Levine. Principle of antibiotic prophylaxis in total joint arthroplasty: current concepts. J Am Acad Orthopaedic Surg 2015;23(8):e27-35.

Prokuski, Laura MD. Prophylactic antibiotics in orthopaedic surgery. Journal of The AAOS 2008;16(5):283-93.

Keerati Chareancholvanich, Pacharapol Udomkiat, Saranatra Waikakul. A randomized control trial between fosfomycin and cefuroxime as the antibiotic prophylaxis in knee arthroplasty. J Med Assoc Thai 2012;95(suppl9):s6-13.

American Society of Health Systems Pharmacists. Clinical practice guidelines for antimicrobial prophylaxis in surgery. [cited 2020 Sep 12]. Available from: https://www.ashp.org

Bratzler DW, Houck PM, Richards C, Steele L, Dellinger EP, Fry DE, et al. Use of antimicrobial prophylaxis for major surgery: baseline results from the National Surgical Infection Prevention Project. Arch Surg. 2005;140(2):174-82.

Food and Drug Administration. Cefazolin injection label. [cited 2021 Jan 15]. Available from https://www.accessdata.fda.gov

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19