การเปรียบเทียบประสิทธิผลและค่าใช้จ่ายของการใช้ยาไอปราโทเปียม โบรไมด์/เฟโนเทอรอล ไฮโดรโบรไมด์ ระหว่างยาต้นแบบและยาสามัญ ในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลลำพูน
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและค่าใช้จ่ายของการใช้ยาไอปราโทเปียมโบรไมด์/เฟโนเทอรอล ไฮโดรโบรไมด์ ระหว่างยาต้นแบบและยาสามัญในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลลำพูน ดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนมีนาคม – พฤศจิกายน 2563 เป็นการวิจัยย้อนหลังและไปข้างหน้า (retrospective - prospective study) ในผู้ป่วยรายเดียวกันที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและมีการสั่งใช้ยา ipratropium bromide 0.02 mg + fenoterol hydrobromide 0.05 mg MDI ที่เป็นยาต้นแบบ (Berodual®) และยาสามัญ (Aerobidol®) โดยการทบทวนจากฐานข้อมูลประวัติการรักษา ณ คลินิกทรวงอก โรงพยาบาลลำพูน และการจ่ายยาออกจากคลังยาย้อนหลังในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2561 แพทย์สั่งใช้ยาสามัญ และในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2562 แพทย์สั่งใช้ยาต้นแบบ และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบไปข้างหน้า ในช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน 2563 กับผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 30 รายวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าสถิติ paired samples t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลของการใช้ยาพบว่า จำนวนครั้งของการกดพ่นยาเมื่อมีอาการกำเริบจนอาการดีขึ้นต่อครั้ง ทั้งยาต้นแบบและยาสามัญไม่แตกต่างกัน (t = 0.372, p = 0.712) อีกทั้งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ใช้ยาต้นแบบและยาสามัญไม่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ด้านจำนวนยาที่ได้รับพบว่า จำนวนยาต้นแบบ (Berodual®) และยาสามัญ (Aerobidol®) ที่ผู้ป่วยได้รับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t= 5.794, p=0.000) โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยได้รับยาต้นแบบ จำนวน 1 หลอด ขณะที่ยาสามัญได้รับ จำนวน 2 หลอดและเกี่ยวเนื่องให้มีค่าใช้จ่ายของยาต้นแบบและยาสามัญแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=5.383, p=0.000) ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมของยาสามัญสูงกว่ายาต้นแบบ เนื่องจากแพทย์มีการสั่งใช้ยาสามัญที่สูงกว่ายาต้นแบบ จากผลการศึกษานี้ แม้ว่าการใช้ยาต้นแบบและยาสามัญของผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์และเภสัชกรต้องติดตามการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการจัดการยาอย่างพอเพียงและคุ้มค่า รวมถึงผู้ป่วยสามารถได้รับผลการรักษาตามที่มุ่งหวังและไม่เกิดผลเสียที่ควรหลีกเลี่ยงได้
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization.(2018). “Chronic respiratory diseases”. [online]. Available from https://www.who.int/health-topics/chronic-respiratory-diseases#tab=tab_1 (20 March 2020).
เครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย. (2561). “เครือข่ายรักษาโรคหืด-ปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไปสู่สถานพยาบาลปฐมภูมิ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.hfocus.org/content/2019/05/17202 (2 พฤษภาคม 2561).
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). “สร้างกลไกการรักษา ป้องการกำเริบของโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=Njgy (5 พฤษภาคม 2561).
มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย. (2561). “สธ.เตรียมขยายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสู่หน่วยบริการปฐมภูมิ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.hfocus.org/content/2018/06/15985 (5 พฤษภาคม 2561).
World Health Organization. (2010). WHO model formulary 2010. Geneva: WHO Press; 2010.
World Health Organization. (2012). WHO model list of essential medicines: 16th list (updated). Geneva: WHO Press; 2012.
McEvoy G.K., Snow E.K., Miller J., Kester L., Welsh O.H. & Heydorn J.D., (2010). “AHFS Drug Information”. [online]. Available from: http://www.medicinescomplete.com. (20 March 2020).
Formulary subcommittee of the Area Drug, Therapeutics Committee. (2010). Lothian Joint Formulary. Edinburgh: Stevenson House.
คลินิกทรวงอก โรงพยาบาลลำพูน (2562). สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ามารับการรักษา ณ คลินิกทรวงอก โรงพยาบาลลำพูน ปี 2560 – 2562. (เอกสารอัดสำเนา).
คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. (2556). คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลตามบัญชียาหลักแห่งชาติยาระบบประสาทส่วนกลาง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล, วิจิตรา ทัศนียกุล. (2553). การเลือกใช้ยาต้นแบบ (INNOVATOR DRUGS) และยาชื่อสามัญ (GENERIC DRUGS) อย่างสมเหตุสมผล. วารสารวงการยา, 11(2); 29-33.
พิภัทรา รอดวรรณะ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของแพทย์ในการสั่งจ่ายยาสตาตินสามัญ: ดีสครีตช้อยส์เอ็กซ์เปอร์ริเมนท์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตรสังคมเศรษฐศาสตร์และการบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล.
Gossell-Williams, M. (2007). Generic substitutions: a 2005 survey of the acceptance and perceptions of physicians in Jamaica. West Indian Med J, 56(5); 458-463.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ