ผลของการพัฒนาโปรแกรมคัดกรองใบสั่งยาโดยประยุกต์เกณฑ์ STOPP/START ต่อความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาในผู้สูงอายุ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพัทลุง
คำสำคัญ:
STOPP/START criteria, โปรแกรมคัดกรองใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์, ความไม่เหมาะสมการสั่งใช้ยาบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นสังคมแห่งผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังหลายชนิดและใช้ยาร่วมกันหลายขนาน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับยาที่ไม่เหมาะสม เกณฑ์ STOPP/START เป็นเกณฑ์หนึ่งที่ใช้สำหรับการคัดกรองความไม่เหมาะสมในการสั่งใช้ยาในผู้สูงอายุ เพื่อให้การคัดกรองมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมคัดกรองใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น โดยประยุกต์จากเกณฑ์ STOPP/START เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเภสัชกรในการคัดกรองใบสั่งยา
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมคัดกรองใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ ต่อการลดความไม่เหมาะสมในการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ (≥65 ปี) ที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพัทลุง
วิธีวิจัย: รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพัทลุง ที่มีโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 ชนิด และได้รับยาอย่างน้อย 1 รายการ จำนวน 12,000 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 6,000 ราย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2566 และกลุ่มทดลอง จำนวน 6,000 ราย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2567 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Mann-Whitney U test, chi-square test และ Fisher's exact test
ผลการศึกษา: กลุ่มควบคุมประกอบด้วย เพศชาย ร้อยละ 42.55 เพศหญิง ร้อยละ 57.45 กลุ่มทดลอง เพศชายร้อยละ 43.78 เพศหญิงร้อยละ 56.22 อายุของทั้งสองกลุ่มส่วนมากเป็น 65 - 69 ปี มัธยฐานของจำนวนรายการยา 4 รายการ โรคประจำตัวที่พบบ่อย ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง รองลงมาคือความดันโลหิตสูง เบาหวานและไตวายเรื้อรัง หลังการพัฒนาโปรแกรมคัดกรองใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าความไม่เหมาะสมในการสั่งใช้ยาทุกประเภทลดลงจากร้อยละ 21.32 เป็นร้อยละ 16.00 (p-value<0.001) ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่เหมาะสม (potentially inappropriate medications; PIMs) ลดลงจากร้อยละ 7.87 เป็นร้อยละ 5.85 (p-value<0.001) และผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ควรได้รับ (potential prescribing omissions; PPOs) ลดลงจากร้อยละ 15.93 เป็นร้อยละ 11.32 (p-value<0.001) โดยสัดส่วนการสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมตามเกณฑ์ STOPP จำนวน 6 เกณฑ์ และเกณฑ์ STARTจำนวน 5 เกณฑ์ ในกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผล: โปรแกรมคัดกรองใบสั่งยาอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น สามารถลดความไม่เหมาะสมในการสั่งใช้ยาในผู้สูงอายุได้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ผู้สูงอายุได้รับยาที่เหมาะสมกับโรคและสภาวะของตัวเองมากขึ้น เป็นนวัตกรรมที่เพิ่มคุณภาพของการรักษาและความปลอดภัยจากการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุได้เป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
กรมกิจการผู้สูงอายุ. ข้อมูลผู้สูงอายุทั่วไป [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2566 [สืบค้นเมื่อ 28 ส.ค.2566]. สืบค้นจาก: https://www.dop.go.th/th/know/1
อรอนงค์ ตั้งอดุลย์รัตน์. การประยุกต์ใช้เกณฑ์ STOPP/START ในการประเมินการสั่งยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและมีการใช้ยาหลายขนาน โรงพยาบาลบุรีรัมย์. เภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 27 ธ.ค. 2566]; 29(2):75-86. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/13528/
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, กรรณิกา เทียรฆนิธิกูล, จันทร์จิรา ชอบประดิถ, สุรศักดิ์ สุนทร และ กีรตาพันธ์ ปฏิสนธิ. การพัฒนาและการนำโปรแกรมรายการยาเพื่อคัดกรองและลดการสั่งใช้ยาที่เสี่ยงและอันตรายสำหรับผู้ป่วยสูงอายุไทย และการตอบสนองของแพทย์และเภสัชกรต่อการนำโปรแกรมมาใช้ในโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2560 [สืบค้นเมื่อ 27 ธ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4696?locale-attribute=th
จินตนา ลิ่มระนางกูร. การศึกษาการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุตามเกณฑ์ประยุกต์ STOPP Criteria โรงพยาบาลระนอง. เภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 27 ธ.ค.2566];25(3):1-10. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/issue/view/911/149
The 2023 American Geriatrics Society Beers Criteria® Update Expert Panel. American Geriatrics Society 2023 updated AGS Beers Criteria® for potentially inappropriate medication use in older adults. J Am Geriatr Soc. 2023;71(7):2052-81. doi: 10.1111/jgs.18372
O’Mahony D, Cherubini A, Guiteras AR, Denkinger M, Beuscart JB, Onder G, et al. STOPP/START criteria for potentially inappropriate prescribing in older people: version 3. Eur Geriatr Med. 2023;14(4):625-32. doi: 10.1007/s41999-023-00777-y
อรวดี เพ็งประสพ, ขวัญจิต ด่านวิไล. การประยุกต์ใช้เกณฑ์ STOPP/START สำหรับตรวจคัดกรองการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง. ศรีนครินทร์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 28 ธ.ค.2566];33(5):465-71. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/smnj/article/view/5794
Ubeda A, Ferrándiz L, Maicas N, Gomez C, Bonet M, Peris JE. Potentially inappropriate prescribing in institutionalised older patients in Spain: the STOPP-START criteria compared with the Beers criteria. Pharm Pract (Granada). 2012;10(2):83-91. doi: 10.4321/s1886-36552012000200004.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2553 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2564 [สืบค้นเมื่อ 28 ส.ค.2566]. สืบค้นจาก: https://www.dop.go.th/th/laws/2/10/785
สังวาลย์ รักษ์เผ่า. ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติในการวิจัยทางคลินิก. เชียงใหม่: โครงการตำราคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2539.
Kidney Disease Improving Global Outcones CKD Work Group. KDIGO 2012 clinical practice guideline for the evaluation and management of chronic kidney disease. Kidney Int [Internet]. 2013 [cited 2024 Oct 10];3(1):S1-150. Available from https://kdigo.org/wp-content/uploads/2017/02/KDIGO_2012_CKD_GL.pdf
Kidney Disease Improving Global Outcones CKD Work Group. KDIGO 2024 clinical practice guideline for the evaluation and management of chronic kidney disease. Kidney Int [Internet]. 2024 [cited 2024 Oct 10];105(4):S117-314. Available from https://www.kidney-international.org/article/S0085-2538(23)00766-4/fulltext
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2567]. สืบค้นจาก: https://www.nephrothai.org/คำแนะนำสำหรับการดูแลผู-2/
Ortonobes S, Herranz S, Lleal M, Sevilla-Sánchez D, Jordana R, Mascaró O, et al. Multidisciplinary medication review during older patient hospitalization according to STOPP/START criteria reduces potentially inappropriate prescriptions: MoPIM cohort study. BMC Geriatrics. 2024;24(1):584. doi: 10.1186/s12877-024-05185-w.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ