ผลของกระบวนการแทรกแซงโดยเภสัชกรต่อความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา omeprazole ในโรงพยาบาลอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • พนารัตน์ ชุติมานุกูล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอ่างทอง
  • ปภัสรา วรรณทอง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอ่างทอง

คำสำคัญ:

โอเมพราโซล, การใช้ยาอย่างเหมาะสม, กระบวนการแทรกแซงโดยเภสัชกร, แนวทางการสั่งใช้ยา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลอ่างทองตามข้อบ่งใช้มีเพียงร้อยละ 6.3 จึงควรมีการศึกษากระบวนการแทรกแซงเพื่อเพิ่มความสมเหตุผลในการสั่งใช้ยาโอเมพราโซล

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบร้อยละความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ก่อนและหลังการใช้กระบวนการแทรกแซงของเภสัชกร และเพื่อศึกษาการยอมรับของแพทย์ต่อกระบวนการของการแทรกแซงของเภสัชกรต่อการสั่งใช้ยาโอเมพราโซล อย่างสมเหตุผล

วิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ในด้านข้อบ่งใช้และขนาดยาก่อนและภายหลังการแทรกแซงโดยเภสัชกร โดยระยะก่อนการแทรกแซงดำเนินการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลการสั่งใช้ยาที่มีการสั่งใช้ยาระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 และระยะหลังการแทรกแซงดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566 กระบวนการแทรกแซงประกอบด้วยแนวทางการสั่งใช้ยาที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลและการให้บริบาลทางเภสัชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเป็นความถี่และร้อยละ

ผลการวิจัย: จำนวนผู้ป่วยระยะก่อนการแทรกแซงและระยะหลังการแทรกแซง มีระยะละจำนวน 96 คน จำนวนการสั่งใช้ยาในแต่ละระยะ 96 ครั้ง พบว่าความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ในช่วงก่อนมีกระบวนการการแทรกแซงเท่ากับร้อยละ 44.8 เมื่อมีการนำแนวทางการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลมาใช้พบว่าความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60.4 และเมื่อนำการให้บริบาลทางเภสัชกรรมของเภสัชกรเข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้ความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา โอเมพราโซล เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85.4 การแทรกแซงโดยเภสัชกร มีการส่งปรึกษาแพทย์ พบว่าแพทย์ให้การยอมรับและปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำของเภสัชกรจำนวน 24 ครั้ง จากการส่งปรึกษาแพทย์ทั้งหมด 34 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 70.6

สรุปผลการวิจัย: การแทรกแซงการสั่งใช้ยาโอเมพราโซลของเภสัชกรด้วยการใช้แนวทางการสั่งใช้ยาร่วมกับการให้บริบาลทางเภสัชกรรม ทำให้ความเหมาะสมของการสั่งใช้ยาโอเมพราโซลในโรงพยาบาลอ่างทองเพิ่มขึ้นและแพทย์ให้การยอมรับต่อกระบวนการแทรกแซงของเภสัชกร

ประวัติผู้แต่ง

พนารัตน์ ชุติมานุกูล, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอ่างทอง

ภ.บ., ภ.ม.(เภสัชกรรมชุมชน)

ปภัสรา วรรณทอง, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอ่างทอง

ภ.บ., ภ.ม.(เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร)

เอกสารอ้างอิง

คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์. Monitoring process in rational drug use. ใน: บุษบา จินดาวิจักษณ์, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, บรรณาธิการ. บทบาทของเภสัชกรโรงพยาบาลในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน; 2559. หน้า 1-18.

Reid M, Keniston A, Heller JC, Miller M, Medvedev S, Albert RK. Inappropriate prescribing of proton pump inhibitors in hospitalized patients. J Hosp Med. 2012;7(5):421–5. doi:10.1002/jhm.1901.

ภาวิตา จริยาเวช, ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล. การใช้ยาโอเมพราโซลเกินความจำเป็น และความสูญเสียทางการเงินในบริบทโรงพยาบาลชุมชน. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 29 พ.ค. 2566];10(2):437-48. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171185

Durand C, Willett KC, Desilets AR. Proton pump inhibitor use in hospitalized patients: is overutilization becoming a problem?. Clin Med Insights Gastroenterol. 2012;5.65-76. doi: 10.4137/CGast.S9588.

ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์. Issue of proton pump inhibitors use in the elderly. ใน: บุษบา จินดาวิจักษณ์, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, บรรณาธิการ. บทบาทของเภสัชกรโรงพยาบาลในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน; 2559. หน้า 57-63.

พนารัตน์ ชุติมานุกูล, ปภัสรา วรรณทอง. การทบทวนการสั่งใช้ยา omeprazole ในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ค. 2566];26(2):39-50. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/11595

พิณประไพ เกื้อกูล. การประเมินการใช้ยาโอเมพราโซลในโรงพยาบาลคลองหลวง. วารสารองค์การเภสัชกรรม [อินเทอร์เน็ต]. 2563[สืบค้นเมื่อ 29 พ.ค. 2566];46(2):17-22. สืบค้นจาก: https://www.gpo.or.th/uploads/file/202006/8776b49d68bffeb25103a58709f26f68.pdf

Laine L. NSAID-associated gastrointestinal bleeding: assessing the role of concomitant medications. Gastroenterology. 2014;147(4):730–3. doi:10.1053/j.gastro.2014.08.021.

คณะกรรมการผู้จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563 (Thailand GERD guideline 2020) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย); 2563 [สืบค้นเมื่อ 29 พ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.gastrothai.net/th/guideline-detail.php?content_id=263

AstraZeneca Pharmaceuticals LP. PRILOSEC® (omeprazole) delayed-release capsules [Internet]. n.p.: U.S. Food and Drug Administration; 2012 [cited 2023 Oct 20]. Available from: https://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2012/019810s096lbl.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. LOSEC® 10 MG. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2565 [สืบค้นเมื่อ 20 ต.ค. 2563]. สืบค้นจาก: http://pertento.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_DRUG/SEARCH_DRUG/pop-up_drug_ex.aspx?Newcode=U1DR1C1022400054611C

Abraham NS, Hlatky MA, Antman EM, Bhatt DL, Bjorkman DJ, Clark CB, et al. ACCF/ACG/AHA 2010 Expert Consensus Document on the concomitant use of proton pump inhibitors and thienopyridines: a focused update of the ACCF/ACG/AHA 2008 expert consensus document on reducing the gastrointestinal risks of antiplatelet therapy and NSAID use: a report of the American College of Cardiology Foundation Task Force on Expert Consensus Documents. Circulation. 2010;122(24):2619-33. doi: 10.1161/CIR.0b013e318202f701.

Lanza FL, Chan FK, Quigley EM. Guidelines for prevention of NSAID-related ulcer complications. Am J Gastroenterol. 2009;104(3):728–38. doi:10.1038/ajg.2009.115.

McNeil JJ, Wolfe R, Woods RL, Tonkin AM, Donnan GA, Nelson MR, et al. Effect of aspirin on cardiovascular events and bleeding in the healthy elderly. N Engl J Med. 2018;379(16):1509-18. doi: 10.1056/NEJMoa1805819.

McFarland D, Merchant D, Khandai A, Mojtahedzadeh M, Ghosn O, Hirst J, et al. Selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) bleeding risk: Considerations for the Consult-Liaison Psychiatrist. Curr. Psychiatry Rep. 2023;25(3):113–24. doi:10.1007/s11920-023-01411-1.

Zhang Y, Yang H, Kong J, Liu L, Ran L, Zhang X, et al. Impact of interventions targeting the inappropriate use of proton‐pump inhibitors by clinical pharmacists in a hepatobiliary surgery department. J Clin Pharm Ther. 2021;46(1):149–57. doi:10.1111/jcpt.13273.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้