การจัดทำตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ (ยา) สำหรับโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
บริหารเวชภัณฑ์, ตัวชี้วัด, ประสิทธิภาพ, เภสัชกรรมโรงพยาบาล, คัดเลือก, ประมาณการ, จัดซื้อ, เก็บสำรอง, กระจายบทคัดย่อ
ความเป็นมา งานบริหารเวชภัณฑ์เป็นหนึ่งในงานหลักของงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล ที่ต้องใช้ทักษะและความรู้ของเภสัชกร และยังต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบด้านจัดซื้อจัดจ้างที่กำหนด กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) มุ่งเน้นพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและกฎระเบียบที่สำคัญจึงจำเป็นต้องทบทวนตัวชี้วัดสำหรับการบริหารเวชภัณฑ์
วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำตัวชี้วัดงานบริหารเวชภัณฑ์ยาที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลสังกัด สป.สธ. ซึ่งตอบสนองต่อนโยบายและกฎระเบียบปัจจุบันของไทย
วิธีวิจัย ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ (1) กำหนดกรอบแนวคิด (2) ทบทวนวรรณกรรมทั้งในและต่างประเทศ (3) ยกร่างตัวชี้วัดบริหารเวชภัณฑ์ทั้งในมิติด้านคุณภาพ, เวลา, การเงิน/ต้นทุน และผลิตภาพ และ (4) จัดประชุมหารือเภสัชกรกลุ่มตัวอย่าง 18 คน เพื่อกำหนดวิธีคัดเลือกโดยพิจารณาตามลำดับขั้นพร้อมกับความเป็นไปได้ของการเก็บข้อมูล และคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม
ผลการวิจัย ตัวชี้วัดที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะผู้วิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี 16 ตัว ซึ่งเป็นตัวชี้วัดในขั้นตอนคัดเลือกรายการยา 2 ตัว ประมาณการ 4 ตัว จัดซื้อ 3 ตัว เก็บและสำรอง 6 ตัว และ กระจาย 1 ตัว เมื่อแจกแจงตัวชี้วัดที่ตอบมิติด้านคุณภาพของงานมี 10 ตัว เวลา 2 ตัว การเงิน/ต้นทุน 9 ตัว และ ผลิตภาพ 6 ตัว นอกจากนี้ยังตอบนโยบายด้วย 8 ตัว
สรุปผลการวิจัย การวิจัยนี้ได้ตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ยาในโรงพยาบาล การกำกับติดตามงาน และการตอบสนองนโยบายที่กำหนดไว้ ทั้งหมด 16 ตัวชี้วัด
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2542.
ม.ป.ก. มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2557. ม.ป.ท.; ม.ป.ป.
วรนัดดา ศรีสุพรรณ, วัยวรรธน์ บุณยมานพ, นุขน้อย ประภาโส. หลักเกณฑ์การดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข; 2563.
เกวลิน ชื่นเจริญสุข และคณะ. บทสรุปผู้บริหาร. ใน: พงษ์พจน์ ธีรานันตชัย, ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์, ภูวเดช สุระโคตร, ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, ธานินทร์ โตจีน, เกวลิน ชื่นเจริญสุข และคณะ. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2561 – 2565. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559. หน้า 3-10.
เกวลิน ชื่นเจริญสุข และคณะ. บทสรุปผู้บริหาร. ใน: ณัฏฐิณา รังสิทธุ์, วราภรณ์ อ่ำช้าง, ชุตินารถ ทัศจันทร์. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560. หน้า 1-2.
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 24 ก (ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560). สืบค้นจาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2100153.pdf
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2566]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 210 ง (ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2560). สืบค้นจาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2117212.pdf
กระทรวงการคลัง. กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนที่ 8 ก (ลงวันที่ 29 ม.ค. 2563). สืบค้นจาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17117175.pdf
คณะรัฐมนตรี. มอบหมายหน่วยงานจัดทำบัญชีนวัตกรรมไทย. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/33334 ลงวันที่ 23 กันยายน 2558 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.nstda.or.th/innovation/wp-content/uploads/2023/01/มติ-ครม-22กย58-เห็นชอบมอบหมายหน่วยงาน.pdf
คณะรัฐมนตรี. การให้สิทธิพิเศษแก่ผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว 356 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.nstda.or.th/innovation/wp-content/uploads/2023/01/มติ-ครม-6พย58-ให้สิทธิพิเศษสินค้าบัญชี.pdf
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว 219 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.nstda.or.th/innovation/wp-content/uploads/2023/01/ข้อสั่งการสนับสนุนสินค้าและบริการในบัญชีนวัตกรรมไทย.pdf
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. ระเบียบคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การคัดเลือกและวิธีการจัดซื้อยาที่เป็นวัคซีนที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 186 ง (ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2563). สืบค้นจาก https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17139737.pdf
เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์ และกิตติภัค เจ็งฮั้ว. การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ระดับประเทศ. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2562.
World Health Organization. Harmonized monitoring and evaluation indicators for procurement and supply management systems: early-warning indicators to prevent stock-outs and overstocking of antiretroviral, antituberculosis and antimalarial medicines. Geneva: World Health Organization; 2011.
The United States Agency for International Development. Measuring supply chain performance guide to key performance indicators for public health managers. Virginia: John Snow; 2010.
Management Sciences for Health (MSH). MDS-3: managing access to medicines and health technologies. Virginia: Management Sciences for Health; 2012.
Frazelle E. Logistics performance cost, and value measures. In: Frazelle E. Supply chain strategy: the logistics of supply chain management. New York: McGraw-Hill; 2001. p. 38-63.
Embrey M. Chapter 1 Towards sustainable to medicines. In: MDS-3: Managing access to medicines and health technologies [Internet]. Arlington, VA: Management Sciences for Health Inc.; 2012 [cited 2023 Dec 20]. p. 1.1-1.19. Available from: https://msh.org/resources/mds-3-managing-access-to-medicines-and-health-technologies/
Keebler J, Manrodt K, Durtsche D, Ledyard D. Keeping score: measuring the value of logistics in the supply chain. Chicago: Council of Logistics Management; 1999.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ