ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินหลังใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน ของโรงพยาบาลลำปาง

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิวา หมื่นปา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปาง

คำสำคัญ:

วาร์ฟาริน, ภาวะวาร์ฟารินเกินขนาด, การเสียชีวิตในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การศึกษาก่อนหน้านี้ พบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะวาร์ฟารินเกินขนาด มีโอกาสเสียชีวิตในโรงพยาบาลถึง 5 เท่า ทางโรงพยาบาลลำปางได้จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยา วาร์ฟาริน และมีเภสัชกรติดตามอย่างใกล้ชิด โดยแนวทางดังกล่าวมีการปรับปรุงล่าสุด ในปีงบประมาณ 2558 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน

วิธีวิจัย: เป็นแบบ retrospective cross-sectional analytical study เก็บข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลำปาง ในปี 2560 จากฐานข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยในและแบบติดตามผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน รวบรวมข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ข้อมูลการเจ็บป่วย ข้อมูลการรักษา ข้อมูลสภาวะเมื่อจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตในโรงพยาบาลด้วยสถิติ multivariable logistic regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ ที่ค่า p<0.05

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินเข้ารับการรักษาทั้งหมด 1,140 ครั้ง พบภาวะวาร์ฟารินเกินขนาดร้อยละ 13.2 ส่วนใหญ่ใช้สิทธิบัตรทอง (ร้อยละ 74.3) รักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม (ร้อยละ 61.3) มีระดับความรุนแรงของโรคที่เป็น (Charlson Comorbidity Index: CCI) ≤ 2 (ร้อยละ 91.7) นอนโรงพยาบาลนาน 1 ถึง 77 วัน ค่ามัธยฐาน 5 (3, 8) วัน และถูกจำหน่ายเมื่ออาการดีขึ้น (ร้อยละ 89.9) พบการเสียชีวิตในโรงพยาบาล ร้อยละ 4.8 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ CCI (adjusted OR 1.2, p=0.041)

สรุปผล: ปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน ได้แก่ ภาวะความรุนแรงของโรคของผู้ป่วย

ประวัติผู้แต่ง

รุ่งทิวา หมื่นปา, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปาง

ภ.บ., ปรด.

เอกสารอ้างอิง

อธิกา จารุโชติกมล. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยายับยั้งการละลายลิ่มเลือด และยาต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด. ใน: วิลาสินี หิรัญพานิช, ปวิตรา พูลบุตร, อธิกา จารุโชติกมล, บรรณาธิการ. เภสัชวิทยา 2. มหาสารคาม: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2547: 319-20.

Roungtiva Muenpa. Prevalence and factors associated warfarin overdose in hospitalized patients. Abstract of the 10th ACCP; 2010 July 9-12; Singapore.

Roungtiva Muenpa. Risk of in-hospital mortality among warfarin patients. Abstract of the 11th ACCP; 2011 June 24-27; Philippines.

บันทึกข้อความ เรื่อง ส่งแนวทางการดูแลผู้ป่วย ที่ได้รับ หรือเคยได้รับยา warfarin ในหอผู้ป่วย ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2554; กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปาง. ลำปาง: กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปาง; 2554.

ข้อแนะนำทางการแพทย์เกี่ยวกับการจัดการผู้ป่วย ที่ได้รับยา Warfarin โรงพยาบาลลำปาง version4 ตุลาคม 2557; ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลลำปาง. ลำปาง: ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลลำปาง; 2557.

Roungtiva Muenpa. Physician compliance with warfarin overdose management guideline of Lampang Hospital. Abstract of the 5th Cardiac Network Forum; 2013 January 30 to February 1; Ubon Ratchathani.

Daniel, Wayne W. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.

Charlton ME, Foley WT. Carlson comorbidity index. [internet] New York: Weill Cornell Medical Collage. [cited 2021 June 23]. Available from: https://www.capc.org/documents/download/290/

Srinathan S, Cipkar C, Chiang P, Castellucci LA. Mortality rate and functional outcomes among patients presenting with anticoagulation- associated intracranial hemorrhage. Blood. 2020 Nov; 136 (1): 24-25.

Huang YQ, Gou R, Diao YS, Yin QH, Fan WX, Liang YP, et al. Charlson comorbidity index helps predict the risk of mortality for patients with type 2 diabetic nephropathy. J Zhejiang Univ Sci B. 2014;15(1):58-66. doi: 10.1631/jzus.B1300109. PMID: 24390745; PMCID: PMC3891119.

Di Iorio B, Cillo N, Cirillo M, De Santo NG. Charlson comorbidity index is a predictor of outcomes in incident hemodialysis patients and correlates with phase angle and hospitalization. Int J Artif Organs. 2004;27(4):330-6. doi: 10.1177/039139880402700409.

Ng AC, Chow V, Yong AS, Chung T, Kritharides L. Prognostic impact of the Charlson comorbidity index on mortality following acute pulmonary embolism. Respiration. 2013;85(5):408-16. doi: 10.1159/000342024.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-07-28