การจัดทำตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ (ยา) สำหรับโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • วรนัดดา ศรีสุพรรณ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • ชุติมา อรรคลีพันธุ์ กองบริหารการสาธารณสุข และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
  • วิไลลักษณ์ แสงศรี สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

บริหารเวชภัณฑ์, ตัวชี้วัด, ประสิทธิภาพ, เภสัชกรรมโรงพยาบาล, คัดเลือก, ประมาณการ, จัดซื้อ, เก็บสำรอง, กระจาย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา งานบริหารเวชภัณฑ์เป็นหนึ่งในงานหลักของงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล ที่ต้องใช้ทักษะและความรู้ของเภสัชกร และยังต้องดำเนินการให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบด้านจัดซื้อจัดจ้างที่กำหนด กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) มุ่งเน้นพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2542 แต่ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและกฎระเบียบที่สำคัญจึงจำเป็นต้องทบทวนตัวชี้วัดสำหรับการบริหารเวชภัณฑ์

วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำตัวชี้วัดงานบริหารเวชภัณฑ์ยาที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลสังกัด สป.สธ. ซึ่งตอบสนองต่อนโยบายและกฎระเบียบปัจจุบันของไทย

วิธีวิจัย ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ (1) กำหนดกรอบแนวคิด (2) ทบทวนวรรณกรรมทั้งในและต่างประเทศ (3) ยกร่างตัวชี้วัดบริหารเวชภัณฑ์ทั้งในมิติด้านคุณภาพ, เวลา, การเงิน/ต้นทุน และผลิตภาพ และ (4) จัดประชุมหารือเภสัชกรกลุ่มตัวอย่าง 18 คน เพื่อกำหนดวิธีคัดเลือกโดยพิจารณาตามลำดับขั้นพร้อมกับความเป็นไปได้ของการเก็บข้อมูล และคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม

ผลการวิจัย ตัวชี้วัดที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะผู้วิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี 16 ตัว ซึ่งเป็นตัวชี้วัดในขั้นตอนคัดเลือกรายการยา 2 ตัว ประมาณการ 4 ตัว จัดซื้อ 3 ตัว เก็บและสำรอง 6 ตัว และ กระจาย 1 ตัว เมื่อแจกแจงตัวชี้วัดที่ตอบมิติด้านคุณภาพของงานมี 10 ตัว เวลา 2 ตัว การเงิน/ต้นทุน 9 ตัว และ ผลิตภาพ 6 ตัว นอกจากนี้ยังตอบนโยบายด้วย 8 ตัว

สรุปผลการวิจัย การวิจัยนี้ได้ตัวชี้วัดสำหรับการพัฒนางานบริหารเวชภัณฑ์ยาในโรงพยาบาล การกำกับติดตามงาน และการตอบสนองนโยบายที่กำหนดไว้ ทั้งหมด 16 ตัวชี้วัด

ประวัติผู้แต่ง

วรนัดดา ศรีสุพรรณ, กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)

ชุติมา อรรคลีพันธุ์, กองบริหารการสาธารณสุข และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก), PhD (Health Policy)

วิไลลักษณ์ แสงศรี, สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

BSc European Public Health

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2542.

ม.ป.ก. มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2557. ม.ป.ท.; ม.ป.ป.

วรนัดดา ศรีสุพรรณ, วัยวรรธน์ บุณยมานพ, นุขน้อย ประภาโส. หลักเกณฑ์การดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข; 2563.

เกวลิน ชื่นเจริญสุข และคณะ. บทสรุปผู้บริหาร. ใน: พงษ์พจน์ ธีรานันตชัย, ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์, ภูวเดช สุระโคตร, ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, ธานินทร์ โตจีน, เกวลิน ชื่นเจริญสุข และคณะ. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2561 – 2565. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559. หน้า 3-10.

เกวลิน ชื่นเจริญสุข และคณะ. บทสรุปผู้บริหาร. ใน: ณัฏฐิณา รังสิทธุ์, วราภรณ์ อ่ำช้าง, ชุตินารถ ทัศจันทร์. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560. หน้า 1-2.

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 24 ก (ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560). สืบค้นจาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2100153.pdf

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 [สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2566]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 210 ง (ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2560). สืบค้นจาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/2117212.pdf

กระทรวงการคลัง. กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนที่ 8 ก (ลงวันที่ 29 ม.ค. 2563). สืบค้นจาก: https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17117175.pdf

คณะรัฐมนตรี. มอบหมายหน่วยงานจัดทำบัญชีนวัตกรรมไทย. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/33334 ลงวันที่ 23 กันยายน 2558 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.nstda.or.th/innovation/wp-content/uploads/2023/01/มติ-ครม-22กย58-เห็นชอบมอบหมายหน่วยงาน.pdf

คณะรัฐมนตรี. การให้สิทธิพิเศษแก่ผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมที่อยู่ในบัญชีนวัตกรรมไทย. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว 356 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.nstda.or.th/innovation/wp-content/uploads/2023/01/มติ-ครม-6พย58-ให้สิทธิพิเศษสินค้าบัญชี.pdf

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/ว 219 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2560 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.nstda.or.th/innovation/wp-content/uploads/2023/01/ข้อสั่งการสนับสนุนสินค้าและบริการในบัญชีนวัตกรรมไทย.pdf

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. ระเบียบคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์การคัดเลือกและวิธีการจัดซื้อยาที่เป็นวัคซีนที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 [สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2567]. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 186 ง (ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2563). สืบค้นจาก https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17139737.pdf

เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์ และกิตติภัค เจ็งฮั้ว. การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพระบบบริหารเวชภัณฑ์ระดับประเทศ. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2562.

World Health Organization. Harmonized monitoring and evaluation indicators for procurement and supply management systems: early-warning indicators to prevent stock-outs and overstocking of antiretroviral, antituberculosis and antimalarial medicines. Geneva: World Health Organization; 2011.

The United States Agency for International Development. Measuring supply chain performance guide to key performance indicators for public health managers. Virginia: John Snow; 2010.

Management Sciences for Health (MSH). MDS-3: managing access to medicines and health technologies. Virginia: Management Sciences for Health; 2012.

Frazelle E. Logistics performance cost, and value measures. In: Frazelle E. Supply chain strategy: the logistics of supply chain management. New York: McGraw-Hill; 2001. p. 38-63.

Embrey M. Chapter 1 Towards sustainable to medicines. In: MDS-3: Managing access to medicines and health technologies [Internet]. Arlington, VA: Management Sciences for Health Inc.; 2012 [cited 2023 Dec 20]. p. 1.1-1.19. Available from: https://msh.org/resources/mds-3-managing-access-to-medicines-and-health-technologies/

Keebler J, Manrodt K, Durtsche D, Ledyard D. Keeping score: measuring the value of logistics in the supply chain. Chicago: Council of Logistics Management; 1999.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13