การศึกษาความรู้เรื่องยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี
คำสำคัญ:
วาร์ฟาริน, ความรู้เรื่องวาร์ฟาริน, INR, อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วาร์ฟาริน (warfarin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ใช้รักษาและป้องกันภาวะหลอดเลือดอุดตันที่มีดัชนีการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) ซึ่งอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นภาวะคุกคามและถึงแก่ชีวิตได้ โรงพยาบาลชลบุรีมีผู้ป่วยที่มีผล INR ไม่อยู่ในเป้าหมายเป็นจำนวนมาก จากการวิเคราะห์หาสาเหตุคาดว่าความรู้เรื่องยาของผู้ป่วยอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีผลต่อผลการรักษา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับวาร์ฟารินของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชลบุรี ทั้งในด้านวิธีการใช้ยา อาการไม่พึงประสงค์จากยา และการปฏิบัติตนเมื่อใช้ยา และ ศึกษาเปรียบเทียบคะแนนความรู้เกี่ยวกับการใช้วาร์ฟารินของผู้ป่วยที่มีปัจจัยต่าง ๆ แตกต่างกัน
วิธีวิจัย: งานวิจัยแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชลบุรีที่ได้รับวาร์ฟาริน จำนวน 266 คน เก็บข้อมูลพื้นฐานและความรู้เรื่องวาร์ฟารินของผู้ป่วยโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วย และรวบรวมข้อมูลทางห้องปฏิบัติการจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลชลบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ independent t test, one-way ANOVA และ Bonferroni post hos test
ผลการศึกษา: พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องวาร์ฟารินของผู้ป่วยเท่ากับ 14.76 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.09) จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ข้อคำถามที่ผู้ป่วยตอบได้คะแนนมากที่สุดคือ การปฏิบัติตนในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือมีบาดแผล ข้อคำถามที่ผู้ป่วยตอบได้คะแนนน้อยที่สุดคือ อาการผิดปกติเมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ผู้ป่วยที่มีปัจจัยแตกต่างกันทางด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา ขนาดของวาร์ฟารินที่รับประทานต่อสัปดาห์ ระยะเวลาที่รับวาร์ฟาริน และการเคยได้รับวาร์ฟารินหลายขนาด มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องวาร์ฟารินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ไม่แตกต่างกันในผู้ป่วยที่มีค่า INR และ %TTR แตกต่างกัน
สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชลบุรีที่ได้รับวาร์ฟารินมีคะแนนความรู้เรื่องวาร์ฟารินเฉลี่ยเท่ากับ 14.76 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน และผู้ป่วยที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีคะแนนความรู้เรื่องวาร์ฟารินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
เอกสารอ้างอิง
กรรณิกา เหมือนจันทร์แจ่ม. ขนาดยาวาร์ฟารินที่เหมาะสมและปัจจัยทางคลินิกที่มีผลต่อขนาดยาวาร์ฟารินในขนาดคงที่ ที่โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 17 ต.ค. 2564];5(1):18-29. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/240517
นิตย์สุภา วัฒนชัย, สุทธิดา แก้วมุงคุณ. เภสัชวิทยาและปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของยาวาร์ฟาริน. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 22 พ.ย. 2564];32(2):189-99. สืบค้นจาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/85012
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2554.
สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ. Commom pitfall in warfarin management [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2559 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ค. 2564]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=173
Baker JW, Pierce KL, Ryals CA. INR goal attainment and oral anticoagulation knowledge of patients enrolled in an anticoagulation clinic in a Veterans Affairs medical center. J Manag Care Pharm. 2011;17(2):133-42. doi: 10.18553/jmcp.2011.17.2.133.
สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ และชมรมเภสัชกรโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน. นนทบุรี: สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2551.
Li X, Sun S, Wang Q, Chen B, Zhao Z, Xu X. Assessment of patients' warfarin knowledge and anticoagulation control at a joint physician- and pharmacist-managed clinic in China. Patient Prefer Adherence. 2018;12:783-91. doi: 10.2147/PPA.S156734.
Praxedes MF, de Abreu MH, Paiva SM, Mambrini JV, Marcolino MS, Martins MA. Assessment of psychometric properties of the Brazilian version of the oral anticoagulation knowledge test. Health Qual Life Outcomes. 2016;14:96. doi: 10.1186/s12955-016-0498-3.
ปฐวี โลหะรัตนากร, พลอยไพลิน ฤทธิบุญ, ยุวธิดา หงส์ริญญา, มณีพิมา ไชยชุน, สุเทพ ทักษิณาเจนกิจ, วีรวรรณ อุชายภิชาติ. ความรู้ในการใช้ยาวาร์ฟารินและการควบคุม International normalized ratio เป้าหมายของผู้ป่วยนอกศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 17 ต.ค. 2564];31(3):257-65. สืบค้นจาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/58467
ศิระยา เล็กเจริญ, ภูรี อนันตโชติ. การประเมินผลลัพธ์ของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรแก่ผู้ป่วยที่รับประทานยาวาร์ฟาริน ณ โรงพยาบาล สมุทรปราการ. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 17 ต.ค. 2564];6(2):91-9. สืบค้นจาก: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/2542
สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล, อังคณา ช่วยชัย, ศิวกร บันลือพืช, ภาธร บรรณโศภิษฐ์, สิรปภา มาตมูลตรี, วรรณดี คงเทพ. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มีค่า INR นอกช่วงการรักษาโดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Walailak Procedia [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 พ.ย. 2564];2019(4):HS.144. สืบค้นจาก: https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/6607
Yahaya AHM, Hassali MA, Awaisu A, Shafie AA. Factors associated with warfarin therapy knowledge and anticoagulation control among patients attending a warfarin clinic in Malaysia. J Clin Diagn Res. 2009;3(4):1663-70. doi: 10.7860/JCDR/2009/.550.
Hu A, Chow CM, Dao D, Errett L, Keith M. Factors influencing patient knowledge of warfarin therapy after mechanical heart valve replacement. J Cardiovasc Nurs. 2006;21(3):169-75. doi: 10.1097/00005082-200605000-00003.
Cao H, Wu T, Chen W, Fu J, Xia X, Zhang J. The effect of warfarin knowledge on anticoagulation control among patients with heart valve replacement. Int J Clin Pharm. 2020;42(3):861-70. doi: 10.1007/s11096-020-01043-y.
ประภัสสร ขุนพรหม. ความรู้ความร่วมมือในการใช้ยาวาร์ฟารินต่อการควบคุมค่าการแข็งตัวของ เลือดของผู้ป่วย ในคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2566];3(3):28-38. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/HSJT/article/view/251014/
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ