รูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • พวงผกา สุริวรรณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง, กระบวนการจัดการความรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถปุ ระสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการจัดการความรู้ และประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการจัดการความรู้ จังหวัดลำพูน ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม – ธันวาคม 2563 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตามระบบการคัดกรองของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๔๘๐ คน วิธีดำเนินการ จำแนกออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ 2) การวางแผนงานและกำหนดองค์กรการดำเนินงาน 3) การดำเนินตามกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ด้วยกระบวนการจัดการความรู้ 4) ความยั่งยืนของโครงการ 5) การประเมินผลของโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการสำรวจสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน

         ผลการศึกษา พบว่าระยะหลังดำเนินการ กลุ่มตัวอย่างมีการปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงดีขึ้นกว่าระยะก่อนดำเนินการในทุกปัจจัย มีค่าคะแนนเฉลี่ยในระยะหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นจากระยะก่อนดำเนินการ โดยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอยู่ในระดับดีเพิ่มขึ้น จากการการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการประเมินสภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ในระยะก่อนและหลังดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 การเปรียบเทียบผลกระทบต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยภาพรวมพบว่าหลังดำเนินการ มีค่าอยู่ในเกณฑ์ไม่ปกติลดลง ค่าความดันโลหิตแนวโน้นลดลง จากร้อยละ 26.25 เป็นร้อยละ 17.30 ค่าระดับน้ำตาลในเลือด จากร้อยละ 18.55 เป็นร้อยละ 11.87 ขนาดรอบเอว จากร้อยละ 23.34 เป็นร้อยละ 20.62 น้ำหนักตัว จากร้อยละ 35.63 เป็นร้อยละ 31.67

         สรุปผลการวิจัย พบว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จของรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน ศักยภาพของผู้นำและทีม นอกจากนี้ด้านนโยบายก็มีความสำคัญเนื่องจากการพัฒนานโยบายการสร้างเสริมสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าถึงกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 

เอกสารอ้างอิง

Health Education Division. (2013). Health Behavior Surveillance System for Modifying Risk Behavior of Normal / Risk / Ill group Diabetes, Hypertension in Thailand: Policy to Action for Healthcare Facilities Primary. Nonthaburi: Department of Support Services. (in Thai).

Division of Non-communicable Diseases. (2013). Report on the burden of diseases and injuries of Thai Krathep population. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (in Thai).

Komsan Chaiyawan. (2019). Model of care for hypertensive patients. That cannot control blood pressure Of Tambon Health Promoting Hospitals, Prachuap Khiri Khan Province. Prachuap khiri khan : Prachuap khiri khan Provincial Public Health office service. (in Thai).

Nuntaporn Bunrakhumwadi and Yuwamarn Sripunawutisak. (2012). Development of a model for diabetes care at Nakhon Nayok Hospital. Journal of Nursing and Education, 2(5): 114-129. (in Thai).

Wattana Sawangsri and Siranee Inthon Nongphai. (2015). Development of a health promotion model to prevent birth New diabetes in the community Mahasarakham Province. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 16(1): 116-122 (in Thai).

International Diabetes Federation. (2019). Annual Diabetes Situation (Report). Bangkok: International Diabetes Federation. (in Thai).

ThaiHealth Promotion Foundation. (2014). Annual Report 2014. Retrieved October 30, 2019, from https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index (in Thai).

Saraphi Saengdej and Pet Sawai Limtrakul. (2012). a guideline for promoting pre-hypertensive risk groups in the community, One of Surat Thani Province. Journal of Nursing and Health, 35(1): 37-47. (in Thai).

Lamphun Provincial Public Health Office. (2016). The surveillance project for diabetes risk groups Hypertension Lamphun Province. Lamphun: Chronic Diseases Division Lamphun Provincial Public Health Office. (in Thai).

Samrai Klanyanee and Sasiwan Thasaneeam. (2019). Effects of the application of 3E 2S principles together with social support To reduce the risk of diabetes and high blood pressure of new vulnerable people. Journal of Ratchaphruek, 17(2): 95-104. (in Thai).

Orajaree Na Takuathung. (2015). The development of teaching models according to the knowledge management process To strengthen ability To design an integrated teaching and learning innovation for students and teachers. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).

Varo Phengsawat. (2010). Research and development. Journal of Sakon Nakhon Rajabhat University, 2(4): 1-12 . (in Thai).

World Health Organization (WHO). (2013). A global brief on hypertension Silent killer, global public health crisis. Retrieved November 30, 2019, from http://www.who.int/cardiovascular_diseases/publications/global_brief_hypertension/en/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

วิธีการอ้างอิง