การพัฒนาแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจาก tenofovir disoproxil fumarate (TDF) ในผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวี โรงพยาบาลนครพนม
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวัง, TDF, ภาวะแทรกซ้อนทางไต, เอชไอวีบทคัดย่อ
ความเป็นมา: Tenofovir disoproxil fumarate (TDF) เป็นยาต้านไวรัสในสูตรพื้นฐานที่แนะนำให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากเป็นยาที่มีประสิทธิภาพ อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ซึ่งโรงพยาบาลนครพนมยังไม่มีแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากยา TDF และศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติฯ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ดำเนินการเป็น 4 ระยะได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การดำเนินการ 3) การสังเกตและเก็บข้อมูลไปข้างหน้า 4) การติดตามผลการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ที่เริ่มได้รับยา TDF เป็นส่วนผสมในสูตรยา ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564 จำนวน 418 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากยา TDF ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา ปัญหาเกี่ยวกับยา medication adherence วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงจากยา TDF ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติฯ โดยใช้ Fisher’s Exact test
ผลการศึกษา: ได้แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากยา TDF ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งประกอบด้วยแนวทางในการติดตามค่าการทำงานของไต การปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับค่าการทำงานของไต การหยุดยา และ การให้คำแนะนำการใช้ยา ผลของการใช้แนวปฏิบัติ พบว่า 1) จากการคัดกรองคำสั่งการใช้ยา TDF ทั้งหมด 1,282 ครั้ง พบการสั่งใช้ยา TDF ในผู้ป่วยที่มีข้อห้าม 5 ครั้ง และพบคำสั่งใช้ยาที่มีขนาดยาไม่เหมาะสมกับค่าการทำงานของไต 13 ครั้ง หลังจากเภสัชกรปรึกษาแพทย์ ได้รับการยอมรับและให้ความร่วมมือในการหยุดยาและปรับขนาดยาตามที่เภสัชกรแนะนำทุกราย 2) อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงจากยา TDF คือมี CrCl น้อยกว่า 30 มล/นาที ก่อนใช้แนวปฏิบัติพบ 7 ราย จาก363 ราย (ร้อยละ 1.93) หลังใช้แนวปฏิบัติ พบ 1 รายจาก 418 ราย (ร้อยละ 0.24) ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุปผลการศึกษา: แนวปฏิบัติในการเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากยา TDF ที่พัฒนาขึ้น ช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตที่รุนแรงจากยา TDF ได้
เอกสารอ้างอิง
สุเมธ องค์วรรณดี และคณะ. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการผู้ติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
Ray A.S., Fordyce M.W., Hitchcock M.J. Tenofovir alafenmide: A novel prodrug of tenofovir for the treatment of human immunodeficiency virus. Antiviral Res 2016;125:63-70.
วิศิษฎ์ ตันหยง, พีรยศ ภมรศิลปะธรรม, ฉัตรชัย ฉิ่นไพศาล. ทีโนโฟเวียร์และพิษต่อไตระดับเซลล์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 2560;22(2):248-59.
Fernandez-Fernandez B, Montoya-Ferrer A, Sanz AB, Sanchez-Niño MD, Izquierdo MC, Poveda J, et al. Tenofovir nephrotoxicity: 2011 update. AIDS Res Treat. 2011;2011:354908. doi: 10.1155/2011/354908.
Irizarry-Alvarado JM, Dwyer JP, Brumble LM, AlvarezS, Mendez JC. Proximal tubular dysfunction associated with tenofovir and didanosine causing Fanconi syndrome and diabetes insipidus: A report of 3 cases. AIDS Read 2009;19(3):114-21.
Suzuki S, Nishijima T, Kawasaki Y, Kurosawa T, Mutoh Y, Kikuchi Y, et al. Effect of tenofovir disoproxil fumarate on incidence of chronic kidney disease and rate of estimated glomerular filtration rate decrement in HIV-1-infected treatment-naïve Asian patients: Results from 12-year observational cohort. AIDS Patient Care STDS. 2017;31(3):105-12.
Pichpattana M, Phiboonbanakit D, Trakulhun K, Supasyndh O. Incidence of tenofovir disoproxil fumarate induced proximal tubulopathy in HIV-infected patients. J Infect Dis Antimicrob Agents. 2016;33:33-55.
Bonjoch A, Echeverria P, Perez-Alvarez N, Puig J, Estany C, Clotet B, et al. High rate of reversibility of renal damage in a cohort of HIV-infected patients receiving tenofovir-containing antiretroviral therapy. Antiviral Res. 2012;96:65-9.
Izzedine H, Harris M, Perazella MA. The nephrotoxic effects of HAART. Nat Rev Nephrol. 2009;5(10):563-73.
Lyseng-Williamson KA, Reynolds NA, Plosker GL. Tenofovir disoproxil fumarate: A review of its use in the management of HIV infection. Drugs. 2005;65:413-32.
Asawatwong S. Tenofovir and risk of deficient renal function in HIV/AIDs patients at Krabi hospital. Krabi Medical Journal. 2018;1(1):35-43.
รชานนท์ หิรัญวงษ์, การเฝ้าระวังผลต่อไตจากการใช้ยาเทโนโฟเวียร์ ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลบางละมุง. ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ. 2555;15(4):117-22.
Hall AM, Hendry BM, Nitsch D, Connolly JO. Tenofovir-associated kidney toxicity in HIV-infected patients: a review of the evidence. Am J Kidney Dis. 2011;57(5):773-80. doi: 10.1053/j.ajkd.2011.01.022.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ