ผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีโดยเภสัชกร
คำสำคัญ:
เอชไอวี, เภสัชกร, การจัดการบำบัดด้านยา, differentiated careบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โดยใช้กระบวนการจัดการการบำบัดด้านยา (Medication Therapy Management; MTM) ร่วมกับการจัดบริการรูปแบบ Differentiated Care มีเป้าหมายที่สำคัญคือกดระดับเชื้อไวรัส (viral load; VL) และเพิ่มจำนวนเซลล์ CD4 ให้อยู่ในระดับที่ควบคุมโรคได้ ลดอาการแทรกซ้อนหรือโรคร่วม และส่งเสริมให้คงอยู่ในระบบการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีโดยเภสัชกร
วิธีดำเนินการศึกษา: ศึกษาข้อมูลย้อนหลังผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เข้ารักษาแบบผู้ป่วยนอกในปีงบประมาณ 2563 เปรียบเทียบก่อนและหลังพัฒนาระบบ ก่อนพัฒนาระบบผู้ป่วยอยู่ในความดูแลของแพทย์ 6 เดือน หลังพัฒนาระบบผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือมีแต่ควบคุมได้จะส่งต่อให้อยู่ในความดูแลของเภสัชกร ติดตามผลทุก 3 เดือนเป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยไม่ต้องพบแพทย์ เภสัชกรสั่งยาเดิมและจ่ายยาร่วมกับนำกระบวนการจัดการบำบัดด้านยามาดูแลผู้ป่วย
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 26 ราย พบจำนวนผู้ป่วยที่มีระดับ VL < 50 copies/ml เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76.92 เป็น 84.62 และความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 98.06 เป็น 99.81 ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) มีระดับเซลล์ CD4 เพิ่มขึ้นจาก 403.77 เป็น 506.58 cells/mm3 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และระยะเวลาการมารับบริการลดลง 84.30 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
สรุป: การพัฒนาระบบส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคงที่ไม่พบการติดเชื้อฉวยโอกาสเพิ่ม มีความร่วมมือในการใช้ยามากกว่าร้อยละ 95 จำนวนผู้ป่วยไวรัสมีระดับ VL < 50 copies/ml ไม่แตกต่างจากเดิม แต่การตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น และระยะเวลาการเข้ารับบริการลดลง
เอกสารอ้างอิง
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีประเทศไทยปี 2560 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560 [สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566]. สืบค้นจาก https://www.thaiaidssociety.org/wp-content/uploads/2022/02/Thailand-National-Guidelines-on-HIV-AIDS-Treatment-and-Prevention-2017.pdf
ศศิธร แสงเนตร. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566];4(8):1-12 สืบค้นจากhttps://thaidj.org/index.php/AJMP/article/view/9512/8536
นิตยา ภาพสมุทร, ปริญญา จันทร์บรรเจิด, พรทิพย์ วรนัยพินิจ และคณะ. ประสิทธิผลการใช้ยาของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับยาต้านไวรัส ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566];5(4):309-15. สืบค้นจาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/2565/2583
Hazen RJ, Halbur D, Mills B, Kirkham HS, Hou j. Evaluation of medication therapy issues, resolutions, and adherence among persons with HIV in the Pharmacist-Led Patient-Centered HIV Care Model. J Acquir Immune Defic Syndr. 2021;88(1):96-102. doi: 10.1097/QAI.0000000000002732.
อาภรณี ไชยาคำ, สุณี เลิศสินอุดม, สุภัสร์ สุบงกช, บรรณาธิการ. Contemporary reviews in pharmacotherapy 2010: lesson from practice. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2553. หน้า 128-40.
American Pharmacists Association and the National Association of Chain Drug Stores Foundation. Medication therapy management in pharmacy practice: core elements of an MTM service model (version 2.0). J Am Pharm Assoc (2003). 2008;48:341-53. doi: 10.1331/JAPhA.2008.08514.
McGivney MS, Meyer SM, Duncan-Hewitt W, Hall DL, Goode J-VR, Smith RB. Medication therapy management: its relationship to patient counseling, disease management, and pharmaceutical care. J Am Pharm Assoc (2003). 2007;47(5):620-8. doi: 10.1331/JAPhA.2007.06129.
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการจัดบริการรับยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการคงที่ โดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ตามบริบทของหน่วยบริการสุขภาพในไทย [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค; 2563 [สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/997820200403093559.pdf
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ระบบบริการข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ (NAP WEB REPORT) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566]. สืบค้นจาก: http://napdl.nhso.go.th/NAPWebReport/home.jsp
ประพันธ์ ภานุภาค. ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สภากาชาดไทย; 2561 [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566]. สืบค้นจาก: https://redcross.or.th/news/information/4665
จิตติมา โภคาประกรณ์. ระบบรับยาต้านไวรัสเอดส์อย่างต่อเนื่อง โดยเภสัชกรในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลเสนา [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
ศุภาภิลัย วิโรจน์จริยากร. ผลของการให้บริการของคลินิกรับยาต่อเนื่องโดยเภสัชกรในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ณ โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.
Lok JJ, Bosch RJ, Benson CA, Collier AC, Robbins GK, Shafer RW, et al. Long-term increase in CD4+ T-cell counts during combination antiretroviral therapy for HIV-1 infection. AIDS. 2010;24(12):1867-76. doi: 10.1097/QAD.0b013e32833adbcf.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ