ผลการพัฒนารูปแบบการให้บริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยที่ได้รับวาร์ฟาริน
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยวาร์ฟาริน, โทรศัพท์ติดตามผู้ป่วย, การบริบาลทางเภสัชกรรมบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ เริ่มมีคลินิกวาร์ฟาริน พ.ศ. 2555 แต่ยังพบว่าสัดส่วนการอยู่ในช่วงเป้าหมายของค่าไอเอ็นอาร์เฉลี่ยยังต่ำกว่าระดับเป้าหมาย (น้อยกว่าร้อยละ 70) จึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการควบคุมระดับไอเอ็นอาร์ให้อยู่ในช่วงเป้าหมายและคะแนนความรู้ระหว่างกลุ่มทดลองคือผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามการใช้ยาทางโทรศัพท์ร่วมกับการบริบาลทางเภสัชกรรมเทียบกับกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมเพียงอย่างเดียว
วิธีวิจัย: วิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม โดยทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ติดตามรวม 7 เดือน ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ไคสแควร์ และ Mann-Whitney U test
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 33 และ 32 คน ตามลำดับ โดยมีผลการควบคุมระดับไอเอ็นอาร์ให้อยู่ในช่วงเป้าหมาย (ตามสภาวะของโรค) กลุ่มทดลองมีระดับไอเอ็นอาร์อยู่ในช่วงเป้าหมายมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยมีระดับไอเอ็นอาร์อยู่ในช่วงเป้าหมาย 85.57 (ค่าเฉลี่ยลำดับ = 41.36) และร้อยละ 61.78 (ค่าเฉลี่ยลำดับ = 24.38) ตามลำดับ ส่วนคะแนนความรู้ของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยคะแนนเต็ม 18 คะแนน มีความรู้เฉลี่ย 17.18 คะแนน (ค่าเฉลี่ยลำดับ = 44.11)และ14.88 คะแนน(ค่าเฉลี่ยลำดับ = 21.55) ตามลำดับ
สรุปผล: การติดตามทางโทรศัพท์ร่วมกับการบริบาลทางเภสัชกรรมมีผลทำให้ผู้ป่วยมีระดับไอเอ็นอาร์ อยู่ในช่วงเป้าหมาย มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมเพียงอย่างเดียว
เอกสารอ้างอิง
Ansell J, Hirsh J, Hylek E, Jacobson A, Crowther M, Palareti G. Pharmacology and management of the vitamin K antagonists: American College of Chest Physicians evidence-based clinical practice guidelines (8th edition). Chest. 2008;133(6 Suppl):160S-98S. doi: 10.1378/chest.08-0670.
อภิชาติ จิตต์ซื่อ, สุวิมล ยี่ภู่, ตุลยา โพธาร, จันทรัสม์ เสกขุนทด, ปิยะนุช ทิมคร. การศึกษาความรู้และปัญหาจากการใช้ยาวาร์ฟาริน ณ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต. สงขลานครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 10 เม.ย. 2566];33(2):83-92. สืบค้นจาก: https://medinfo.psu.ac.th/smj2/33_2_2015/3_apichart.pdf
เจนจิรา ตันติวิชญวานิช, รังสิมา ไชยาสุ. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินของโรงพยาบาลปัตตานี. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 10 เม.ย. 2566];5(2):108-19. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169341
เครือข่ายวาร์ฟารินคลินิกนครชัยบุรินทร์. ค่าไอเอ็นอาร์หน่วยบริการ ปี พ.ศ. 2566 [อินเทอร์เน็ต]. นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา; 2566 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ย. 2566]. สืบค้นจาก: http://wafarin.mnrh.go.th/waNetwork (ต้องมีรหัสผ่าน)
สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ. ตัวชี้วัดในการทำคลินิกวาร์ฟาริน. ใน: ภูขวัญ อรุณมานะกุล, สุรกิจ นาฑีสุวรรณ, บรรณาธิการ. แนวทางการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2559. หน้า 132.
จินตนา ลิ่มระนางกูร. ผลของการให้คำปรึกษาการใช้ยา warfarin ของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต11 [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 10 เม.ย. 2566];27(2):317-25. สืบค้นจาก: https://srth.go.th/region11_journal/document/Y27N2/14.pdf
วิภา ธรรมทินโน. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรม และการสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินที่มีการติดตามทางโทรศัพท์. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566];24(3):138-47. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/issue/view/17642/4688
วรรณวิมล เหลือล้น. ประสิทธิผลของการเยี่ยมบ้านด้านยาในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลน้ำหนาว. วารสารเภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2566];26(2):1-13. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/11590
มันติวีร์ นิ่มวรพันธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมค่าการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยนอกที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.
Sudas Na Ayutthaya N, Sakunrak I, Dhippayom T. Clinical outcomes of telemonitoring for patients on warfarin after discharge from hospital. Int J Telemed Appl. 2018;2018:7503421. doi: 10.1155/2018/7503421.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน พ.ศ. 2553 [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพมหานคร: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; 2553 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ย. 2566]. สืบค้นจาก: http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/warfarin_Guideline.pdf
สุรกิจ นาฑีสุวรรณ. Principle in the management of oral anticoagulant. ใน: เล็ก รุ่งเรืองยิ่งยศ, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข, บรรณาธิการ. Advance in pharmaceutical care and pharmacotherapeutics 2545. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: นิวไทยมิตรการพิมพ์; 2545. หน้า 11-22.
สุทธิพล อุดมพันธุรัก, จริยา เลิศอรรฆยมณี, อุบลรัตน์ สันตวัตร. การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง. ใน: จริยา เลิศอรรฆยมณี, ประดิษฐ์ สมประกิจ, อุบลรัตน์ สันตวัตร, บรรณาธิการ. งานวิจัยทางคลินิก.กรุงเทพมหานคร: ไพศาลการพิมพ์; 2543. หน้า 109-25.
กมลชนก บุญมาก, สายทิพย์ สุทธิรักษา. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 พ.ค. 2566];14(2):313-28. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/249235
Kim JH, Kim GS, Kim EJ, Park S, Chung N, Chu SH. Factors affecting medication adherence and anticoagulant control in Korean patients taking warfarin. J Cardiovasc Nurs. 2011;26(6):466-74. doi: 10.1097/JCN.0b013e31820914e7.
จันทร์ชุดากร จันทร์อำพล. การกินยาวาร์ฟารินตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2565.
Ibrahim S, Jespersen J, Poller L. The clinical evaluation of International Normalized Ratio variability and control in conventional oral anticoagulant administration by use of the variance growth rate. J Thromb Haemost 2013;11(8):1540-6. doi: 10.1111/jth.12322.
Sakunrag I, Danwilai K, Dilokthornsakul P, Chaiyakunapruk N, Dhippayom T. Clinical outcomes of telephone service for patients on warfarin: a systematic review and meta-analysis. Telemed J E Health. 2020;26(12):1507-21. doi: 10.1089/tmj.2019.0268.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ