ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพของ calcium polystyrene sulfonate ในผู้ป่วยโพแทสเซียมในเลือดสูงระดับไม่รุนแรง

ผู้แต่ง

  • เก็จกนก แก่นบุญ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี

คำสำคัญ:

โพแทสเซียมในเลือดสูง, calcium polystyrene sulfonate, ปัจจัย, spironolactone, อัตราการกรองของไต

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงระดับไม่รุนแรง (mild hyperkalemia) ควรได้รับการรักษาทันทีด้วย calcium polystyrene sulfonate (CPS) เพื่อให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดกลับสู่ระดับปกติอย่างรวดเร็ว ป้องกันไม่ให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลต่อชีวิต อย่างไรก็ตามหลังได้รับยาดังกล่าว บางครั้งระดับโพแทสเซียมในเลือดไม่ลดลงสู่ระดับปกติ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้โพแทสเซียมในเลือดไม่ลดลงสู่ระดับปกติในผู้ป่วยโพแทสเซียมในเลือดสูงระดับไม่รุนแรงที่ได้รับการรักษาด้วย CPS

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์จากผลมาหาเหตุ (case-control study) ที่โรงพยาบาลปัตตานีในผู้ป่วย mild hyperkalemia ที่ได้รับประทาน CPS ทั้งหมด 686 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ได้รับ CPS แล้วระดับโพแทสเซียมในเลือดลดลงสู่ระดับปกติ 475 ราย และ 2) กลุ่มที่ได้รับ CPS แล้วระดับโพแทสเซียมในเลือดไม่ลดลงสู่ระดับปกติ 211 ราย เปรียบเทียบทั้งสองกลุ่มด้วย t-test, Fisher’s exact test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย odds ratio จาก logistic regression analysis

ผลการศึกษา: พบว่าการที่ผู้ป่วยมีอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 15 ml/min/1.73m2 (OR 2.08, 95% CI 1.43-3.01) และ การที่ผู้ป่วยได้รับยา spironolactone ร่วมด้วย (OR 3.08, 95% CI 1.29-7.37) เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพของ CPS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยที่ส่งผลให้โพแทสเซียมในเลือดของผู้ป่วยไม่ลดลงสู่ระดับปกติในผู้ป่วยโพแทสเซียมในเลือดสูงระดับไม่รุนแรงที่ได้รับ CPS ได้แก่ การที่ผู้ป่วยมีการทำงานของไตบกพร่อง (อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 15 ml/min/1.73m2) และ การที่ผู้ป่วยได้รับยา spironolactone ร่วมด้วย

ประวัติผู้แต่ง

เก็จกนก แก่นบุญ, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี

ภ.ม.

เอกสารอ้างอิง

Viera AJ, Wouk N. Potassium disorders: hypokalemia and hyperkalemia. Am Fam Physician. 2015;92(6):487-95. PMID: 26371733.

Flurie RW, Brophy DF. Chapter 51. Disorders of potassium and magnesium homeostasis. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey L, editors. Pharmacotherapy: a pathophysiologic approach, 10th editon [Internet]. n.p.: McGraw Hill; 2017 [cited 2023 Jan 15]. Available from: https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=1861&sectionid=134127639

Kraft MD, Btaiche IF, Sacks GS, Kudsk KA. Treatment of electrolyte disorders in adult patients in the intensive care unit. Am J Health Syst Pharm. 2005;62(16):1663-82 doi: 10.2146/ajhp040300. PMID: 16085929.

นัทพล มะลิซ้อน, วีรชัย ไชยจามร. Management of water and electrolyte disorders. ใน: ดาราพร รุ้งพราย, ศยามล สุขขา, วีรชัย ไชยจามร, อุษณีย์ วนรรฆมณี, กมลวรรณ อ่อนละมัย, พิรดา วงษ์พิรา, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคไตสำหรับเภสัชกร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ประชาชน; 2558. หน้า 127-152.

Mushiyakh Y, Dangaria H, Qavi S, Ali N, Pannone J, Tompkins D. Treatment and pathogenesis of acute hyperkalemia. J Community Hosp Intern Med Perspect. 2012;1(4):1-6. doi: 10.3402/jchimp.v1i4.7372. PMID: 23882341; PMCID: PMC3714047.

Kowa company Ltd. Kalimate [database on internet]. Tokyo: Kowa company Ltd. [cited 2023 Jun 30]. Available from: https://medical.kowa.co.jp/asset/item/18/28/7-pse_046.pdf

Yu MY, Yeo JH, Park JS, Lee CH, Kim GH. Long-term efficacy of oral calcium polystyrene sulfonate for hyperkalemia in CKD patients. PLoS One. 2017;12(3):e0173542. doi: 10.1371/journal.pone.0173542. PMID: 28328954; PMCID: PMC5362098.

Natale P, Palmer SC, Ruospo M, Saglimbene VM, Strippoli GF. Potassium binders for chronic hyperkalaemia in people with chronic kidney disease. Cochrane Database Syst Rev. 2020;6(6):CD013165. doi: 10.1002/14651858.CD013165.pub2. PMID: 32588430; PMCID: PMC7386867.

Loutradis C, Tolika P, Skodra A, Avdelidou A, Sarafidis PA. Prevalence of hyperkalemia in diabetic and non-diabetic patients with chronic kidney disease: a nested case-control study. Am J Nephrol. 2015;42(5):351-60. doi: 10.1159/000442393. PMID: 26599956.

Raebel MA. Hyperkalemia associated with use of angiotensin-converting enzyme inhibitors and angiotensin receptor blockers. Cardiovasc Ther. 2012;30(3):e156-66. doi: 10.1111/j.1755-5922.2010.00258.x. PMID: 21883995.

Nash DM, Markle-Reid M, Brimble KS, McArthur E, Roshanov PS, Fink JC, et al. Nonsteroidal anti-inflammatory drug use and risk of acute kidney injury and hyperkalemia in older adults: a population-based study. Nephrol Dial Transplant. 2019;34(7):1145-54. doi: 10.1093/ndt/gfz062. PMID: 31264694; PMCID: PMC6603365.

Surabenjawong U, Thunpiphat N, Chatsiricharoenkul S, Monsomboon A. Prevalence of hyperkalemia in adult patients taking spironolactone and angiotensin converting enzyme inhibitors or angiotensin receptor blockers. J Med Assoc Thai. 2013;96(8):905-10. PMID: 23991595.

Tamirisa KP, Aaronson KD, Koelling TM. Spironolactone-induced renal insufficiency and hyperkalemia in patients with heart failure. Am Heart J. 2004;148(6):971-8. doi: 10.1016/j.ahj.2004.10.005. PMID: 15632880.

Liamis G, Liberopoulos E, Barkas F, Elisaf M. Diabetes mellitus and electrolyte disorders. World J Clin Cases. 2014;2(10):488-96. doi: 10.12998/wjcc.v2.i10.488.

Bengalorkar GM, Sarala N, Venkatrathnamma PN, Kumar TN. Effect of heparin and low-molecular weight heparin on serum potassium and sodium levels. J Pharmacol Pharmacother. 2011;2(4):266-9. doi: 10.4103/0976-500X.85956.

Thomas CM, Thomas J, Smeeton F, Leatherdale BF. Heparin-induced hyperkalemia. Diabetes Res Clin Pract. 2008;80(2):e7-8. doi: 10.1016/j.diabres.2008.01.019.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-03