เปรียบเทียบผลการใช้ยา remdesivir ในการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมะการักษ์ในระลอกของการระบาดของเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ delta และ omicron
คำสำคัญ:
เรมเดซิเวียร์, โควิด-19, สายพันธุ์เดลตา, สายพันธุ์โอมิครอนบทคัดย่อ
ความเป็นมา: remdesivir เป็นยาต้านไวรัสที่แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย การดูแลและป้องกันการติดเชื้อ ในโรงพยาบาล กรณีติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของกรมการแพทย์แนะนำให้ใช้รักษาผู้ป่วย โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา แต่สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยการกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 และการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นของประชาชน จึงควรประเมินผลการรักษาผู้ป่วยด้วยยานี้เพื่อทราบแนวโน้มประสิทธิภาพการรักษาและหาแนวทางการดูแลเพิ่มเติม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลทางคลินิกของผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ เดลตา และ โอมิครอน หลังได้รับยา remdesivir 7 วัน 14 วัน และเมื่อสิ้นสุดการรักษา และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษา
วิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยศึกษาย้อนหลัง เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารักษาในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมะการักษ์ ช่วงเดือนกรกฏาคม 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2565 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย chi square test , Mann-Whitney U test และ binary logistic regression
ผลการวิจัย: ผู้ป่วย 117 ราย อยู่ในช่วงการระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลตา 45 ราย ช่วงสายพันธุ์โอมิครอน 72 ราย สถานะอาการทางคลินิกในวันที่เริ่มยา remdesivir ไม่ต่างกัน ผู้ป่วยในช่วงระบาดของโอมิครอนมีจำนวนครั้งที่ได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่า อาการที่ดีขึ้นในวันที่ 7 และ 14 ของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน การหายจากโรคของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน ช่วงของการระบาดและจำนวนครั้งได้รับการฉีดวัคซีนไม่มีความสัมพันธ์ต่อการดีขึ้นและการหายจากโรค สถานะอาการทางคลินิกในวันที่เริ่มยามีความสัมพันธ์กับการหายจากโรคโดยสถานะอาการเบามีโอกาสหายมากกว่าสถานะอาการหนัก 7 เท่า
สรุปผล: ผลการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยยา remdesivir ในช่วงการระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ไม่มีความแตกต่างกัน จึงควรใช้ remdesivir ตามแนวทางที่กรมการแพทย์แนะนำต่อไป
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) overview [Internet]. WHO Worldwide 2022 [cited 2022 July 30]. Available from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1
ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์และการวิจัยและพัฒนา ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.). รายงานข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ณ วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ; 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 ก.ค. 2565]. สืบค้นจาก https://covid19.nrct.go.th/daily-report-30jun2022/
องค์การอนามัยโลก. การติดตามสายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2565 [สืบค้นเมื่อ 30 ก.ค. 2565]. สืบค้นจาก https://www.who.int/thailand/news/feature-stories/detail/tracking-SARS-CoV-2-variants
BBC News ไทย. โควิด-19: ลำดับเหตุการณ์ แผนที่ อินโฟกราฟิก ยอดติดเชื้อ-เสียชีวิตในไทยและทั่วโลก [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2565 [สืบค้นเมื่อ30 ก.ค.2565]. สืบค้นจาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-52090088
นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. ข้อมูลเปรียบเทียบวัคซีนโควิด-19 ชนิดที่องค์การอนามัยโลกรับรอง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564 [สืบค้นเมื่อ 30 ก.ค. 2565]. สืบค้นจาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/577วัคซีนโควิด-19ชนิดต่างๆ/
กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 2564 ของประเทศไทยฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอส อินเตอร์พริ้นท์; 2564
กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 25 วันที่ 29 กันยายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2565 [สืบค้นเมื่อ30 ก.ย.2565]. สืบค้นจาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=178
นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. การค้นคว้ายาต้านไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 2 : เรมเดซิเวียร์ (remdesivir) และยาอื่น [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 ก.ค. 2565]. สืบค้นจาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/487โควิด19-เรมเดซิเวียร์(remdesivir)/
US FDA. FDA approves first treatment for COVID-19 [Internet]. US FDA; 2020 [cited 2022 July 30]. Available from: https://www.fda.gov/news-events/press-announcements/fda-approves-first-treatment-covid-19
National Institute of Allergy and Infectious Diseases. Adaptive COVID-19 treatment trial (ACTT) [Internet]. Bethesda, MD: U.S. National Library of Medicine; update 2022 [cited 2022 July 30]. Available from: https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04280705
National Institute of Allergy and Infectious Diseases. Study to evaluate the safety and antiviral activity of remdesivir (GS-5734™) in participants with moderate coronavirus disease (COVID-19) compared to standard of care treatment [Internet]. Bethesda, MD: U.S. National Library of Medicine; 2021 [cited 2022 July 30]. Available from: https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04292730
National Institute of Allergy and Infectious Diseases. Study to evaluate the safety and antiviral activity of remdesivir (GS-5734™) in participants with severe coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. Bethesda, MD: U.S. National Library of Medicine; 2020 [cited 2022 July 30]. Available from: https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04292899
National Institute of Allergy and Infectious Diseases. Study to evaluate the efficacy and safety of remdesivir (GS-5734™) treatment of coronavirus disease 2019 (COVID-19) in an outpatient setting [Internet]. Bethesda, MD: U.S. National Library of Medicine; update 2021 [cited 2022 July 30]. Available from: https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04501952
National Institute of Allergy and Infectious Diseases. Study to evaluate the safety, tolerability, pharmacokinetics, and efficacy of remdesivir (GS-5734™) in participants from birth to < 18 years of age with coronavirus disease 2019 (COVID-19) (CARAVAN) [Internet]. Bethesda, MD: U.S. National Library of Medicine; update 2022 [cited 2022 July 30]. Available from: https://clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT04431453
Ansems K, Grundeis F, Dahms K, Mikolajewska A, Thieme V, Piechotta V, et al. Remdesivir for the treatment of COVID-19 (Review). Cochrane Database of Systematic Reviews 2021, Issue 8. Art. No.: CD014962. DOI: 10.1002/14651858.CD014962.14.
Pitts J, Li J, Perry JK, Du Pont V, Riola N, Rodriguez L, et al. Remdesivir and GS-441524 retain antiviral activity against delta, omicron, and other emergent SARS-CoV-2 variants. Antimicrob Agents Chemother. 2022;66(6):e0022222. doi: 10.1128/aac.00222-22.
Beigel JH, Tomashek KM, Dodd LE, Mehta AK, Zingman BS, Kalil AC, et al, Remdesivir for the treatment of Covid-19 - final report. N Engl J Med. 2020;383(19):1813-26. doi: 10.1056/NEJMoa2007764.
รัฐกานต์ กาวิละ. การศึกษาประสิทธิผลของยาเรมเดสิเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงและวิกฤต: การศึกษาย้อนหลัง.วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 2564;12(2):183-95.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2022 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ