การพัฒนาเกณฑ์การทดสอบการระคายเคืองต่อดวงตาด้วยวิธี Isolated Chicken Eye ของห้องปฏิบัติการกลุ่มสัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • รัชชุรส อินคำลือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • มาสเกียรติ บุญยฤทธิ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จันทร์ญา แช่มช้อย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ภัทรธิดาพร ทวีสุข สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นวขนิษฐ์ สัจจานนท์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

การทดสอบความระคายเคืองต่อดวงตา, วิธี Isolated Chicken Eye, ค่าดัชนีความระคายเคือง, ผลกระทบ ทางจุลพยาธิวิทยาต่อดวงตา

บทคัดย่อ

ห้องปฏิบัติการกลุ่มสัตว์ทดลองได้พัฒนาวิธีทดสอบความระคายเคืองต่อดวงตาด้วยวิธี Isolated Chicken Eye (ICE) ให้มีความสอดคล้องตามเกณฑ์การประเมินความระคายเคืองตามมาตรฐาน OECD TG 438 ซึ่งชี้บ่งระดับการก่อความระคายเคืองเพื่อจำแนกระดับความปลอดภัยของสารเคมีต่อดวงตาด้วยการใช้ดวงตาไก่จากโรงฆ่าสัตว์เป็นตัวทดสอบและใช้เกณฑ์การประเมินระดับความรุนแรงของสารเคมีตาม Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) ครั้งนี้ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมในเกณฑ์การประเมินด้วยค่าดัชนีความระคายเคือง รวมถึงมีประเมินรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาที่เกิดขึ้นบนกระจกตาของดวงตาไก่ จากผลการทดสอบสารเคมี 26 ชนิด โดยผลของการประเมินจากค่าดัชนีความระคายเคืองพบว่าสารเคมีที่ก่อความระคายเคืองรุนแรง Category 1 มีค่าดัชนีความระคายเคืองต่อดวงตาและค่าความขุ่นของกระจกตาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับสารเคมีที่ก่อความระคายเคือง Category 2A และสารเคมีที่ก่อความระคายเคืองเล็กน้อย Category 2B และผลการประเมินทางจุลพยาธิวิทยาบนกระจกตาจากการทดสอบสารเคมีทั้งหมด 21 ชนิด พบว่าสารเคมี Category 2A เมื่อเทียบกับสารเคมี Category 2B พบลักษณะเนื้อตายของชั้นเยื่อบุของค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำให้เห็นได้ว่าค่าดัชนีความระคายเคืองและการประเมินผลทางจุ พยาธิวิทยาสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการประเมินผลการทดสอบการระคายเคืองต่อดวงตาได้มากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Barile , F.A. (2010). Validating and Troubleshooting Ocular In Vitro Toxicology Tests. Journal of Pharmacological and Toxicological Methods, 61(2): 136-145.

Barroso, J., et al. (2017). Cosmetics Europe compilation of historical serious eye damage/eye irritation in vivo data analysed by drivers of classification to support the selection of chemicals for development and evaluation of alternative methods/strategies: the Draize eye test Reference Database (DRD). Archives of Toxicology Journal, 91(2): 521-547.

Boonyareth, M., Inkomlue R., Sachanonta N., Sangkitporn S. (2018). Method Verification of Isolated Chicken Eye Test. Bulletin of The department of Medical Sciences Journal, 60(4): 168-180. (in Thai).

Cazelle, E., et al. (2014). Suitability of histopathology as an additional endpoint to the Isolated Chicken Eye Test for classification ofnon-extreme pH detergent and cleaning products. Journal of Toxicology in Vitro, 28(4): 657-666.

Gibson, KN., Olivier, AK., Meyerholz, DK. (2013). Principles for valid histopathologic scoring in research. Journal of Veterinary Pathology, 50(6): 1-22.

Kolle, SN., Cott, AV., Ravenzwway, BV., Landsiedel, R. (2017). Lacking applicability of in vitro eye irritation methods to identify seriously eye irritating agrochemical formulation: Results of bovine cornea opacity and permeability assay, isolated chicken eye test and the EpicularTM ET-50 method to classify according to UN GHS. Journal of Regulatory Toxicology and Pharmacology, 85(2017): 33-47.

Lotz, C., et al. (2016). Alternative Methods for the Replacement of Eye Irritation Testing. Journal of ALTEX, 33(1): 55-67.

Miller, MA., Zachary, JF. (2017). Mechanisms and Morphology of Cellular Injury, Adaptation, and Death. Pathologic Basis of Veterinary Disease, Retrieved January 22, 2021, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7171462/

OECD. (2018). OECD GUIDELINE FOR THE TESTING OF CHEMICALS. Retrieved February 16, 2021, from: https://www.oecd-ilibrary.org/environment/test-no-438-isolated-chickeneye-test-method-for-identifying-i-chemicalsinducing-serious-eye-damage-and-iichemicals-not-requiring-classificationfor-eye-irritation-or-serious-eye-damage_9789264203860-en

Prinsen, MK., Schipper, MEI., Wijnands, MVW. (2011). Histopathology in the isolated chicken eye test and comparison of different staining of the cornea. Journal of Toxicologyin Vitro, 25(7): 1475-1479.

Prinsen, MK., Hendriksen, C., Krul, C., Woutersen, RA. (2017). The Isolated Chicken Eye test to replace the Draize test in rabbits. Journal of Regulatory Toxicology and Pharmacology, 85(2017): 132-149.

Ritchey, ER., et al. (2011). The chicken cornea as a model of wound healing and neuronal reinnervation. Journal of Molecular Vision, 17: 2440-2454.

Wilson, SL., Ahearne, M., Hopkinson, A. (2015). An overview of current techniques for ocular toxicity testing. Journal of Toxicology, 327(2015): 32-46.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23

วิธีการอ้างอิง