การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
บริบาลเภสัชกรรม, เอชไอวี, เอดส์บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและอัตราตายซึ่งผู้ป่วยต้องมีความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัส ระดับจำนวนเซลล์ CD4 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ก่อนและหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรม และ ศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม
วิธีวิจัย: วิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ได้รับการรักษา ณ. คลินิกยาต้านไวรัส โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ทุกรายรวม 107 ราย รวบรวมข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยและแบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ระดับคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัส ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา และจำนวนเซลล์ CD4 โดย ค่าความถี่ และร้อยละ เปรียบเทียบระดับคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยา ระดับจำนวนเซลล์ CD4 ก่อนและหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed-Rank test
ผลการศึกษา: ระดับคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ป่วยหลังการให้บริบาลทางเภสัชกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) สำหรับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาที่พบมากที่สุด คือ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย 48 ครั้ง (44.03%) รองลงมาคือการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 44 ครั้ง (40.37%) และ ขาดนัด 10 ครั้ง (9.17%) ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาได้รับการแก้ไขมีจำนวน 105 ปัญหา(96.33%) และระดับจำนวนเซลล์ CD4 หลังการให้บริบาลทางเภสัชเภสัชกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)
สรุป: การบริบาลทางเภสัชกรรมมีผลทำให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรับประทานยาดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาและทำให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาที่ดีขึ้นได้
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค. รายละเอียดโรค: เอดส์ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565]. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=42
สุเมธ องค์วรรณดี, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, อัญชลี อวิหิงสานนท์, เอกจิตรา สุขกุล, รังสิมา โล่ห์เลขา. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [สืบค้นเมื่อ 24 ส.ค. 2565]. สืบค้นจาก: https://www.thaiaidssociety.org/wp-content/uploads/2022/02/Thailand-National-Guidelines-on-HIV-AIDS-Treatment-and-Prevention-2017.pdf
ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์. การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วยยาต้านไวรัส. An update on infectious diseases. กรุงเทพมหานคร: สวิชาญการพิมพ์; 2548. หน้า 545-7.
Press N, Tyndall MW, Wood E, Hogg RS, Montaner JS. Virologic and immunologic response, clinical progression, and highly active antiretroviral therapy adherence. J Acquir Immune Defic Syndr. 2002;31(Suppl 3):S112-7. doi: 10.1097/00126334-200212153-00005.
Ammassari A, Trotta MP, Murri R, Castelli F, Narciso P, Noto P, et al. Correlates and predictors of adherence to highly active antiretroviral therapy: overview of published literature. J Acquir Immune Defic Syndr. 2002;31(Suppl 3):S123-7. doi: 10.1097/00126334-200212153-00007.
เฉลิมศรี ภุมมางกูร. ปรัชญาของการบริบาลทางเภสัชกรรมปฏิบัติ. ใน: เฉลิมศรี กุมมางกูร, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข, บรรณาธิการ. โอสถกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: นิวไทยมิตรภาพการพิมพ์; 2547. หน้า 1-5.
รัชฎาพร วิสัย, รินดาวรรณ พันธุ์เขียน, ภิรุญ มุตสิกพันธ์, เชิดชัย สุนทรภาส. การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2549;2(2):66-75. doi: 10.14456/ijps.2006.13
ศศิธร กิจไพบูลย์ทวี. การบริบาลทางเภสัชกรรมบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมรวม โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ค. 2565];31(3):369-83. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/170364
Strand LM, Morley PC, Cipolle RJ, Ramsey R, Lamsam GD. Drug-related problems: their structure and function. DICP. 1990;24(11):1093-7. doi: 10.1177/106002809002401114.
นันทนา เสียงล้ำ. ความร่วมมือในการใช้ยาและปัญหาจากการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 19 ส.ค. 2566];10(1):146-56. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/242282/
พงษ์พันธ์ บุญชู, สามารถ เอื้อมเก็บ, อภิสิทธิ์ เทียนชัยโรจน์. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกโรคเอดส์.วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2548;15(2):117-23.
วิมล ตันสกุล. การศึกษาบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยนอกที่ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 9 พ.ค. 2566];14(1):1-8. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/573
Hernández Arroyo MJ, Cabrera Figueroa SE, Valverde Merino MP, Hurlé AD. A pharmacist's role in the individualization of treatment of HIV patients. Per Med. 2016;13(2):169-88. doi: 10.2217/pme.15.54.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ