อุบัติการณ์และลักษณะของอาการไม่พึงประสงค์ของ Favipiravir ในผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • เกศสุภา พลพงษ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ
  • ณิชาพร กตะศิลา กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

favipiravir, intensive monitoring program, อาการไม่พึงประสงค์ของยา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: Favipiravir เป็นยาต้านไวรัสที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 จัดเป็นยาใหม่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไข ซึ่งต้องมีระบบติดตามความปลอดภัยหลังการใช้ยา (safety monitoring program; SMP) อย่างเข้มงวด เนื่องจากยังมีข้อมูลด้านความปลอดภัยจำกัด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และลักษณะของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ favipiravir ในผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีสะเกษ

วิธีวิจัย: ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จาก favipiravir ในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง และได้รับยาอย่างน้อย 5 วัน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 จำนวน 200 ราย โดยติดตามผู้ป่วยทางโทรศัพท์ บันทึกข้อมูลในแบบเก็บข้อมูล ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 37.6±16.22 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 63 เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 11 ราย(ร้อยละ 5.5) อาการไม่พึงประสงค์ที่พบส่วนใหญ่เป็นอาการในระบบทางเดินอาหาร คือเบื่ออาหาร 4 ราย (ร้อยละ 2) คลื่นไส้/อาเจียน 3 ราย (ร้อยละ 1.5) อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ ผมร่วง ปวดศีรษะ ปวดขา ผื่นคัน อย่างละ 1 ราย (ร้อยละ 0.5) ค่ามัธยฐานของระยะเวลาในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังจากได้รับยาเท่ากับ 3 วัน (IQR 2-4) ทั้งหมดเป็นอาการไม่รุนแรง หลังหยุดยาอาการหายเป็นปกติ

สรุปผลการวิจัย: อุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ของ favipiravir ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงพบประมาณร้อยละ 5 โดยส่วนใหญ่เป็นอาการของระบบทางเดินอาหารที่มีอาการไม่รุนแรงและหายเป็นปกติหลังหยุดใช้ยา

ประวัติผู้แต่ง

เกศสุภา พลพงษ์, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ

ส.ม.

ณิชาพร กตะศิลา, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสะเกษ

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, สุมนมาลย์ อุทยมกุล. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ค. 2566];14(2):124-33. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/240349/

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564]. สืบค้นจาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=150

พรรณี ลีลาวัฒนชัย, ธนานันต์ ตัณฑ์ไพบูลย์. Favipiravir สำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564];31(2):141-57. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/250567

ยุคล จันทเลิศ. Favipiravir. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564];38(2):232-36. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/250937

UpToDate, Inc. Favipiravir. In: UpToDate Web Applications Access [Internet]. n.p.: Wolters Kluwer; 2023 [cited 2023 May 25]. Available from: https://www.wolterskluwer.com/en/solutions/uptodate (Subscription required to view)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. สรุปรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประจำปี 2563-2564 [Spontaneous reports of adverse drug reaction 2020-2021]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

ระพีพรรณ ฉลองสุข. การกำหนดขนาดตัวอย่าง (sample size). วารสารไภษัชยนิพนธ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2550 [สืบค้นเมื่อ 20 ส.ค. 2564];4(1):1-19. doi: 10.14456/tbps.2009.1. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/TBPS/article/view/33065

Ergür FÖ, Yıldız M, Şener MU, Kavurgacı S, Ozturk A. Adverse effects associated with favipiravir in patients with COVID-19 pneumonia: a retrospective study. Sao Paulo Med J. 2022;140(3):372-77. doi: 10.1590/1516-3180.2021.0489.R1.13082021.

ชุมชนเภสัชกรนักปฏิบัติเรื่องการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประเทศไทย (ADCoPT). แนวทางปฏิบัติในการทำงานติดตามอาการไม่พึงประสงค์จาก การใช้ยา. กรุงเทพ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2559.

ธีวรา โลมรัตน์, ตุลาการ นาคพันธ์. การประเมินประสิทธิผลของยาฟาร์วิพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ค. 2566];7(2)8-18. สืบค้นจาก: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/257026

Kaur RJ, Charan J, Dutta S, Sharma P, Bhardwaj P, Sharma P, et al. Favipiravir Use in COVID-19: Analysis of Suspected Adverse Drug Events Reported in the WHO Database. Infect Drug Resist. 2020;13:4427-38. doi: 10.2147/IDR.S287934.

Hung DT, Ghula S, Aziz JMA, Makram AM, Tawfik GM, Abozaid AA, et al. The efficacy and adverse effects of favipiravir on patients with COVID-19: a systematic review and meta-analysis of published clinical trials and observational studies. Int J Infect Dis. 2022;120:217-27. doi: 10.1016/j.ijid.2022.04.035.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ. คู่มือการดำเนินงานการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-2019) เชิงรุก [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://hpvcth.fda.moph.go.th/guideline-covid-19-drugs/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-26