การสำรวจสถานการณ์ปัญหาการบริโภคยาปฏิชีวนะเพื่อพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • รุ่ง มาสิก กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลนภาลัย

คำสำคัญ:

การสำรวจสถานการณ์, ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะ, งานคุ้มครองผู้บริโภค

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การลดปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคให้ประชากรในพื้นที่ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องปลอดภัย จำเป็นต้องทราบสถานการณ์ปัญหาการบริโภคยาปฏิชีวนะของประชากรในพื้นที่

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจสถานการณ์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ในประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 427 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ากลาง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 50-59 ปี นับถือศาสนาพุทธ สถานภาพสมรส การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. อาชีพรับจ้าง รายได้ 5,001-10,000 บาท สามารถอ่านหนังสือได้คล่อง ร้อยละ 41.9 มีระดับความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในระดับสูง (≥8 จากคะแนนเต็ม 10) โดยมีคะแนนของความรู้เฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 7.00 ± 1.59 และค่ามัธยฐานเป็น 7.00 และร้อยละ 62.3 มีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในระดับสูง (≥8 จากคะแนนเต็ม 10) โดยมีคะแนนของพฤติกรรมเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 7.59 ± 1.68 และค่ามัธยฐานเป็น 8.00 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่วนใหญ่เป็นการปฏิบัติตนในการใช้ยา

สรุป: ประชากรที่อาศัยอยู่ในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในระดับสูง

ประวัติผู้แต่ง

รุ่ง มาสิก, กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลนภาลัย

ภ.บ.

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. สถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2561. [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://amrthailand.net/Home/Thailand

ชัยรัตน์ ฉายากุล, พิสนธิ์ จงตระกูล, วินัย วนานุกูล, พาขวัญ ปุณณุปูรต, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, กิติยศ ยศสมบัติ, และคณะ. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. นนทบุรี: คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. 2559. [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://dmsic.moph.go.th/index/ detail/6849

คณะทำงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในร้านยา. การใช้ยาสมเหตุผลในร้านยา [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กลุ่มนโยบายด้านยาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2560. [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://ndi.fda.moph.go.th/index.php/drug_use/detail/69

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.

ยุทธภูมิ มีประดิษฐ์, ภักดี สุขพรสวรรค์, ฐิตินันท์ เอื้ออำนวย. สำรวจสถานการณ์ปัญหาการบริโภคยาปฏิชีวนะเพื่อพัฒนารูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัย [รายงานวิจัย อินเทอร์เน็ต]. ชลบุรี: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/3964

Bloom SJ. Taxonomy of education objective, hand book1: cognitive domain. New York: David Mckay. 1975.

สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร, มัณฑนา เหมชะญาติ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566];31(2):114-27. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ppkjournal/article/view/68129

จิรชัย มงคลชัยภักดิ์, จิรวัฒน์ รวมสุข, เอมอร ชัยประทีป. การศึกษาความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ ในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566];6(2):91-100. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/25729

วสาวี กลิ่นขจร. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 [รายงานวิจัย อินเทอร์เน็ต]. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี; 2554. [สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://hpc6.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/hpc6/n630_630c173087e9b6109544cd511f47ca68_som1.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-09-26