ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านด้านยาในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินโรงพยาบาลน้ำหนาว

ผู้แต่ง

  • วรรณวิมล เหลือล้น โรงพยาบาลน้ำหนาว

คำสำคัญ:

วาร์ฟาริน, การเยี่ยมบ้านด้านยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านด้านยาโดยเภสัชกร ทั้งผลต่อการควบคุมค่า INR อัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาวาร์ฟาริน ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ก่อนและหลังการเยี่ยมบ้านด้านยา รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการเยี่ยมบ้านด้านยาในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินอย่างน้อย 1 เดือนในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลน้ำหนาวทั้งหมดจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอาการไม่พึงประสงค์กับยาที่สงสัย (Naranjo’s algorithm) แบบประเมินความรู้และการปฏิบัติตัวซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.734 และ 0.673 ตามลำดับ รวมทั้งแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 พฤษภาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ McNemar test และ paired samples t-test กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการเยี่ยมบ้านด้านยาโดยเภสัชกร ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินมีค่า INR อยู่นอกช่วงเป้าหมายของการรักษาสูงถึงร้อยละ 73.3 หลังการเยี่ยมบ้านด้านยาโดยเภสัชกร พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินมีค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมายของการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 26.7 เป็นร้อยละ 50.0 (p = 0.032) อัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาวาร์ฟารินลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 40.0 เป็นร้อยละ 3.3 (p = 0.000) ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจาก 10.67±2.37 (คะแนนเต็ม 15) และ 31.57±2.34 (คะแนนเต็ม 36) เป็น 14.23±0.82 และ 34.80±1.06 (p = 0.000) ตามลำดับ รวมทั้งผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการเยี่ยมบ้านด้านยาโดยเภสัชกรในระดับดีมาก
สรุปผลการวิจัยนี้ การเยี่ยมบ้านด้านยาโดยเภสัชกรในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน สามารถลดการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ช่วยเพิ่มการควบคุมค่า INR และทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องมากขึ้นรวมทั้งมีความพึงพอใจ ดังนั้นควรมีการบูรณาการงานเยี่ยมบ้านด้านยาโดยเภสัชกรให้เป็นส่วนหนึ่งของคลินิกวาร์ฟาริน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยสามารถใช้ยาวาร์ฟารินได้อย่างมีประสิทธิผลและปลอดภัย

ประวัติผู้แต่ง

วรรณวิมล เหลือล้น, โรงพยาบาลน้ำหนาว

ภ.ม.

เอกสารอ้างอิง

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด.สืบค้นจาก:http://www.thaiheart.org/images/column_1292154183/warfarin_Guideline%281%29.pdf. วันที่เข้าไปสืบค้น December 12, 2019.

จตุพร ทองอิ่ม. หลักการสำหรับเภสัชกรครอบครัวในการออกเยี่ยมบ้าน. ใน:ธิดา นิงสานนท์ จตุพร ทองอิ่มและปรีชา มนทกานติกุล. บรรณาธิการ.คู่มือเภสัชกรครอบครัวและการเยี่ยมบ้าน. กรุงเทพ:สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลประเทศไทย,2556:22-23.

งานบริบาลเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี.มารู้จักยาวาร์ฟาริน (WARFARIN) กันเถอะ. 2560.สืบค้นจาก:https://www.youtube.com/watch?v=7Xn_yIn0WUo.วันที่เข้าไปสืบค้น Feb 10,2020.

Naranjo CA, Busto U, Seller EM. et al. A method for estimating the probability of adverse drug reactions.Clin PharmacolTher1981;30(2):239-45.

John W Best. Research in education. 3rd.th. New Jersy: Printice-Hall, 1970.

สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล, อังคณา ช่วยชัย, ศิวกร บันลือพืช, ภาธร บรรณโศภิษฐ์, สิรปภา มาตมูลตรี, วรรณดี คงเทพ. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มีค่า INR นอกช่วงการรักษา โดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Walailak Procedia 2019; 2019(4): 5.

จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์. โครงการติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยเริ่มยาวาร์ฟารินเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์. ใน: มณีกัลยา ชมชาญ. บรรณาธิการ. การพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิ FCPL1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2559: 99.

มันติวีร์ นิ่มวรพันธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมค่าการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยนอกที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

Ansell J. et al. The pharmacology and management of vitamin K antagonists.Chest2004; 126:204-33.

สาวิตรี ทองอาภรณ์. ความชุกการเกิดอาการไม่พึงประสงค์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกจากการใช้ยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยภาคใต้ของไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต].สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

ศิระยา เล็กเจริญ. ผลลัพธ์ของการให้คำแนะนำของเภสัชกรแก่ผู้ป่วยนอกที่รับประทานยาวาร์ฟาริน ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

นาตยา หวังนิรัติศัย, สกนธ์ สุภากุล, ภูขวัญ อรุณมานะกุล. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินของคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561; 10(1):120-28.

วันวิภา เทพารักษ์. การบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอกที่มีการควบคุมการรักษาของยาวาร์ฟารินไม่คงที่ ณ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

ปรีชญา ตาใจ. ผลการให้คำแนะนำของเภสัชกรแก่ผู้ป่วยนอกที่รับประทานยาวาร์ฟารินที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ; 2555.

สาวิตรี ทองอาภรณ์, โพยม วงศ์ภูวรักษ์, วรนุช แสงเจริญ, วิบุล วงศ์ภูวรักษ์. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟารินของผู้ป่วยในจังหวัดสงขลา. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2; 4-5 กันยายน 2555; กรุงเทพฯ. ประเทศไทย; 2555.

รัชนี ผิวผ่องและคณะ. ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถของผู้สูงอายุที่ได้รับยาวาร์ฟารินต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และภาวะเลือดออกผิดปกติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2555; 20(2): 93-110.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-01-09