การประยุกต์ใช้เกณฑ์ STOPP/START ในการประเมินการสั่งยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและมีการใช้ยาหลายขนาน โรงพยาบาลบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสม, PIMs, PPOsบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ผู้ป่วยสูงอายุมักมีโรคร่วมหลายชนิดและได้รับยาร่วมกันหลายขนาน ทำให้มีโอกาสได้รับยาที่ไม่เหมาะสม (potentially inappropriate medications : PIMs) และไม่ได้รับยาที่ควรได้รับ (potential prescribing omissions : PPOs) เครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินการเกิด PIMs และ PPOs คือ STOPP/START criteria
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบของปัญหาการสั่งยาที่ไม่เหมาะสม ความชุกของการเกิด PIMs และ PPOs ในผู้สูงอายุที่ได้รับยาหลายขนาน และเปรียบเทียบการเกิด PIMs และ PPOs ในผู้สูงอายุ 65-74 ปี กับอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังโดยทบทวนข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยนอกที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคเรื้อรังและได้รับยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไประหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน 2565 ประเมินความเหมาะสมการสั่งใช้ยาโดย modified STOPP/START เฉพาะข้อที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไตเรื้อรัง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 7,058 ราย พบการเกิด PIMs และ PPOs ตาม modified STOPP/STRART ร้อยละ 4.91 และ 16.11 ปัญหาที่พบมากคือ สั่งใช้ NSAIDs ในผู้ป่วยที่มีค่า eGFR < 50 ml/min/1.73 m2 ละเลยการใช้ยากลุ่ม beta blocker ในผู้ป่วย ischemic heart disease การเกิด PIMs ในผู้ป่วยผู้สูงอายุ 65-74 ปี จำนวน 184 ราย (4.69%) กับผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปจำนวน 163 ราย (5.2%) ไม่มีความแตกต่าง (p=0.7899) การเกิด PPOs ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป (จำนวน 602 ราย (19.19%)) สูงกว่าผู้ป่วยอายุ 65-74 ปี (จำนวน 535 ราย (13.64%))อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001)
สรุป: การใช้ยาที่มีแนวโน้มไม่เหมาะสมและการไม่ได้รับยาที่ควรได้รับเป็นปัญหาที่พบได้ในผู้สูงอายุ โดยมีความชุกของปัญหาเพิ่มขึ้นในผู้ที่อายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปเมื่อเทียบกับผู้ที่อายุ 65-74 ปี
เอกสารอ้างอิง
Department of Economic and Social Affairs. World population ageing 2015- highlights [Internet]. New York: The United Nations; 2015 [cited 2023 Mar 10]. Available from: https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2015_Highlights.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2554 [สืบค้นเมื่อ 12 มี.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.nesdc.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf
Hajjar ER, Cafiero AC, Hanlon JT. Polypharmacy in elderly patients. Am J Geriatr Pharmacother. 2007;5(4):345-51. doi: 10.1016/j.amjopharm.2007.12.002.
ศิรสา เรื่องฤทธิ์ชาญกุล, อรพิชญา ไกรฤทธิ์, กรองทอง พุฒิโภคิน, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, ทวีวัฒน์ อัศวโภคี, ศุภศิล สระเอี่ยม. การใช้ยาร่วมกันหลายขนานของผู้ป่วยสูงอายุที่รับการรักษาแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารพิษวิทยาไทย. 2018;33(1):35-50.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พงศ์พาณิชเจริญผล; 2555.
The 2019 American Geriatrics Society Beers Criteria® Update Expert Panel. American Geriatrics Society 2019 updated AGS Beers Criteria® for potentially inappropriate medication use in older adults. J Am Geriatr Soc. 2019;67(4):674-94. doi: 10.1111/jgs.15767.
The American Geriatrics Society 2015 Beers Criteria Update Expert Panel. American Geriatrics Society 2015 updated Beers Criteria for potentially inappropriate medication use in older adults. J Am Geriatr Soc 2015;63(11):2227-46. doi: 10.1111/jgs.13702.
O’Mahony D, O’Sullivan D, Byrne S, O’Connor MN, Ryan C, Gallagher P. STOPP/START criteria for potentially inappropriate prescribing in older people: version 2. Age Ageing 2015;44(2):213-8. doi: 10.1093/ageing/afu145.
Forman DE, Berman AD, McCabe CH, Baim DS, Wei JY. PTCA in the elderly: the “young-old” versus the “old-old”. J Am Geriatr Soc. 1992;40(1):19-22. doi: 10.1111/j.1532-5415.1992.tb01823.x.
สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; สมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย; 2553 [สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 2566]. สืบค้นจาก: https://thairheumatology.org/phocadownload/36/Guideline_003.pdf
วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์, จตุพร อโณทยานนท์, นิรมล เรืองสกุล, พัลลภ ศรีภิรมย์รักษ์, รินพัท ชมจันทร์. การใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาตำบลวังตะกู จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข.2554;5(2):187-94.
Wongrakpanich S, Wongrakpanich A, Melhado K, Rangaswami J. A comprehensive review of non-steroidal anti-inflammatory drug use in the elderly. Aging Dis. 2018;9(1):143-50. doi: 10.14336/AD.2017.0306.
Kleindorfer DO, Towfighi A, Chaturvedi S, Cockroft KM, Guterrez J, Lombardi-Hill D, et al. 2021 guideline for the prevention of stroke in patients with stroke and transient ischemic attack: a guideline from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke. 2021;52(7):e364-467. doi: 10.1161/STR.0000000000000375.
ชมรมหัวใจล้มเหลวแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2562 [สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2566]. หน้า 19-28. สืบค้นจาก: http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/2019%20HFCT%20Heart%20Failure%20Guideline%20Thai%20Version.pdf
Ryan C, O'Mahony D, Kennedy J, Weedle P, Byrne S. Potentially inappropriate prescribing in an Irish elderly population in primary care. Br J Clin Pharmacol. 2009;68(6):936-47. doi: 10.1111/j.1365-2125.2009.03531.x.
Limpawattana P, Kamolchai N, Theeramnut A, Pimporm J. Potentially inappropriate prescribing of Thai older adults in an internal medicine outpatient clinic of a tertiary care hospital. Afr J Pharm Pharmacol. 2013;7:2417-22. doi: 10.5897/AJPP2012.2952.
ฑิภาดา สามสีทอง, นันทิกานต์ แฉขุนทด, วัลลภา แกล้วทนงค์, ธีราทร สุภาพันธ์ุ, ศักดิ์สิทธิ์ ศรีภา. การประเมินความเหมาะสมของการได้รับยาร่วมกันหลายขนานในผู้ป่วยสูงอายุโดยใช้เกณฑ์ STOPP/START 2014 ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2562;15(3):75-83.
อรดี เพ็งประสพ, ขวัญจิต ด่านวิไล. การประยุกต์ใช้เกณฑ์ STOPP/START สำหรับตรวจคัดกรองการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2561;33(5):465-71.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ