ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลาง ภาคเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ภัณฑิรา ปริญญารักษ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • วนิดา รักผกาวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • จิราภรณ์ สาชะรุง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • รัตนากร ทวีเฉลิมดิษฐ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • อธิชา ฉันทวุฒินันท์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ธนวัฒน์ ฉัตรทวีลาภ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

ระยะเวลารอคอย, การบริการ, แผนกผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

ระยะเวลาการรอคอยสะท้อนคุณภาพการให้บริการและมีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเอกชน ประเภทโรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลางแห่งหนึ่ง วิเคราะห์ข้อมูลผู้รับบริการทุกรายจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เข้ารับบริการในปี พ.ศ. 2563 และนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการศึกษาพบว่า มีข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการบันทึกเวลารับบริการครบทุกจุดบริการจำนวน 90 ราย จากผู้รับบริการทั้งหมด 15,925 ราย (ร้อยละ 0.57) ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการรวมตั้งแต่เริ่มเข้ารับบริการจนสิ้นสุดกระบวนการให้บริการมีค่ามัธยฐานเวลาเท่ากับ 1 ชั่วโมง 7 นาที 43 วินาที (พิสัยระหว่างควอไทล์ 41 นาที 28 วินาที – 1 ชั่วโมง 45 นาที 23 วินาที) โดยจุดบริการที่มีระยะเวลารับบริการนานที่สุด คือ จุดบริการที่ 4 ผู้ป่วยพบแพทย์และตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีค่ามัธยฐานเวลาเท่ากับ 28 นาที (พิสัยระหว่างควอไทล์ 7 นาที 28 วินาที – 41 นาที 18 วินาที) และจุดบริการที่มีระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการสั้นที่สุด คือ จุดบริการที่ 2 จุดซักประวัติ มีค่ามัธยฐานเวลาเท่ากับ 2 นาที 40 วินาที (พิสัยระหว่างควอไทล์ 58 วินาที – 8 นาที 7 วินาที) ระยะเวลาการรอคอยรับบริการในจุดบริการรอพบแพทย์ ระยะเวลารับบริการในจุดพบแพทย์ ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการในจุดรอชำระเงินและจุดรอรับยาผ่านเกณฑ์ชี้วัดของโรงพยาบาล ในอนาคตควรมีการบันทึกเวลารอคอยแยกจากระยะเวลารับบริการเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนระยะเวลารอคอยที่แท้จริง

ประวัติผู้แต่ง

ภัณฑิรา ปริญญารักษ์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

ปร.ด. (เภสัชศาสตร์)

อธิชา ฉันทวุฒินันท์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

ภ.บ.

ธนวัฒน์ ฉัตรทวีลาภ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

ภ.บ.(บริบาลเภสัชกรรม), ว.ภ.(เภสัชบำบัด)

เอกสารอ้างอิง

McIntyre D, Chow CK. Waiting time as an indicator for health services under strain: a narrative review. Inq (United States). 2020;57:1–15.

Alrajhi KN, Aljerian NA, Alazaz RN, Araier LB, Alqahtani LS, Almushawwah SO. Effect of waiting time estimates on patients satisfaction in the emergency department in a tertiary care center. Saudi Med J. 2020;41(8):883–6.

Trout A, Magnusson AR, Hedges JR. Patient satisfaction investigations and the emergency department: What does the literature say? Acad Emerg Med. 2000;7(6):695–709.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564 [อินเตอร์เน็ต]. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธ.ค. 2564]. หน้า 387. เข้าถึงได้จาก: http://www.cco.moph.go.th/cco24/รายละเอียดตัวชี้วัด กสธ.ปี 2564.pdf

Bleustein C, Rothschild DB, Valen A, Valaitis E, Schweitzer L, Jones R. Wait times, patient satisfaction scores, and the perception of care. Am J Manag Care. 2014;20(5):393–400.

O’malley MS, Fletcher SW, Fletcher RH, Earp JA. Measuring patient waiting time in a practice setting: A comparison of methods. Journal of Ambulatory Care Management. 1983;6:20–7.

Boonma A, Sethanan K, Talangkun S, Laonapakul T. Patient waiting time and satisfaction in GP clinic at a tertiary hospital in Thailand. MATEC Web Conf. 2018;192:8–12.

Parkpises W, Sitthiworanan C. Implementation of LEAN in outpatient department at the 68th public health center at Saphansung. Thai J Pharm Pract. 2019;11(1):18–31.

Tran TD, Nguyen U Van, Minh Nong V, Tran BX. Patient waiting time in the outpatient clinic at a central surgical hospital of Vietnam: Implications for resource allocation. F1000Research. 2017;6(454):1–12.

Shaikh SB, Witting MD, Winters ME, Brodeur MN, Jerrard DA. Support for a waiting room time tracker: A survey of patients waiting in an urban ED. J Emerg Med. 2013;44(1):225–9

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-05-16