สถานการณ์และโอกาสพัฒนาการจัดการระบบเภสัชกรรมของโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
สถานการณ์, ระบบยา, โรงพยาบาล, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, เภสัชกร, กำลังคนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์ สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะที่สำคัญสำหรับการพัฒนาระบบยาและระบบเภสัชกรรมจากมุมมองของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยการตอบแบบสำรวจจะตอบในนามโรงพยาบาลหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลเสนอประกอบการกำหนดแผนในการพัฒนาระบบเภสัชกรรม การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจออนไลน์ดำเนินการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 โดยโรงพยาบาลหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระบุสถานการณ์หรือสภาพปัญหาด้านยาที่สำคัญ 3 เรื่องโดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหา
โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ร่วมตอบแบบสำรวจมีทั้งหมด 353 แห่ง จากทั้งหมด 974 แห่ง (36.22%) พบว่า สถานการณ์ที่เป็นปัญหาของโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ต้องการแก้ไขมากที่สุดโดยรวม ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร (62.04%) การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ (43.63%) เภสัชปฐมภูมิ (35.41%) ความแออัด/ระยะเวลารอคอยรับยา (33.14%) และความคลาดเคลื่อนทางยา (24.65%) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหามากที่สุดคือประเด็นความก้าวหน้าบุคลากรโดยระบบการเลื่อนไหลชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ ประเด็นการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์โดยการลดขั้นตอนในกระบวนการจัดซื้อ ประเด็นความแออัดการรับยา/ระยะเวลารอคอยรับยานาน ประเด็นความคลาดเคลื่อนทางยาและประเด็นด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิ มีข้อเสนอแนะคือการขยายกรอบอัตรากำลังคนเพิ่ม
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ระบบเภสัชกรรมที่เป็นปัญหาของโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมากที่สุดคือความก้าวหน้าหรือการพัฒนาบุคคลากร การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ เภสัชปฐมภูมิ ระยะเวลารอคอยรับยา และความคลาดเคลื่อนทางยา ข้อเสนอแนะที่เป็นความเห็นส่วนมากคือ การดำเนินการเลื่อนไหลชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ การเพิ่มอัตรากำลังเภสัชกรเพิ่มมากขึ้น และการลดขั้นตอนในการจัดซื้อ
เอกสารอ้างอิง
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564 นโยบายแห่งชาติด้านยาและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://ndi.fda.moph.go.th/ndi_home
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาพัฒนาระบบบริการให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Service Plan : Rational Drug Use). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ทบทวนสภาพปัญหาและการวิจัยเกี่ยวกับระบบยาของประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2550.
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.
World Health Organization. Everybody’s business–strengthening health systems to improve health outcomes: WHO’s framework for action. Geneva: WHO; 2007.
นิลวรรณ อยู่ภักดี, พิศาลสิทธ์ ธนวุฒิ. การสํารวจกิจกรรมของเภสัชกรที่ปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2559;25(4):723-33.
Suwannaprom P, Suttajit S, Plodpai P, Prapaso N, Srisuphan V. Pharmacy workforce: a call for professional cohesion to meet the rising healthcare demand. Journal of Health Science 2020;29(Special issue):S141-52.
Ploylearmsang C, Kanjanasilp J, Kessomboon N, Suttajit S, Suwannaprom P, Sripa S, Sittichotiwong R, Srimarueang T, Sonsri S, Kittiboonyakun P. Hospital pharmacy practice and the way forward for pharmacy education in Thailand. Canadian Journal of Hospital Pharmacy. 2019;72(1):34-41.
ศิริตรี สุทธจิตต์, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม, สุนทรา เอกอนันต์กุล. กำลังคิด กำลังคน: กำลังคนเภสัชกร ในความซับซ้อนของระบบสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบยาชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ