การพัฒนาระบบสร้างความต่อเนื่องสอดคล้องทางยาของโรงพยาบาลลำปางโดยใช้โปรแกรม E-Medical Reconciliation
คำสำคัญ:
การประสานรายการยา, ความคลาดเคลื่อนทางยา, ระบบอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
บทนำ ความคลาดเคลื่อนการสั่งยาบนหอผู้ป่วยโรงพยาบาลลำปางปี พ.ศ. 2565 ที่พบสูงสุด ได้แก่ ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ควรได้รับร้อยละ 28.3 และสั่งยาผิดชนิดร้อยละ 24.9 ซึ่งความคลาดเคลื่อนเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยระบบประสานรายการยา
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินผลระบบสร้างความความต่อเนื่องสอดคล้องทางยาทางอิเล็กทรอนิกส์
วิธีวิจัย การวิจัยแบบผสม ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2567 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ปัญหาระบบเดิมและสำรวจความคาดหวังเพื่อพัฒนาระบบ E-Medical Reconciliation โดยใช้บนหอผู้ป่วยอายุรกรรม 5 แห่ง แล้วติดตามข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละที่ทำการประสานรายการยาภายใน 24 ชั่วโมง และเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนการสั่งยาก่อนและหลังใช้ระบบ
ผลการวิจัย การประสานรายการยาด้วยระบบเดิม ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติงานแตกต่างจากแนวทางที่โรงพยาบาลกำหนดไว้ เภสัชกรเป็นหลักในขั้นตอนบันทึกข้อมูลยาแต่ปฏิบัติได้เฉพาะในเวลาราชการแพทย์จึงสั่งใช้ยาก่อนเปรียบเทียบรายการยา ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนของการสั่งใช้ยา การพัฒนาระบบ E-Medical Reconciliation และกำหนดแนวทางปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้องใหม่ พบว่าหลังนำระบบลงสู่การปฏิบัติในหอผู้ป่วยอายุรกรรม มีการประสานรายการยาร้อยละ 69.8 (เป้าหมายร้อยละ 60) จำนวนครั้งของผู้ป่วยแรกรับที่ทำการประสานรายการยาภายใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 75.9 (เป้าหมายร้อยละ 60) ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาระดับ A-B และระดับ C-I มีแนวโน้มลดลง อย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05)
สรุปผล ระบบ E-Medical Reconciliation จากการพัฒนาแนวทางร่วมกันระหว่างวิชาชีพ ส่งผลให้ร้อยละการประสานรายการยาในผู้ป่วยแรกรับบนระบบ E-Medical Reconciliation และการประสานรายการยาภายใน 24 ชั่วโมงสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด (ร้อยละ 60) ค่าพยากรณ์ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งยาผู้ป่วยในทุกระดับมีแนวโน้มลดลง
เอกสารอ้างอิง
จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภาสกร รัตนเดชสกุล. ความคลาดเคลื่อนทางยา (medication error) กับการใช้ประโยชน์ในระบบจัดการด้านยา [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม; 2560 [สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=303
กรองหทัย มะยะเฉี่ยว, โพยม วงศ์ภูวรักษ์. ผลของกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2566];8(1):35-47. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169672
The Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organization. National patient safety goals [Internet]. n.p.: The Joint Commission Enterprise. 2023 [cited 2023 May 06]. Available from: https://www.jointcommission.org/-/media/tjc/documents/standards/national-patient-safety-goals/2023/npsg_chapter_hap_jul2023.pdf
ธิดา นิงสานนท์. Medication Reconciliation. ใน: ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, บรรณาธิการ. Medication Reconciliation. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2551. หน้า 1-25.
Cadwallader J, Spry K, Morea J, Russ A. L, Duke J, Weiner M. Design of a medication reconciliation application facilitating clinician-focused decision making with data from multiple sources. Appl Clin Inform. 2013;4(1):110-25. doi: 10.4338/ACI-2012-12-RA-0057.
Cullinan S, O’ Mahony D, Byrne S. Application of the structured history taking of medication use tool to optimise prescribing for older patients and reduce adverse events. Int J Clin Pharm. 2016;38(2):374-9. doi: 10.1007/s11096-016-0254-0.
เด่นดวง บุญรังสรรค์. การพัฒนาระบบสั่งจ่ายยาเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาของผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษา ณ โรงพยาบาลสวนผึ้ง [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบันฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.
Mekonnen AB, Abebe TB, McLachlan AJ, Brien JA. Impact of electronic medication reconciliation interventions on medication discrepancies at hospital transitions: a systematic review and meta-analysis. BMC Med Inform Decis Mak. 2016;16(1):112. doi: 10.1186/s12911-016-0353-9.
Mekonnen AB, McLachlan AJ, Brien JA. Effectiveness of pharmacist-led medication reconciliation programmes on clinical outcomes at hospital transitions: a systematic review and meta-analysis. BMJ Open. 2016;6(2):e010003. doi:10.1136/bmjopen-2015-010003.
Crosswhite R, Beckham SH, Gray P, Hawkins PR, Hughes J. Using a multidisciplinary automated discharge summary process to improve information management across the system. Am J Manag Care. 1997;3(3):473-9. PMID: 10169522.
ณิชากร พิริยะชนานุสรณ์, นพดล ชลอธรรม, นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์. การปรับปรุงและประเมินผลระบบงานประสานรายการยา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2566];15(3):750-65. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/258011
ชมพูนุท พัฒนจักร, เพชรรัตน์ดา ราชดา. ผลของการประสานรายการยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2567];33(3):298-307. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/263797
จันทนี ฉัตรวิริยาวงศ์, สุรพงษ์ ตุลาพันธุ์. ผลของกระบวนการประสานรายการยาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2567];15(3):95-102. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/smj/article/view/6071
กัญญามาส จีนอนันต์, อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา, กรแก้ว จันทภาษา, ธิดา นิงสานนท์. การดำเนินงานการประสานรายการยากรณีผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรัฐในเขตสุขภาพที่ 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560;13(4):11-23. doi: 10.14456/ijps.2017.23.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมคลินิกทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารเภสัชกรรมคลินิกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข และบุคลากรในกองฯ หรือ ชมรมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ