ผลของการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • สุภาพร สนองเดช กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

การบริบาลทางเภสัชกรรม, การเยี่ยมบ้าน, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ปัญหาที่พบบ่อยในงานบริการทางเภสัชกรรมคือระบบการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงจัดให้มีระบบติดตามปัญหาจากการใช้ยาโดยการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้าน

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้าน

วิธีการวิจัย :เป็นการวิจัยกึ่งทดลองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 46 ราย โดยเภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้าน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ระหว่าง เดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน 2565

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 60.9 อายุเฉลี่ย 67.9±8.3 ปี ส่วนใหญ่ใช้ยาเฉพาะจากแพทย์หรือสถานพยาบาลเท่านั้น พบฉลากยาเลือนหายร้อยละ 6.5 และซองยาเสื่อมสภาพร้อยละ 4.3 พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 4 ราย (ร้อยละ 8.7) หลังเยี่ยมบ้านมีความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ยคะแนน ดีขึ้นจาก 5.4±2.6 เป็น 7.1±1.7 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด(หลังงดอาหาร 8 ชั่วโมง) หลังเยี่ยมบ้านลดลงจาก 143.0±39.6 mg/dl เป็น 110.1±22.0 mg/dl (p<0.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิต systolic ลดลงจาก 143.7±14.7 เป็น 131.6±10.3 mmHg (p<0.05) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิต diastolic ลดลงจาก 73.2±11.1 เป็น 67.2±10.5 mmHg (p<0.05)

สรุปผล: ผลจากการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้านทำให้ปัญหาในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลงและปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยได้รับการแก้ไข ซึ่งส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยลดลง

ประวัติผู้แต่ง

สุภาพร สนองเดช, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลย

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. รณรงค์วันเบาหวานโลก 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง [อินเตอร์เนท]. กรมควบคุมโรค. 2564 [สืบค้นเมื่อ 19 พ.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

นรินทรา นุตาดี, กฤษณี สระมุณี. การประเมินผลการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพที่มีเภสัชกรร่วมทีมเพื่อจัดการปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2559;8(1):206-16.

Peterson GM, Fitzmaurice KD, Naunton M, Vial JH, Stewart K. Impact of pharmacist-conducted home visits on the outcomes of lipid-lowering drug therapy. J Clin Pharm Ther 2005;29:23-30

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยพฤกษ์. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2564 สรุปรายงานผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. เลย: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยพฤกษ์; 2565. หน้า 5-8.

ธิติ สนับบุญ, ปนัดดา ศรีจอมขวัญ. แนวทางเวชปฏิบัติทางต่อมไร้ท่อ. 1st edition. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

ราตรี ชาติศรีศักดิ์. การเปรียบเทียบผลของการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยในซึ่งเป็นโรคความดันโลหิตสูงกับการให้คำแนะนำเรื่องยาก่อนกลับบ้านแบบเดิม [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.

เฉลิมศรี ภุมมางกูร. ปรัชญาของการบริบาลทางเภสัชกรรมปฏิบัติ. ใน: เฉลิมศรี ภุมมางกูร, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข. บรรณาธิการ. โอสถกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: นิวไทยมิตรการพิมพ์ 1996; 2543. หน้า 1-19.

Strand LM, Morley PC, Cipolle RJ, Ramsey R, Lamsam GD. Drug-related problems: their structure and function. DICP. 1990;24(11):1093-7. doi: 10.1177/106002809002401114.

คณะจัดทำคู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ. คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ. 1st edition. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2560.

ปรเมษฐ พรหมพินิจ, วิพงศ์ ภักดีกุล, วรินท์มาศ เกษทองมา. ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ โรงพยาบาลส่องดาวจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):538-47.

พุทธชาด มากชุมนุม, นลินี พูลทรัพย์, ทิพาพร พงษ์เมษา. ผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยทีมสหวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.

ภาณุ วิริยานุทัย, กฤษฎ์ ทองบรรจบ, ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ, วิชาดา มะลิ, ชนินาถ เครือนวล. ผลการบริบาลเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา. 2565;2(2):40-57.

สิระ บูชา. ประสิทธิผลการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกรที่มีต่อความร่วมมือในการใช้ยาและการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.2565;15(1):1-16

Wang W, Geng L, Sun C, Li H, Wang J. Efficacy of pharmaceutical care in patients with type 2 diabetes mellitus and hypertension: a randomized controlled trial. Int J Clin Pract. 2022;2022:7681404. doi: 10.1155/2022/7681404.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-01-26