ผลการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: วาร์ฟารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่มีช่วงการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) ระดับยาที่ให้ผลในการรักษากับระดับยาที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นอันตรายมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เกณฑ์ที่ใช้บ่งถึงคุณภาพของระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟารินในระยะต่อเนื่องโดยใช้ร้อยละของระยะเวลาค่าที่ INR อยู่ในช่วงเป้าหมายการรักษา
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย %TTR จำนวนผู้ป่วยที่ควบคุม INR ได้ ภาวะเลือดออก ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และปัญหาเกี่ยวกับยา ก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลบางปลาม้า
วิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) ผู้ป่วยนอกที่ได้รับการรักษาด้วยวาร์ฟาริน ที่คลินิกวาร์ฟาริน จำนวน 111 ราย วัดผลก่อนและหลังการพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรม (one group pre-post test design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปสเตอร์ความรู้ด้านวาร์ฟารินสำหรับสอนผู้ป่วยแต่ละราย เอกสารคู่มือวาร์ฟารินสำหรับแจกผู้ป่วยและปฏิทินรับประทานยาประจำวัน เก็บข้อมูลช่วงเดือน มกราคม พ.ศ. 2567 – มิถุนายน พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน McNemar test, Wilcoxon signed ranks test กำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
ผลการวิจัย: ภายหลังการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรม ผู้ป่วยที่ได้รับวาร์ฟารินมีระยะเวลาค่าที่ INR อยู่ในช่วงเป้าหมายการรักษาจากร้อยละ 62.35 เป็นร้อยละ 69.58 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ภาวะเลือดออกลดลงจากร้อยละ 5.9 เป็นร้อยละ 0 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p-value>0.05) ไม่พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันทั้งก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรม
สรุปผล:การพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมสามารถเพิ่มค่าเฉลี่ย %TTR ในผู้ป่วยที่ได้รับวาร์ฟาริน
เอกสารอ้างอิง
สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน Version2 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์; ม.ป.ป. [สืบค้นเมื่อ 17 ม.ค. 2567]. สืบค้นจาก: http://www.thaiheart.org/images/column_1292154183/Warfarin_Guideline_Version2.pdf
Rosendaal FR, Cannegieter SC, van der Meer FJ, Briët E. A method to determine the optimal intensity of oral anticoagulant therapy. Thromb Haemost. 1993;69(3):236-9. PMID:8470047.
White HD, Gruber M, Feyzi J, Kaatz S, Tse HF, Husted S, Albers GW. Comparison of outcomes among patients randomized to warfarin therapy according to anticoagulant control: results from SPORTIF III and V. Arch Intern Med. 2007;167(3):239-45. doi: 10.1001/archinte.167.3.239.
Morgan CL, McEwan P, Tukiendorf A, Robinson PA, Clemens A, Plumb JM. Warfarin treatment in patients with atrial fibrillation: observing outcomes associated with varying levels of INR control. Thromb Res. 2009;124(1):37-41. doi: 10.1016/j.thromres.2008.09.016.
Wan Y, Heneghan C, Perera R, Roberts N, Hollowell J, Glasziou P, et al. Anticoagulation control and prediction of adverse events in patients with atrial fibrillation: a systematic review. Circ Cardiovasc Qual Outcomes. 2008;1(2):84-91. doi: 10.1161/CIRCOUTCOMES.108.796185.
คณะกรรมการพัฒนาระบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ. คู่มือการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบริการสุขภาพสาขาโรคหัวใจ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559 [สืบค้นเมื่อ 17 ม.ค.2567]. สืบค้นจาก: http://thaiacc.org/warfarin/files/Warfarin%20Clinic%20Management.pdf
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas. 1970;30(3):607-10. doi: 10.1177/001316447003000308.
Kaatz S, Ahmad D, Spyropoulos AC, Schulman S. Definition of clinically relevant non-major bleeding in studies of anticoagulants in atrial fibrillation and venous thromboembolic disease in non-surgical patients: communication from the SSC of the ISTH. J Thromb Haemost. 2015;13(11):2119-26. doi: 10.1111/jth.13140.
Hepler CD, Strand LM. Opportunities and responsibilities in pharmaceutical care. Am J Hosp Pharm. 1990;47(3):533-43. PMID: 2316538.
พิกรม อโศกบุญรัตน์, ฑิภาดา สามสีทอง. ผลของการพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวารฟ์าริน ณ โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2564;17(4):61-74. doi: 10.14456/ijps.2021.22.
นาตยา หวังนิรัติศัย, สกนธ์ สุภากุล, ภูขวัญ อรุณมานะกุล. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินของคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 17 ม.ค. 2567];10(1):120-8. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171018
สาวิตรี เหล่าไพบูลย์กุล, อังคณา ช่วยชัย, ศิวกร บันลือพืช, ภาธร บรรณโศภิษฐ์, สิรปภา มาตมูลตรี, วรรณดี คงเทพ. ปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาวาร์ฟารินที่มีค่า INR นอกช่วงการรักษา โดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Walailak Procedia [อินเทอร์์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 ม.ค.2567];2019(4):HS.144. สืบค้นจาก: https://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/6607
เจนจิรา ตันติวิชญวานิช. การบูรณาการคลินิกวาร์ฟารินและพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสุขภาพด้วยการบริบาลทางเภสัชกรรม จังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการเภสัชสาธารณสุข [อินเทอร์์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 17 ม.ค. 2567];30(1):129-36. สืบค้นจาก: https://www.thaidj.org/index.php/JHS/article/view/9853/
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ