การศึกษาเพื่อหาอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเลือดคั่งในสมองจากอุบัติเหตุที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลสมุทรสาครช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19

ผู้แต่ง

  • บดินทร์ วโรดมวนิชกุล หน่วยงานศัลยกรรม โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

โควิด 19, โรงพยาบาลสมุทรสาคร, ภาวะเลือดคั่งในสมองจากอุบัติเหตุ, อัตราการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ Retrospective Cohort Study เพื่อหาอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเลือดคั่งในสมองจากอุบัติเหตุที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดในโรงพยาบาลสมุทรสาครช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2563 - 20 มีนาคม 2564 จำนวน 20 ราย เปรียบเทียบกับช่วงก่อนเชื้อไวรัสโควิด 19 ระบาด จำนวน 35 ราย โดยเก็บข้อมูลด้านการวินิจฉัยโรค ประเภทการตรวจเชื้อไวรัสโควิด ระยะเวลาที่รอผลตรวจ ระยะเวลาระหว่างที่คนไข้ถึงโรงพยาบาลจนได้รับการผ่าตัด ความรู้สึกตัวแรกรับที่ห้องฉุกเฉิน ความรู้สึกตัวก่อนออกจากโรงพยาบาลผลสัมฤทธิ์ของการรักษา (Glasgow Outcome Scale) ภาวะแทรกซ้อนระหว่างรับการรักษาโรงพยาบาล ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิต

จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มก่อนเชื้อไวรัสโควิด 19 ระบาดและช่วงที่มีการระบาด พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของการรักษา คือ 3.6 ± 1.6 และ 3.4 ± 1.6 โดยมี p-value 0.70 ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล คือ 8 วัน (6, 15) และ 8 วัน (4, 12) โดยมี p-value 0.68 อัตราการเสียชีวิต 20% และ 20% โดยมี p-value 1.00 ตามลำดับ

โดยสรุปผู้ป่วยเลือดคั่งในสมองจากอุบัติเหตุที่ได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลสมุทรสาครช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และช่วงก่อนโควิดระบาด มีอัตราการเสียชีวิต 20% โดยที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เอกสารอ้างอิง

Marshall LF. (1991). A new classification of head injury based on computerized tomography. Journal of Neurosurgery, 75(1991): S14-S20.

Jennett B, Snoek J. (1981). Disability after severe head injury: observations on the use of the Glasgow Outcome Scale. Journal of Neurology Neurosurgery and Psychiatry, 44(1981 Apr): 285-293.

Jennett B, Bond M. (1975). Assessment of outcome after severe brain damage. Journal of The Lancet, 305(7905): 480-484.

Jennett B, Teasdale G. (1977). Aspects of coma after severe head injury. Journal of The Lancet, 309(8017): 878-881.

Chaimayo C, et al. (2020). Rapid SARS-CoV-2 antigen detection assay in comparison with real-time RT-PCR assay for laboratory diagnosis of COVID-19 in Thailand. Virology Journal, 17: 177.

Oh SM, et al. (2021). Clinical Application of the Standard Q COVID-19 Ag Test for the Detection of SARS-CoV-2 Infection. Journal of Korean Med Sci, 36(4): e101.

Dinnes J, et al. (2020). Rapid, point-of-care antigen and molecular-based tests for diagnosis of SARS-CoV-2 infection. Retrieved May 2, 2021, from https://www.cochranelibrary.com/cdsr/doi/10.1002/14651858.CD013705/full

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23

วิธีการอ้างอิง