ผลของการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ทรงศักดิ์ กุณฑลกิติเดช กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสังวาลย์

คำสำคัญ:

เภสัชกรรมทางไกล, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคเบาหวานยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดการพัฒนาระบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลขึ้น เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลต่อผลการรักษา (ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C)) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา ความร่วมมือในการใช้ยา และปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบกึ่งทดลองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 45 คน รวบรวมข้อมูลเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2566 เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา แบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยา และแบบบันทึกประวัติผลการรักษาและปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน (paired-sample t-test) เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล

ผลการศึกษา: หลังให้บริการเภสัชกรรมทางไกลพบว่าค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) เฉลี่ยลดลงจาก 9.44±1.95 เป็น 8.64±1.56 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา (20 คะแนน) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 14.95±2.05 เป็น 18.00±1.16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ค่าคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา (8 คะแนน) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 6.43±1.56 เป็น 6.70±1.27 แต่ไม่แตกต่างกัน ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาร้อยละ 81.5 เป็นปัญหาด้านประสิทธิภาพการรักษา อีกร้อยละ 16.7 เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ส่วนสาเหตุของปัญหา ร้อยละ 37.9 คือการลืมใช้ยา หยุดหรือปรับลดขนาดยาเอง อีกร้อยละ 24.2 คือ ขาดการควบคุมด้านอาหาร และร้อยละ 12.2 คือ เวลาการบริหารยาไม่เหมาะสม

สรุป: การให้บริการเภสัชกรรมทางไกลช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาเพิ่มขึ้น ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยได้รับการติดตามและแก้ไข ส่งผลให้ค่าน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงแต่ไม่ถึงเกณฑ์เป้าหมายที่วางไว้

ประวัติผู้แต่ง

ทรงศักดิ์ กุณฑลกิติเดช, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีสังวาลย์

ภ.บ., ส.ม.

เอกสารอ้างอิง

International Diabetes Federation. Diabetes around the world in 2021. [Internet]. Brussels: International Diabetes Federation; 2021 [cited 2023 May 3]. Available from: https://diabetesatlas.org/

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี2560-2564). [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.ddc.moph.go.th/dncd/forecast_detail.php?publish=13744

กรมควบคุมโรค. สำนักสื่อสารและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. รณรงค์วันเบาหวานโลก 2566 มุ่งเน้นให้ความรู้ประชาชนถึงความเสี่ยงโรคเบาหวานและหากตรวจพบก่อนจะลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2566 [สืบค้นเมื่อ 14 พ.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=38403&deptcode=brc

โรงพยาบาลศรีสังวาลย์. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม. ข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ปีงบประมาณ 2564-2565. แม่ฮ่องสอน: โรงพยาบาลศรีสังวาลย์; 2565.

โรงพยาบาลศรีสังวาลย์. กลุ่มงานเภสัชกรรม. รายงานบริหารเวชภัณฑ์ ปีงบประมาณ 2564-2565. แม่ฮ่องสอน: โรงพยาบาลศรีสังวาลย์; 2565.

วนิดา พงษ์ศักดิ์ชาติ. การคำนวณหาขนาดตัวอย่างเพื่องานวิจัย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2563 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://thaimed.buu.ac.th/public/backend/upload/thaimed.buu.ac.th/document/file/document161717461088510200.pdf

ปริตตา ไชยมล, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. ผลของการให้ความรู้โดยเภสัชกรร่วมกับการใช้ภาพถ่ายแสดงวิธีการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566];9(2):475-88. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/170882/122810

Morisky DE, Ang F, Krousel-Wood M, Ward HJ. Predictive validity of a medication adherence measure in an outpatient setting. J Clin Hypertens. 2008;10(5):348-54. doi: 10.1111/j.1751-7176.2008.07572.x.

Sakthong P, Chabunthom R, Charoenvisuthiwong R. Psychometric properties of the Thai version of the 8-item morisky medication adherence scale in patients with type 2 diabetes. Ann Pharmacother. 2009;43(5):950-7. doi: 10.1345/aph.1l453.

รจเรศ หาญรินทร์. การจัดประเภทของปัญหาเกี่ยวกับยา. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566];1:84-96. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/168324/121118

Pharmaceutical Care Network Europe Association. PCNE classification for drug-related problems V9.1 [Internet]. Zuidlaren: Pharmaceutical Care Network Europe Association; 2020 [cited 2023 May 15]. Available from: https://www.pcne.org/upload/files/417_PCNE_classification_V9-1_final.pdf

สภาเภสัชกรรม. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง. การอบรมระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริบาลทางเภสัชกรรม (สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก) รุ่นที่ 8 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สภาเภสัชกรรม; 2560 [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=1261

สภาเภสัชกรรม. ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 62/2565 เรื่อง แนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy) ประกาศ ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สภาเภสัชกรรม; 2565 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=68&itemid=2966&catid=0

อัญชนา พืดขุนทด. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน โรงพยาบาลบ้านด่าน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566];38(1):237-46. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/262536/179189

Wang W, Geng L, Sun C, Li H, Wang J. Efficacy of pharmaceutical care in patients with type 2 diabetes mellitus and hypertension: a randommized controlled trial. Int J Clin Pract. 2022;2022:7681404. doi: 10.1155/2022/7681404.

ภาณุ วิริยานุทัย, กฤษฎิ์ ทองบรรจบ, ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ, วิชาดา มะลิ, ชนินาถ เครือนวล. ผลการบริบาลเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566];2(2):40-58. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/258865/176864

พุทธิดา โภคภิรมย์, กรกมล รุกขพันธ์. ผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบสั้นร่วมกับการให้ความรู้และการติดตามทางโทรศัพท์โดยเภสัชกร ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566];12(4):984-96. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/190521

สุภาพร สนองเดช. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลเลย. เภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566];28(3):85-97. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/12887/10823

สิรวิชญ์ พันธนา, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรี จันทรโมลี, สุธรรม นันทมงคลชัย. การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค. 2566];6(3):1-13. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/151582/142524

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18