การทบทวนการสั่งใช้ยา omeprazole ในโรงพยาบาลอ่างทอง
คำสำคัญ:
โอเมพราโซล, การใช้ยาไม่เหมาะสม, การทบทวนการสั่งใช้ยาบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการสั่งใช้ยาผู้ป่วยนอก และศึกษาข้อมูลการได้รับยา omeprazole ที่ไม่เหมาะสม เป็นการศึกษาย้อนหลังในข้อมูลการรักษาผู้ป่วยนอกในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ได้รับยาตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงกันยายน พ.ศ. 2563 โดยกำหนดข้อบ่งใช้ตามภาวะที่ปรากฏในข้อบ่งใช้ที่ได้รับการอนุมัติจาก United States Food and Drug Administration หรือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยได้รับยา omeprazole จำนวน 20,692 ครั้ง ในผู้ป่วย 8,151 ราย อายุเฉลี่ย 55.8 ± 18.3 ปี จากการทบทวนด้านการใช้ยาพบว่ามีการสั่งใช้ยาตามข้อบ่งใช้จำนวน 1,310 ครั้ง (ร้อยละ 6.3) โดยใช้ใน gastro-oesophageal reflux disease without oesophagitis มากที่สุด ร้อยละ 73.4 เมื่อทบทวนการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมพบว่ามีจำนวน 19,382 ครั้ง (ร้อยละ 93.7) มูลค่ายาที่ใช้ไม่ตรงข้อบ่งใช้ เท่ากับ 1,968,602 บาท จากการทบทวนข้อมูลการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมรายบุคคล 399 ราย พบว่าการสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสม มีจ่ายยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 - 5 ปี ร้อยละ 21.3 และเหตุผลพบมากที่สุดคือ การสั่งใช้ omeprazole ในการรักษาภาวะผิดปกติที่ไม่ตรงข้อบ่งใช้เป็นระยะเวลา 7-15 วัน ร้อยละ 26.1 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด รองลงมาคือการสั่งใช้คู่กับ NSAIDs พบร้อยละ 22.3
สรุปผลการศึกษาพบว่า การใช้ยา omeprazole ผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นการใช้ยาไม่ตรงข้อบ่งใช้ที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ในอนาคต และก่อให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านยา ดังนั้นควรมีกำหนดนโยบาย หรือพัฒนาแนวทางการสั่งใช้ยา omeprazole ที่เหมาะสมร่วมกันในสหสาชาวิชาชีพ โดยผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลผ่านคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาล
เอกสารอ้างอิง
Reid M, Keniston A, Heller JC, Miller M, Medvedev S, Albert R. Inappropriate prescribing of proton pump inhibitors in hospitalized patients. Journal of hospital medicine 2012;7: 421-425.
ภาวิตา จริยาเวช, ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล. การใช้ยาโอเมพราโซลเกินความจำเป็นและความสูญเสียทางการเงินในบริบทโรงพยาบาลชุมชน. TJPP 2562;10: 437-448.
Durand C, Willett KC, Desilets AR. Proton pump inhibitor use in hospitalized patients: is overutilization becoming a problem?.Clinical Medicine Insights: Gastroenterology 2012;5: CGast-S9588.
คณะกรรมการผู้จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563 (Thailand GERD guideline 2020). กรุงเทพฯ:สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว;2563.
World Health Organization.Classification of Diseases (ICD). Available at: https://icd.who.int/browse10/2019/en. Accessed October 12,2020.
U.S. Food and Drug Administration. Drugs@FDA: FDA-Approved Drugs Available at: https://www.accessdata.fda.gov/scripts/cder/daf/ Accessed October 20,2020.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ตรวจสอบการอนุญาต. สืบค้นจาก: https://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx วันที่เข้าไปสืบค้น 20 ตุลาคม,2563.
Yamane T. Elementary sampling theory. 1967.
พิณประไพ เกื้อกูล. การประเมินการใช้ยาโอเมพราโซลในโรงพยาบาลคลองหลวง. GPO 2563; 46: 17-22.
ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์. Issue of Proton Pump Inhibitors Use in the Elderly. ใน: บุษบา จินดาวิจักษณ์ และธนรัตน์ สรวลเสน่ห์. บรรณาธิการ. บทบาทของเภสัชกรโรงพยาบาลในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. 1. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชนจำกัด, 2559: 157-163.
Abraham NS, Hlatky MA, Antman EM. et.al. ACCF/ACG/AHA 2010 Expert Consensus Document on the concomitant use of proton pump inhibitors and thienopyridines:a focused update of the ACCF/ACG/AHA 2008 expert consensus document on reducing the gastrointestinal risks of antiplatelet therapy and NSAID use: a report of the American College of Cardiology Foundation Task Force on Expert Consensus Documents. Circulation 2010; 122, 2619-2633.
Laine L. NSAID-Associated Gastrointestinal Bleeding: Assessing the Role of Concomitant Medications. Gastroenterology 2014; 147: 730–739.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ