ประสิทธิผลของกระบวนการประสานรายการยาเดิมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลอินทร์บุรี

ผู้แต่ง

  • กัมพล วิบูลย์ศักดิ์สกุล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอินทร์บุรี
  • พีรภรณ์ ใบยา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอินทร์บุรี

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, ยารักษาโรคเบาหวาน, การประสานรายการยาเดิม

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรงพยาบาลอินทร์บุรี มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพียงร้อยละ 35.03 จึงได้นำกระบวนการประสานรายการยาเดิมมาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยลดลง

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการประสานรายการยาเดิมกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการประสานรายการยาเดิม

วิธีวิจัย: Retrospective cohort study ในผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการ ณ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลอินทร์บุรี ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 929 ราย ประกอบด้วย กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการประสานรายการยาเดิมอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 542 ราย และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการประสานรายการยาเดิมจำนวน 387 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากโปรแกรมเวชระเบียนและโปรแกรมบันทึกข้อมูลการประสานรายการยาของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Fisher’s exact test

ผลการวิจัย: พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารของกลุ่มศึกษาหลังจากได้รับการประสานรายการยาเดิม และกลุ่มควบคุมอยู่ในช่วง 131-170 mg/dL มากที่สุด (28.4 % และ 35.4 % ตามลำดับ) ซึ่งจัดอยู่ในเป้าหมายการรักษาระดับไม่เข้มงวด แต่กลุ่มศึกษามีสัดส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในเป้าหมายการรักษาระดับเข้มงวดมาก-เข้มงวด มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.024) ส่วนระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ย 7.7 % และ 7.6 % ตามลำดับ และเมื่อแบ่งตามเป้าหมายการรักษาพบว่าไม่แตกต่างกัน

สรุปผล: กระบวนการประสานรายการยาเดิมน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลงและเข้าสู่เป้าหมายของการรักษาอย่างที่ควรจะเป็นได้

ประวัติผู้แต่ง

กัมพล วิบูลย์ศักดิ์สกุล, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอินทร์บุรี

ภ.บ.

พีรภรณ์ ใบยา, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลอินทร์บุรี

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรคและโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กลุ่มเทคโนโลยี ระบาดวิทยาและมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ประเมินทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน 425 ล้านราย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ; 2562 [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566]. สืบค้นจาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

Barnsteiner JH. Medication reconciliation. In: Hughes RG, editor. Patient safety and quality: an evidence-based handbook for nurses. Rockville (MD): Agency for Healthcare Re–search and Quality (US); 2008. Chapter 38.

วราภรณ์ ภูมิอภิรัตน์, และนัทที พรประภา. การประเมินผลกระบวนการประสานรายการยาที่มีต่อความคลาดเคลื่อนทางยา ผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน จากหน่วยบริการปฐมภูมิ ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University. 2558;2(1):65-73.

สุธาทอง มั่งมี. การประสานรายการยาในผู้ป่วยนอกคลินิกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

Chong MT. Pharmacist interventions in improving clinical outcomes in patients with type 2 diabetes mellitus among the underrepresented population: a collaborative ambulatory care pharmacy practice (CAPP) approach. J Res Pharm Pract. 2020;9(1):3-9. doi: 10.4103/jrpp.JRPP_19_75.

Thom DH, Willard-Grace R, Hessler D, DeVore D, Prado C, Bodenheimer T, et al. The impact of health coaching on medication adherence in patients with poorly controlled diabetes, hypertension, and/or hyperlipidemia: a randomized controlled trial. J Am Board Fam Med. 2015;28(1):38-45. doi: 10.3122/jabfm.2015.01.140123.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี [อินเทอร์เน็ต]. สิงห์บุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี; 2562 [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566]. สืบค้นจาก: https://sbr.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3.

Park C, Guallar E, Linton JA, Lee DC, Jang Y, Son DK, et al. Fasting glucose level and the risk of incident atherosclerotic cardiovascular diseases. Diabetes Care. 2013;36(7):1988-93. doi: 10.2337/dc12-1577.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-01-26