ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลาง ภาคเอกชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ระยะเวลารอคอย, การบริการ, แผนกผู้ป่วยนอกบทคัดย่อ
ระยะเวลาการรอคอยสะท้อนคุณภาพการให้บริการและมีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเอกชน ประเภทโรงพยาบาลทั่วไปขนาดกลางแห่งหนึ่ง วิเคราะห์ข้อมูลผู้รับบริการทุกรายจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เข้ารับบริการในปี พ.ศ. 2563 และนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการศึกษาพบว่า มีข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการบันทึกเวลารับบริการครบทุกจุดบริการจำนวน 90 ราย จากผู้รับบริการทั้งหมด 15,925 ราย (ร้อยละ 0.57) ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการรวมตั้งแต่เริ่มเข้ารับบริการจนสิ้นสุดกระบวนการให้บริการมีค่ามัธยฐานเวลาเท่ากับ 1 ชั่วโมง 7 นาที 43 วินาที (พิสัยระหว่างควอไทล์ 41 นาที 28 วินาที – 1 ชั่วโมง 45 นาที 23 วินาที) โดยจุดบริการที่มีระยะเวลารับบริการนานที่สุด คือ จุดบริการที่ 4 ผู้ป่วยพบแพทย์และตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีค่ามัธยฐานเวลาเท่ากับ 28 นาที (พิสัยระหว่างควอไทล์ 7 นาที 28 วินาที – 41 นาที 18 วินาที) และจุดบริการที่มีระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการสั้นที่สุด คือ จุดบริการที่ 2 จุดซักประวัติ มีค่ามัธยฐานเวลาเท่ากับ 2 นาที 40 วินาที (พิสัยระหว่างควอไทล์ 58 วินาที – 8 นาที 7 วินาที) ระยะเวลาการรอคอยรับบริการในจุดบริการรอพบแพทย์ ระยะเวลารับบริการในจุดพบแพทย์ ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการในจุดรอชำระเงินและจุดรอรับยาผ่านเกณฑ์ชี้วัดของโรงพยาบาล ในอนาคตควรมีการบันทึกเวลารอคอยแยกจากระยะเวลารับบริการเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนระยะเวลารอคอยที่แท้จริง
เอกสารอ้างอิง
McIntyre D, Chow CK. Waiting time as an indicator for health services under strain: a narrative review. Inq (United States). 2020;57:1–15.
Alrajhi KN, Aljerian NA, Alazaz RN, Araier LB, Alqahtani LS, Almushawwah SO. Effect of waiting time estimates on patients satisfaction in the emergency department in a tertiary care center. Saudi Med J. 2020;41(8):883–6.
Trout A, Magnusson AR, Hedges JR. Patient satisfaction investigations and the emergency department: What does the literature say? Acad Emerg Med. 2000;7(6):695–709.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายละเอียดตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564 [อินเตอร์เน็ต]. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธ.ค. 2564]. หน้า 387. เข้าถึงได้จาก: http://www.cco.moph.go.th/cco24/รายละเอียดตัวชี้วัด กสธ.ปี 2564.pdf
Bleustein C, Rothschild DB, Valen A, Valaitis E, Schweitzer L, Jones R. Wait times, patient satisfaction scores, and the perception of care. Am J Manag Care. 2014;20(5):393–400.
O’malley MS, Fletcher SW, Fletcher RH, Earp JA. Measuring patient waiting time in a practice setting: A comparison of methods. Journal of Ambulatory Care Management. 1983;6:20–7.
Boonma A, Sethanan K, Talangkun S, Laonapakul T. Patient waiting time and satisfaction in GP clinic at a tertiary hospital in Thailand. MATEC Web Conf. 2018;192:8–12.
Parkpises W, Sitthiworanan C. Implementation of LEAN in outpatient department at the 68th public health center at Saphansung. Thai J Pharm Pract. 2019;11(1):18–31.
Tran TD, Nguyen U Van, Minh Nong V, Tran BX. Patient waiting time in the outpatient clinic at a central surgical hospital of Vietnam: Implications for resource allocation. F1000Research. 2017;6(454):1–12.
Shaikh SB, Witting MD, Winters ME, Brodeur MN, Jerrard DA. Support for a waiting room time tracker: A survey of patients waiting in an urban ED. J Emerg Med. 2013;44(1):225–9
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ