การทบทวนความเหมาะสมของการใช้ยา dabigatran ในผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • วิมล ตันสกุล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่ออกฤทธิ์โดยตรง, dabigatran, อันตรกิริยาระหว่างยา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: Dabigatran เป็นยาตัวแรกในกลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานที่ออกฤทธิ์โดยตรงที่เข้าบัญชียาโรงพยาบาลหาดใหญ่และเนื่องจากเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่มีการใช้ยาในปริมาณและมูลค่าที่มากขึ้นทุกปี จึงได้มีการทบทวนความเหมาะสมของการใช้ยา

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการใช้ dabigatran ในประเด็นการสั่งใช้ยาตรงกับข้อบ่งใช้ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข การติดตามค่าการทำงานของไตก่อนและระหว่างการใช้ยาและการสั่งใช้ยาที่มีอันตรกิริยาต่อกัน

วิธีวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเวชระเบียนของผู้ป่วยนอกทุกรายที่ได้รับ dabigatran ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เป็นความถี่และร้อยละ

ผลการวิจัย: พบการสั่งใช้ dabigatran ในผู้ป่วย 222 ราย (1,294 ใบสั่งยา) มีการสั่งใช้ยาตรงกับข้อบ่งใช้ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข คือ ใช้ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในกระแสเลือดและลดการเสียชีวิตจากความผิดปกติของหลอดเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากหัวใจห้องบน (atrial fibrillation) จำนวน 137 ราย(ร้อยละ 61.7) สั่งใช้เพื่อรักษาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำของภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ จำนวน 36 ราย (ร้อยละ 16.2) และ 23 ราย (ร้อยละ 10.4) ตามลำดับซึ่งตรงตามข้อบ่งใช้ที่ได้รับการรับรองทั้งหมด 196 ราย (ร้อยละ 88.3) และมีการสั่งใช้ยาที่ไม่ตรงตามข้อบ่งใช้ที่รับรองจำนวน 26 ราย (ร้อยละ 11.7) มีผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวัดค่าการทำงานของไตก่อนได้รับยา 205 ราย (ร้อยละ 92.3) และติดตามค่าการทำงานของไตอย่างน้อย1 ครั้งในระหว่างที่ได้รับยาจำนวน 185 ราย (ร้อยละ 83.3) มีการสั่งใช้ยาที่อาจมีอันตรกิริยาระหว่างยาเมื่อใช้ร่วมกับ dabigatran ในผู้ป่วย 87 ราย (ร้อยละ 39.2 ของผู้ป่วยทั้งหมด)

สรุปผลการวิจัย: การสั่งใช้ dabigatran ส่วนใหญ่มีความเหมาะสมทั้งในด้านข้อบ่งใช้ การตรวจหาค่าการทำงานของไตก่อนและระหว่างการใช้ยาและการสั่งใช้ยาที่อาจมีอันตรกิริยาระหว่างยา แต่ยังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ได้รับการติดตามดังกล่าวไม่เพียงพอและได้รับยาด้วยข้อบ่งใช้ที่ไม่เหมาะสม จึงควรเพิ่มแนวทางการจัดการเพื่อให้มีการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ประวัติผู้แต่ง

วิมล ตันสกุล, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่

ภ.บ.(เภสัชกรรมคลินิก)

เอกสารอ้างอิง

Micromedex. Merative Micromedex® Web Applications Access [Internet]. Greenwood Village, Colorado: Truven Health Analytics, Inc.; 2023 [cited 2022 Sep 25]. Available from http://www.micromedexsolutions.com

Boehringer Ingelheim Pharmaceuticals, Inc. Product Information: PRADAXA® (dabigatran etexilate mesylate) oral capsules. Ridgefield, CT: Boehringer Ingelheim Pharmaceuticals, Inc.; 2017.

Connolly SJ, Ezekowitz MD, Yusuf S, Eikelboom J, Oldgren J, Parekh A, et al. Dabigatran versus warfarin in patient with atrial fibrillation. N Engl J Med. 2009; 361:1139-51. doi: 10.1056/NEJMoa0905561.

Olesen JB, Lip GYH, Kamper AL, Hommel K, Køber L, Lane DA, et al. Stroke and bleeding in atrial fibrillation with chronic kidney disease. N Engl J Med 2012;367:625-35. DOI: 10.1056/NEJMoa1105594

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แสดงรายละเอียดผลิตภัณฑ์ยา [details of medicinal product] พราดาซา 110 มก. (dabigatran etexilate mesilate) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2562 [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: http://ndi.fda.moph.go.th/drug_detail/index/?ndrug=6&rctype=1C&rcno=6100007&lpvncd=&lcntpcd=&lcnno=&licensee_no

Isaacs AN, Doolin M, Morse C, Shiltz E, Nisly SA. Medication utilization evaluation of dabigatran and rivaroxaban within a large, multi-center health system. Am J Health Syst Pharm. 2016;73(5 Suppl 1):S35-41. doi: 10.2146/sp150031.

Steffel J, Collins R, Antz M, Cornu P, Desteghe L, Haeusler KG, et al. 2021 European Heart Rhythm Association Practical Guide on the use of non-vitamin K antagonist oral anticoagulants in patients with atrial fibrillation. Europace. 2021;23(10):1612-76. doi: 10.1093/europace/euab065.

Lippi G, Mattiuzzi C, Cervellin G, Favaloro EJ. Direct oral anticoagulants: analysis of worldwide use and popularity using Google Trends. Ann Transl Med. 2017(16):322. doi: 10.21037/atm.2017.06.65.

Larock AS, Mullier F, Sennesael AL, Douxfils J, Devalet B, Chatelain C, et al. Appropriateness of prescribing dabigatran etexilate and rivaroxaban in patients with nonvalvular atrial fibrillation: a prospective study. Ann Pharmacother. 2014;48(10):1258-68. doi: 10.1177/1060028014540868.

Sidman E, Probst LA, Darko W, Miller CD. Evaluation of dabigatran utilization and risk among hospitalized patients. Ann Pharmacother. 2014;48(3):349-53. doi: 10.1177/1060028013513722.

Carley B, Griesbach S, Larson T, Krueger K. Assessment of dabigatran utilization and prescribing patterns for atrial fibrillation in a physician group practice setting. Am J Cardiol. 2014;113(4):650-4. doi: 10.1016/j.amjcard.2013.11.008.

Carter AA, Leblanc K, Woods A, Lowe D. Utilization of dabigatran for atrial fibrillation at 3 tertiary care centres. Can J Hosp Pharm. 2015;68(5):369-77. doi: 10.4212/cjhp.v68i5.1483.

Jobski K, Enders D, Amann U, Suzart K, Wallander MA, Schink T, et al. Use of rivaroxaban in Germany: a database drug utilization study of a drug started in hospital. Eur J Clin Pharmacol. 2014;70(8):975-81. doi: 10.1007/s00228-014-1697-7.

Barra ME, Fanikos J, Connors JM, Sylvester KW, Piazza G, Goldhaber SZ. Evaluation of dose-reduced direct oral anticoagulant therapy. Am J Med. 2016;129(11):1198-204. doi: 10.1016/j.amjmed.2016.05.041.

Pattullo CS, Barras M, Tai B, McKean M, Donovan P. New oral anticoagulants: appropriateness of prescribing in real-world setting. Intern Med J. 2016;46(7):812-8. doi: 10.1111/imj.13118.

Whitworth MM, Haase KK, Fike DS, Bharadwaj RM, Young RB, MacLaughlin EJ. Utilization and prescribing patterns of direct oral anticoagulants. Int J Gen Med. 2017;10:87-94. doi: 10.2147/IJGM.S129235

Kirchhof P, Benussi S, Kotecha D, Ahlsson A, Atar D, Casadei B, et al. 2016 ESC Guidelines for the management of atrial fibrillation developed in collaboration with EACTS. Eur Heart J. 2016;37(38):2893-962. doi: 10.1093/eurheartj/ehw210.

Heidbuchel H, Verhamme P, Alings M, Antz M, Diener HC, Hacke W, et al. Updated European Heart Rhythm Association practical guide on the use of non-vitamin-K antagonist anticoagulants in patients with non-valvular atrial fibrillation: executive summary. Eur Heart J. 2017;38(27):2137-49. doi: 10.1093/eurheartj/ehw058.

ชาริณี มีอาษา, ไชยสิทธิ์ วงศ์วิภาพร, ชญานิศ น่าชม, สุปราณี สิงหพีระกุล, ผันสุ ชุมวรฐายี,วีรวรรณ อุชายภิชาติ. การทบทวนรูปแบบและความเหมาะสมของขนาดยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานกลุ่มใหม่ในผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2561 [สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2565];33(suppl):114-24. สืบค้นจาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/137106/102094

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-26