การศึกษาความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการตรวจสถานที่ของร้านนวดเพื่อสุขภาพ ด้วยระบบการสนทนาแบบเห็นภาพ (VDO CALL) ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE)
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ประสิทธิภาพ, การตรวจสถานที่, ร้านนวดเพื่อสุขภาพ, ระบบการสนทนาแบบเห็นภาพ, แอพพลิเคชั่นไลน์บทคัดย่อ
สถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ เป็นธุรกิจบริการสุขภาพที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในสถานการณ์ฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใต้นโยบายลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค จึงจำเป็นต้องมีการปรับกระบวนการทำงานงานให้เหมาะสม การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Study) ชนิดกลุ่มเดียว (one-group pre- post test) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลในการตรวจสถานที่ผ่านระบบ VDO call ด้วยแอพพลิเคชั่นไลน์ กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ประกอบการร้านนวดเพื่อสุขภาพ จำนวน 10 คน และพนักงานเจ้าหน้าที่ จำนวน 4 คน เก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 30 เมษายน 2563 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบตรวจประเมินมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภทกิจการ นวดเพื่อสุขภาพ ที่จัดทำโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และแบบประเมินความพึงพอใจ ต่อการตรวจสถานที่ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ด้วยระบบการสนทนาแบบเห็นภาพ (VDO call) ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Wilcoxon Matched pairs Signed Rank Test พบว่า ส่วนที่ 1 ระดับความพึงพอใจในการใช้งานภาพรวมของผู้ประกอบการมีคะแนนอยู่ในระดับสูงกว่าความพึงพอใจของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยที่ผู้ประกอบการให้ความเห็นว่า มีความเหมาะสม ทันสมัย ประหยัดค่าใช้จ่าย ในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับ ความชัดเจนของเสียง ความชัดเจนของรูปภาพ และความถูกต้องของเนื้อหาตรงตามความเป็นจริง และ ส่วนที่ 2 การเปรียบเทียบคะแนนการตรวจประเมินสถานที่ร้านนวดเพื่อสุขภาพ แบบตรวจผ่าน VDO call และ แบบตรวจสถานที่จริง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value > 0.05) ผลสรุปว่าการประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ เพื่อตรวจสถานที่ร้านนวดเพื่อสุขภาพผ่านระบบ VDO call เป็นวิธีมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด สามารถใช้เป็นหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและน่าพึงพอใจในการตรวจสถานที่ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ประหยัดทรัพยากร และเป็นตัวอย่างของการปรับตัวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับสถานการณ์
เอกสารอ้างอิง
Samutsakhon Provencial public health office, Ministry of Health. (2019). Database of health massage parlor. Consumer Protection Department. Retrieved April 10, 2020, from http://skno.moph.go.th/sk/ (in Thai).
Siriwat Pleanbangyang. (2015). Effectiveness in Using Information Technology for Working of Local Administration Organization Officials Case Study : Amphoe Phutthamonthon. Journal of Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(3): 1051-1062. (in Thai).
Division of Health Enterprises Department of Health Service Support, Ministry of Health. (2019). Guidelines for the operation of health
establishments. Retrieved April 10, 2020, from http://www.thaispa.go.th/spa2013/web/web_new/fileupload_doc/2017-11-15-3-17-2522507.pdf. (in Thai).
Royal Thai Government Gazette. (2016). Health Establishment Act, B.E. 2559. Retrieved July 5, 2020, from https://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law30-310359-10.pdf. (in Thai).
Royal Thai Government Gazette. (2017). Ministerial Regulations prescribing standards for places, safety and service provision in a health establishment in the category of spa business and massage business for health or beauty purposes. Retrieved April 10, 2020, from www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/135/6.PDF. (in Thai).
Smith Pitoonpong. (2017). Applying Application Line in Working Process : A Case Study of Sahapalittapan Panich Company Limited. Retrieved April 10, 2020, from dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3440/3/smith.pito.pdf. (in Thai).
Apinya Chuesattabongkot. (2011). Skype Application that Affect the Performance of the Organization. Retrieved April 10, 2020, from http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/881/1/apinya_chue.pdf. (in Thai).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.