The ผลกระทบของการกระจายยาสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองลำปางในสถานการณ์โรคโควิด-19 ปี 2564

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิวา หมื่นปา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปางง

คำสำคัญ:

การกระจายยา, หน่วยบริการปฐมภูมิ, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในปี 2564 เน้นให้ประชาชนอยู่บ้านมากที่สุด จึงมีการปรับรูปแบบการส่งยาให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลกระทบทางด้านคลินิกและความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในแต่ละรูปแบบของการกระจายยา ในสถานการณ์โรคโควิด 19

วิธีวิจัย: การวิจัยแบบผสมผสาน ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ เขตเมืองลำปาง ช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ได้รับยาใน 4 รูปแบบได้แก่ การรับยาทางไปรษณีย์ การมีอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ส่งยาให้ที่บ้าน การไปรับยาที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นในโครงการ และ การไปรับที่หน่วยบริการ คำนวณขนาดตัวอย่างตามขนาดประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าความดันก่อน-หลัง โดยใช้สถิติ paired t-test และ chi2 test ตามลักษณะของข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 230 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.9) มีอายุเฉลี่ย 62.6 ± 8.7 ปี ใช้สิทธิ์การรักษาหลักประกันสุขภาพ (ร้อยละ 72.6) โดยมีโรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวานและไขมันในเลือดสูง ได้รับยาตั้งแต่ 1 ขนานถึง 10 ขนาน มีค่ามัธยฐานอยู่ที่ 3 (2-4) ขนาน ประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยได้ 177 คน พบว่า ค่าความดันโลหิตในเดือนพฤษภาคม 2564 และวันที่ติดตามการรักษา ไม่แตกต่างกัน ทั้ง systolic blood pressure [128.9±12.1 vs. 128.8±14.4, p=0.917] และ diastolic blood pressure [74.6 ± 8.4 vs. 74.1 ± 8.2, p=0.442] ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการได้รับยาทางไปรษณีย์ และ อสม. มาส่งถึงบ้าน สูงสุด

สรุปผล: ผู้ป่วยโรคเรื้อรังยังมีผลลัพธ์ทางคลินิกไม่ต่างจาก 2-3 เดือนก่อนปรับรูปแบบการส่งยาและผู้ป่วยพึงพอใจต่อการส่งยาทางไปรษณีย์ และ มี อสม. นำยามาให้ที่บ้านมากที่สุด

ประวัติผู้แต่ง

รุ่งทิวา หมื่นปา, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลลำปางง

ภบ., ปรด.

เอกสารอ้างอิง

ศาลากลางจังหวัดลำปาง. ประกาศมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมการเดินทางเข้ามายังพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์จาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564]. ประกาศจังหวัดลำปาง (ลงวันที่ 12 เมษายน 2564). สืบค้นจาก: http://www.lampang.go.th/lampangceo/covid19/01.php

ศาลากลางจังหวัดลำปาง. มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)). [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564]. หนังสือด่วนที่สุด ศาลากลางจังหวัดลำปาง ที่ ลป 0017.2/ว.9631 (ลงวันที่ 16 เมษายน 2564). สืบค้นจาก: http://www.lampang.go.th/lampangceo/covid19/file/v9631-64.pdf

ศาลากลางจังหวัดลำปาง. การบังคับใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในระดับพื้นที่อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564]. หนังสือด่วนที่สุด ศาลากลางจังหวัดลำปาง ที่ ลป 0017.2/ว 10703 (ลงวันที่ 28 เมษายน 2564). สืบค้นจาก: http://www.lampang.go.th/lampangceo/covid19/file/v10887-64.pdf

กรมควบคุมโรค. ขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=18373&deptcode=brc

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ระบบยาของประเทศไทย 2563. 1st edition. กรุงเทพฯ: ธนอรุณการพิมพ์; 2564.

ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. บทที่ 7.2 การดำเนินการประเมินผล (การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง). ใน: บทเรียนออนไลน์ AET 352441 การประเมินผลโครงการส่งเสริมการเกษตร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564]. สืบค้นจาก: https://agecon-extens.agri.cmu.ac.th/Course_online/Course_352441.htm

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. 1st edition. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-07-28