การพัฒนาระบบกำกับติดตามการใช้ยาสมเหตุผลโดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด

ผู้แต่ง

  • พัชฎาพร เสาทอง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
  • ผการัตน์ แสงกล้า กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
  • เนตรนภา ตรีนิติ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์

คำสำคัญ:

คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด, การใช้ยาสมเหตุผล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรงพยาบาลสุรินทร์บรรลุเป้าหมายเป็นโรงพยาบาลใช้ยาสมเหตุผลระดับ 1 ในปี 2559 และระดับ 2 ในปีงบประมาณ 2560-2564 จึงต้องมีการพัฒนากลยุทธ์ต่อไปให้บรรลุเป้าหมายเป็นโรงพยาบาลใช้ยาสมเหตุผลระดับ 3

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบกำกับติดตามการใช้ยาสมเหตุผลที่โรงพยาบาลสุรินทร์ โดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดและศึกษาผลลัพธ์การดำเนินการ

วิธีวิจัย: การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด ระยะเวลาศึกษา 2 ปี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565) แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนากลยุทธ์ภายใต้กลไก PLEASE 3) การดำเนินการและติดตามผล 4) ประเมินผลลัพธ์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังการพัฒนาด้วย chi-squared และ t-test

ผลการวิจัย: พบปัญหาการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย การสื่อสารนโยบายลงสู่ผู้ปฏิบัติ ขาดระบบกำกับติดตามที่ชัดเจนโดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด จึงพัฒนากลยุทธ์ที่เจาะจงตามบริบทและมีระบบกำกับติดตาม พบว่าก่อนพัฒนามีตัวชี้วัดไม่ผ่าน 5 ใน 12 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 41.7) หลังพัฒนาผ่านเกณฑ์ 12/12 คิดเป็นร้อยละ 100 โดยการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคทางเดินหายใจส่วนบน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน และแผลสดอุบัติเหตุจากร้อยละ 29.9, 22.3, 41.1 ลดลงเป็นร้อยละ 8.4,14.2 และ 38.6 ตามลำดับ ส่วนการใช้ยา metformin ในผู้ป่วยเบาหวานและการใช้ inhaled corticosteroids ในผู้ป่วยโรคหืดเรื้อรังเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.2, 78.3 เป็น 83.9 และ 82.1 ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ส่งผลให้โรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นโรงพยาบาลใช้ยาสมเหตุผลระดับ 3

สรุปผล: การพัฒนาระบบกำกับติดตามด้วยกลยุทธ์เจาะจงตามบริบทโดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลสุรินทร์ ประสบความสำเร็จภายในเวลา 2 ปี ส่งผลให้ได้เป็นโรงพยาบาลใช้ยาสมเหตุผลระดับ 3

ประวัติผู้แต่ง

พัชฎาพร เสาทอง, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์

ภ.ม.

ผการัตน์ แสงกล้า, กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์

พ.บ.

เนตรนภา ตรีนิติ, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์

ภ.ม.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Promoting rational use of medicines: core components [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2002 [cited 2023 Oct 26]. Available from: https://iris.who.int/handle/10665/67438

กระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แผนงานบูรณาการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2561 [สืบค้นเมื่อ 26 มิ.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.nhso.go.th/storage/files/841/nhso_BudgetDefend/nhso_2018/nhso_62budgetdefend03.pdf

World Health Organization. Progress in the rational use of medicines [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2007 [cited 2023 Oct 26]. Available from: https://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA60/A60_24-en.pdf

นพคุณ ธรรมธัชอารี, นุชรินทร์ โตมาชา, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2565 [สืบค้นเมื่อ 26 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5738

ชัยรัตน์ ฉายากุล, สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ, พาขวัญ ปุณณุปูรต, ผุสดี ปุจฉาการ, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช, วินัย วนานุกูล และคณะ. การวิจัยเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2560 [สืบคืนเมื่อ 3 มิ.ย. 2567]. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4896?locale-attribute=th

รุ่งทิวา หมื่นปา, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช. การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2559 [สืบค้นเมื่อ 26 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=209

ชัยรัตน์ ฉายากุล, พิสนธิ์ จงตระกูล, วินัย วนานุกูล, พาขวัญ ปุณณุปูรต, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, กิติยศ ยศสมบัตร และคณะ. คู่มือการดำเนินการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use manual) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2558 [สืบค้นเมื่อ 26 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://ndp.fda.moph.go.th/rational-drug-use/rdu-manual/

Ciccarello C, Leber MB, Leonard MC, Nesbit T, Petrovskis MG, Pherson E, et al. ASHP guidelines on the Pharmacy and Therapeutics Committee and the Formulary System. Am J Health Syst Pharm. 2021;78(10):907-18. doi: 10.1093/ajhp/zxab080.

สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2566 [สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2567]. สืบค้นจาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2024/03/kpi_template_edit.pdf

Khangtragool A, Nukompun K, Teeyasuntranonn A, Wannasiri P, Moraray S, Khangtragool W. Evaluation of rational drug use based on World Health Organization indicators in a tertiary hospital, Thailand. Pharm Sci Asia. 2023;50(1):1-8. doi: 10.29090/psa.2023.01.22.317.

มลิวัลย์ จิระวิโรจน์, รุจาภา โสมาบุตร. ผลการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในโรคติดเชื้อระบบการหายใจช่วงบน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและบาดแผลสดจากอุบัติเหตุของโรงพยาบาลยโสธร. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2567];27(2);65-77. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/11466

นรากรณ์ นราธิกรณ์ฤทธิ์. ผลลัพธ์การใช้ยาปฏิชีวนะภายหลังการพัฒนากระบวนการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2567];26(1):52-61. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/issue/view/910/148

Waleekhachonloet O, Rattanachotphanit T, Limwattananon C, Thammatacharee N, Limwattananon S. Effects of a national policy advocating rational drug use on decreases in outpatient antibiotic prescribing rates in Thailand. Pharm Pract (Granada). 2021;19(1);2201. doi: 10.18549/PharmPract.2021.1.2201.

คณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2565 [สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2567]. สืบค้นจาก : https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2023/03/CKD-guideline-2565-revised-edition.pdf

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย; 2566 [สืบค้นเมื่อ 26 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.thaiendocrine.org/th/2023/08/02/แนวทางเวชปฏิบัติ-สำหรับ/

สมาคมอุุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการวินิจฉัยและบำบัดโรคหืดในผู้ใหญ่ สำหรับอายุุรแพทย์และแพทย์ทั่วไปในประเทศไทย พ.ศ. 2566 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมอุุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2566 [สืบค้นเมื่อ 3 มิ.ย. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.tst.or.th/wp-content/uploads/2023/05/Asthma-Thai-guideline-2566-PDF-final-.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18