ผลการส่งยาทางไปรษณีย์ภายใต้การระบาดใหญ่ COVID-19 ต่อผลลัพธ์การรักษาผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ส่งยาทางไปรษณีย์, ความร่วมมือในการใช้ยา, ปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือด, ปริมาณไวรัสในระดับตรวจวัดไม่ได้บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ไม่สามารถมารักษาที่โรงพยาบาลได้ตามปกติ การส่งยาทางไปรษณีย์ไปให้ผู้ติดเชื้อมีความจำเป็นเพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รับยาต่อเนื่อง จึงควรมีการติดตามและตรวจสอบผลการรักษาภายหลังการส่งยาไปให้ผู้ติดเชื้อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลกระทบของการส่งยาทางไปรษณีย์ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร่วมมือในการใช้ยาและการยับยั้งปริมาณไวรัสเอชไอวีในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง (retrospective Cohort study) กลุ่มศึกษาเป็น ผู้ติดเชื้อที่ทางโรงพยาบาลส่งยาให้ทางไปรษณีย์จำนวน 440 คน และกลุ่มเปรียบเทียบเป็นผู้ติดเชื้อที่มารับบริการปกติที่คลินิกยาต้านไวรัส จำนวน 105 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ติดเชื้อนำมาเปรียบเทียบความร่วมมือในการใช้ยาและการยับยั้งไวรัสเอชไอวีในเลือดของกลุ่มศึกษาก่อนและหลังส่งยาทางไปรษณีย์และระหว่างกลุ่มศึกษากับกลุ่มเปรียบเทียบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ chi-square test, Fisher exact test และ McNemar
ผลการศึกษา: ความร่วมมือในการใช้ยาของกลุ่มศึกษาก่อนและหลังส่งยาทางไปรษณีย์ 6 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.039) โดยความร่วมมือในการใช้ยาหลังรับยาที่ 6 เดือนสูงกว่าก่อนส่งยาทางไปรษณีย์ ความร่วมมือในการใช้ยาระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบที่ 6 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.004) โดยกลุ่มศึกษามีสัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่มีความร่วมมือในการใช้ยา ≥95% ร้อยละ 99.5 สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบซึ่งมีเพียงร้อยละ 95.2 กลุ่มศึกษาหลังส่งยาทางไปรษณีย์มีสัดส่วนผู้ติดเชื้อที่มีปริมาณไวรัสในระดับตรวจวัดไม่ได้ (<20 copies/ml) ร้อยละ 95.0 มากกว่าก่อนส่งยาทางไปรษณีย์ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 87.7 และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.256)
สรุปผล: ผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/เอดส์ ที่ได้รับยาทางไปรษณีย์มีความร่วมมือในการใช้ยาหลังรับยาทางไปรษณีย์ที่ 6 เดือนสูงขึ้นและเพิ่มสัดส่วนของการยับยั้งไวรัสในระดับที่ไม่สามารถตรวจวัดได้
เอกสารอ้างอิง
Centers for Disease Control (CDC). Pneumocystis pneumonia--Los Angeles. MMWR Morb Mortal Wkly Rep. 1981;30(21):250-2. PMID: 6265753.
UNAIDS. People living with HIV [Internet]. Geneva: Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS); 2014 [cited 2022 Dec 12]. Available from: https://www.unaids.org/en/resources/documents/2014/peoplelivingwithhiv
The Global Fund to Fight AIDS, Tuberculosis and Malaria. The impact of COVID-19 on HIV, TB and malaria services and systems for health: a snapshot from 502 health facilities across Africa and Asia [Internet]. Geneva: The Global Fund; 2021 [cited 2023 Jun 16]. Available from: https://reliefweb.int/attachments/043aff8c-5dc3-3be4-b9f2-fd8ecb084e4b/covid-19_2020-disruption-impact_report_en.pdf
Jewell BL, Mudimu E, Stover J, Ten Brink D, Phillips AN, Smith JA, et al. Potential effects of disruption to HIV programmes in sub-Saharan Africa caused by COVID-19: results from multiple mathematical models. Lancet HIV. 2020;7(9):e629-40. doi: 10.1016/S2352-3018(20)30211-3.
Schmittdiel JA, Karter AJ, Dyer WT, Chan J, Duru OK. Safety and effectiveness of mail order pharmacy use in diabetes. Am J Manag Care. 2013;19(11):882-7. PMID: 24511986.
Castelino S, Miah H, Auyeung V, Vogt F. Determination of the influence of home delivery of HIV therapy on virological outcomes and adherence. Int J STD AIDS. 2015;26(2):93-7. doi: 10.1177/0956462414530887.
Ridgway JP, Friedman EE, Choe J, Nguyen CT, Schuble T, Pettit NN. Impact of mail order pharmacy use and travel time to pharmacy on viral suppression among people living with HIV. AIDS Care. 2020;32(11):1372-78. doi: 10.1080/09540121.2020.1757019.
Hoke T, Bateganya M, Toyo O, Francis C, Shrestha B, Philakone P, et al. How home delivery of antiretroviral drugs ensured uninterrupted HIV treatment during COVID-19: experiences from Indonesia, Laos, Nepal, and Nigeria. Glob Health Sci Pract. 2021;9(4):978-89. doi: 10.9745/GHSP-D-21-00168.
National Institutes of Health. Office of AIDS Research. Glossary of HIV/AIDS-related terms. 9th edition [Internet]. Rockville: National Institutes of Health; 2021 [cited 2022 Dec 12]. Available from: https://clinicalinfo.hiv.gov/sites/default/files/glossary/Glossary-English_HIVinfo.pdf
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์; 2557.
Kvarnström K, Westerholm A, Airaksinen M, Liira H. Factors contributing to medication adherence in patients with a chronic condition: a scoping review of qualitative research. Pharmaceutics. 2021; 13(7):1100. doi: 10.3390/pharmaceutics13071100.
Nurfalah F, Yona S, Waluyo A. The relationship between HIV stigma and adherence to antiretroviral (ARV) drug therapy among women with HIV in Lampung, Indonesia. Enfermería Clínica. 2019;29(Suppl 2):234-7. doi: 10.1016/j.enfcli.2019.04.138.
Buscher A, Hartman C, Kallen MA, Giordano TP. Impact of antiretroviral dosing frequency and pill burden on adherence among newly diagnosed, antiretroviral-naive HIV patients. Int J STD AIDS. 2012;23(5):351-5. doi: 10.1258/ijsa.2011.011292.
สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยการเฝ้าระวังการระบาดการกลายพันธ์เชื้อโควิด-19 พบสายพันธุ์เดลต้า 76 จังหวัดในประเทศไทยแล้ว ขณะที่ กทม.พบมากถึง 95.4% [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://msto.dmsc.moph.go.th/login/showimgdetil.php?id=329
Fernandes A, Brito AM, Mendes T, Alcobi A. Effect of COVID-19 pandemic on antiretroviral therapy adherence. Eur J Hosp Pharm. 2021;28(Suppl 1):A109. doi: 10.1136/ejhpharm-2021-eahpconf.224
Moyle G. The assessing patients' preferred treatments (APPT-1) study. Int J STD AIDS. 2003;14(Suppl 1):34-6. doi: 10.1258/095646203322491860.
Trotta MP, Ammassari A, Cozzi-Lepri A, Zaccarelli M, Castelli F, Narciso P, et al. Adherence to highly active antiretroviral therapy is better in patients receiving non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor-containing regimens than in those receiving protease inhibitor-containing regimens. AIDS. 2003;17(7):1099-102. doi: 10.1097/00002030-200305020-00026.
Altice F, Evuarherhe O, Shina S, Carter G, Beaubrun AC. Adherence to HIV treatment regimens: systematic literature review and meta-analysis. Patient Prefer Adherence. 2019;13:475-90. doi: 10.2147/PPA.S192735.
Milward de Azevedo Meiners MM, Araújo Cruz I, de Toledo MI. Adherence to antiretroviral therapy and viral suppression: analysis of three periods between 2011 and 2017 at an HIV-AIDS center, Brazil. Front Pharmacol. 2023;14:1122018. doi: 10.3389/fphar.2023.1122018.
Osterberg L, Blaschke T. Adherence to medication. N Engl J Med. 2005;353(5):487-97. doi: 10.1056/NEJMra050100.
ประจักร เหิกขุนทด. การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลส่องดาว. วารสารโรคเอดส์ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 ธ.ค. 2565];33(3):151-64. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiAIDSJournal/article/view/251643
Castelino S, Hurley L, Malavasi T, Oborne CA. Offering a home delivery service for HIV medication can increase patient choice. Pharmacy in Practice [Internet]. 2009 [cited 2023 Sep 10];19(1):35-8. Available from: http://www.pharmacyinpractice.com/archive/2009-volume-19-issue-1/7-PIP-Original-research-JanFeb09.pdf
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ