ระดับความดันโลหิตและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรับยาต่อเนื่องที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นกับคลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลปากช่องนานา

ผู้แต่ง

  • มิรันตี จงเจือกลาง กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปากช่องนานา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, ร้านยาชุมชนอบอุ่น, ความร่วมมือในการใช้ยา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรงพยาบาลปากช่องนานาได้ดำเนินโครงการลดความแออัดรับยาที่ร้านยา (โมเดล 1) เมื่อ 1 มกราคม 2563 โดยเริ่มในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่สมัครใจและผ่านเกณฑ์ประเมินจากแพทย์ เภสัชกรร้านยามีบทบาทในการดูแลเรื่องยาและติดตามระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยทุก 2 เดือน

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบระดับความดันโลหิต และความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นกับรับยาที่คลินิกความดันโลหิตสูง

วิธีวิจัย: เป็นการศึกษาเชิง intervention รูปแบบ prospective cohort study โดยผู้ป่วยเลือกสถานที่รับยาต่อเนื่องเอง รวบรวมข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิก ผลการควบคุมความดันโลหิตค่าบน (SBP) และค่าล่าง (DBP) และความร่วมมือในการใช้ยาในระยะเวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ multivariable gaussian regression

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องที่ร้านยาชุมชนอบอุ่นมีแนวโน้มว่ามีความดันโลหิตค่าบนไม่เกิน 140 mmHg และความดันโลหิตค่าล่างไม่มากกว่า 90 mmHg ส่วนความร่วมมือในการใช้ยาที่ประเมินด้วยตนเองและนับเม็ดยาดีกว่าการรับยาที่โรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value <0.001 และ 0.018 ตามลำดับ)

สรุปผล: ผู้ป่วยรับยาร้านยาชุมชนอบอุ่นสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายและให้ความร่วมมือในการใช้ยาได้ดีกว่าผู้ป่วยรับยาที่คลินิกความดันโลหิตสูง

ประวัติผู้แต่ง

มิรันตี จงเจือกลาง, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลปากช่องนานา

ภ.บ., ภ.ม.(เภสัชกรรมชุมชน)

เอกสารอ้างอิง

อนันต์ชัย อัศวเมฆิน. นโยบายลดความแออัด ลดการรอคอย ในโรงพยาบาล แค่รับยาที่ร้านขายยาจริงหรือ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ; 2562 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ค. 2563]. สืบค้นจาก: https://www.hfocus.org/content/2019/10/17865

วิภาวี ชาดิษฐ์, เยาวลักษณ์ อ่ำรำไพ. ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่อคุณภาพบริการแผนกจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ค. 2563];10(1):161-77. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/85396

ชาฮีดา วิริยาทร, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, กัญจนา ติษยาธิคม, วลัยพร พัชรนฤมล, สุพล ลิมวัฒนานนท์, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, และคณะ. การใช้บริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ในสถานพยาบาลประเภทต่างๆ ของประชากรไทย พ.ศ. 2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ค. 2563];11(2):155-69. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4733?locale-attribute=th

วิวรรธน์ อัครวิเชียร, ดวงทิพย์ หงษ์สมุทร, ชาญชัย จารภาชน์, พิมลศรี แสงคาร์. กิจกรรมที่สะท้อนคุณภาพงานบริการเภสัชกรรมและความพึงพอใจต่อบริการร้านยาในเครือข่ายประกันสุขภาพ: กรณีศึกษาคลินิกชุมชนอบอุ่นมหาชัย นครราชสีมา. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ค. 2563];17(ฉบับเพิ่มเติม 6):SVI1810-21. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/5353

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา. คู่มือการดำเนินงานโครงการลดความแออัดของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข. นครราชสีมา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9; 2562.

ระบบรายงานมาตรฐาน (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตามตัวชี้วัด NCDPlus ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ค. 2563]. สืบค้นจาก: https://hdc.moph.go.th/nma/public/standard-report-0.detail/2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9 (ต้องมีรหัสผ่าน)

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย; 2562 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ค. 2563]. สืบค้นจาก: https://www.thaihypertension.org/hypertensiondetail.php?n_id=442

กรมสุขภาพจิตและชมรมเภสัชกรจิตเวช. คู่มือแนวทางการดำเนินงานการกระจายผู้ป่วยจิตเวชรับยาที่ร้านขายยา สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิตและโรงพยาบาลแม่ข่าย (การเชื่อมโยงการพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยจิตเวชในระดับปฐมภูมิ) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2562 [สืบค้นเมื่อ 11 ก.ค. 2563]. สืบค้นจาก: http://pharmcare.dmh.go.th/download/MANUAL_PHARMCARE-TRANSITION.pdf

พะยอม สุขเอนกนันท์, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, บุษบา โทวรรณา, รัตนา เสนาหนอก, พีรยา สมสะอาด, อุกฤษฎ์ สนหอม, และคณะ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเรื้อรังที่รับยาต่อเนื่องระหว่างร้านยาคุณภาพ และศูนย์แพทย์ชุมชน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2564];6(1):100-11. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3516?locale-attribute=th

ระพีพรรณ ฉลองสุข, สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย, วิชัย สันติมาลีวรกุล. การศึกษาเปรียบเทียบระบบบริการจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลกับที่ร้านยาคุณภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2564];1(3-4):249-61. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/88?locale-attribute=th

Colvin NN, Mospan CM, Buxton JA, Waggett JD, Gillette C. Using Indian Health Service (IHS) counseling techniques in an independent community pharmacy to improve adherence rates among patients with diabetes, hypertension, or hyperlipidemia. J Am Pharm Assoc (2003). 2018;58(4S):S59-63.e2. doi: 10.1016/j.japh.2018.04.024.

Li Y, Liu G, Liu C, Wang X, Chu Y, Li X, et al. Effects of pharmacist intervention on community control of hypertension: a randomized controlled trial in Zunyi, China. Glob Health Sci Pract. 2021;9(4):890-904. doi: 10.9745/GHSP-D-20-00505.

สุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย, นุศราพร เกษสมบูรณ์, วีระศักดิ์ พุทธาศรี, วราภรณ์ ปวงกันทา. นำเสนอรูปแบบของการนำร้านยาคุณภาพเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2564];21(3):189-202. สืบค้นจาก: http://mis.pharm.su.ac.th/web/sites/default/files/asd.pdf

กิตติยา ปิยะศิลป์, นิสรา ศรีสุระ, นุศราพร เกษสมบูรณ์, สุณี เลิศสินอุดม. ผลลัพธ์โครงการรับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ โมเดลจังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564 ];14(1):229-41. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/248807

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-20